@article{Wongpiromsarn_2018, place={Bangkok, Thailand}, title={บทเรียนด้านสุขภาพจิตในภัยพิบัติ: กรณีการช่วยเหลือทีมหมูป่าพลัดหลงในถ้ำหลวง}, volume={26}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/146785}, abstractNote={<p>จากกรณีทีมฟุตบอลและโค้ชหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 ชีวิต ติดในวนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 นั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมไทยไม่มีใครที่ไม่ทราบข่าวและไม่พูดถึง การถอดบทเรียนหลังเกิดเหตุการณ์นี้อย่างครอบคลุมและรอบด้านเพื่อเรียนรู้การจัดการกับภัยพิบัติและภาวะวิกฤติ จะเกิดยังประโยชน์อย่างมากสำหรับการเรียนรู้ในสังคมไทย ไม่จำกัดเฉพาะเหตุการณ์นี้เท่านั้น แต่สามารถนำบทเรียนที่ได้นี้ไปใช้ในภาวะวิกฤตอื่นในอนาคตต่อไป</p> <p>          1. หลักการดูแลผู้ประสบภัยภายหลังเหตุการณ์</p> <p>                   แนวคิดสำคัญมาจากบทความเรื่อง five essential elements of immediate and mid-term mass trauma intervention: empirical evidence โดย Hopfoll และคณะ1  ซึ่งได้ทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์และรวบรวมความคิดเห็นของนักวิชาการสำคัญ ๆ ทั่วโลกที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชภายหลังภัยพิบัติ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า โรคเครียดภายหลังภยันตราย (post- traumatic stress disorder; PTSD) การฆ่าตัวตาย การใช้สารเสพติด และการใช้ความรุนแรง บทความนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางจากแนวคิดเดิมที่มุ่งเน้นการมองปัญหาสุขภาพจิตเป็นรายบุคคลและให้การช่วยเหลือที่เน้นการบำบัด มาเป็นมุ่งเน้นที่พลังทางสังคมของผู้รอดชีวิต โดยมีหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ ความสงบ ความรู้สึกปลอดภัย ไม่สิ้นหวัง (ความหวัง) รวมพลังกันไว้ (ความผูกพันในครอบครัวและชุมชน) ยืนหยัดได้ด้วยตนเองและชุมชน (การมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาร่วมกัน)</p>}, number={2}, journal={วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย}, author={Wongpiromsarn, Yongyud}, year={2018}, month={พ.ค.}, pages={152–159} }