แนวโน้มและปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตคนไทย: การสำรวจระดับชาติ ปี พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, พ.บ. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, พ.บ. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวันรุ่นราชนครินทร์
  • อธิบ ตันอารีย์, ปร.ด. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  • บังอร สุปรีดา, วท.ม. แผนงานพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

การสำรวจ, ความสุข, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของคนไทยในปี 2561 รวมทั้งศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับสุขภาพจิตในช่วงปี 2551-2561

วิธีการ: การสำรวจสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรมของสำนักงานสถิติแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2561 เก็บข้อมูลช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน สุ่มตัวอย่างประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป แบบ stratified two-stage sampling ได้จำนวนตัวอย่าง 27,190 คน ใช้ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (ดัชนีชี้วัดความสุข) ฉบับสั้น 15 ข้อเป็นแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก

ผล: คะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปเท่ากับ 31.6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 45 คะแนน เป็นผู้มีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไปร้อยละ 63.1 มีสุขภาพจิตสูงกว่าคนทั่วไปร้อยละ 21.1 และมีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปร้อยละ 15.8 แนวโน้มผู้มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปมีสัดส่วนมากกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง แต่น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง คะแนนด้านสมรรถภาพจิตใจและคุณภาพจิตใจในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นต่ำกว่ากลุ่มวัยอื่น ส่วนคะแนนด้านการสนับสนุนทางสังคมต่ำที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ การมีสุขภาพจิตดีสัมพันธ์กับการมีความสัมพันธ์กับสมาชิกในครัวเรือนดี สถานภาพสมรสคู่ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป และการปฏิบัติตนตามหลักศาสนา

สรุป: คนไทยร้อยละ 84.2 มีระดับสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือดีกว่าปกติ ควรพิจารณาให้โปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว เสริมสร้างสมรรถภาพและคุณภาพจิตใจในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น และเพิ่มแหล่งสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ เพื่อสร้างเสริมให้คนไทยมีสุขภาพจิตดี

Downloads

Download data is not yet available.

References

Herrman H, Saxena S, Moodie R. Promotion mental health: concepts - emerging evidence - practice: summary report. Geneva: World Health Organization; 2004.

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย [The study to develop Thai mental health indicator]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2544;46:209-25.

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. ความสุขและสุขภาพจิตในบริบทสังคมไทย [Happiness and mental health in the context of the Thai society]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;46:227-32.

Jeffrey K, Wheatley H, Abdallah S. The Happy Planet Index 2016: a global index of sustainable wellbeing. London: New Economic Foundation; 2016.

Helliwell J, Layard R, Sachs J. World happiness report [Internet]. Columbia University Earth Institute; 2012 [update 2012; cited 2018 May 12]. Available from: http://worldhappiness.report/ed/2012/.

Helliwell J, Layard R, Sachs J. World happiness report 2017. New York: Sustainable Development Solutions Network; 2017.

Center for Bhutan studies. A compass toward a just and harmony society: 2015 GNH survey report. Thimphu: Centre of Bhutan studies & GNH Research; 2016.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประสิทธิ์, พอตา บุนยตีรณะ, วรรณภา อารีย์. คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง [HAPPINOMETER: the happiness self-assessment]. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

รศรินทร์ เกรย์, ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, เรวดี สุวรรณนพเก้า. ความสุขของคนไทย: การดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม จิตวิญญาณ และความภาคภูมิใจในตัวเอง [Happiness among Thai people: living a virtuous life, spirituality and self-esteem]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2553;18:71-85. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/999

สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2558 [Thai mental health (happiness) survey 2015]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2559.

Conceicão P, Bandura R. Measuring subjective wellbeing: A summary review of the literature. New York: United Nations Development Programme (UNDP); 2008.

Blanchflower DG, Oswald AJ. Is well-being U-shaped over the life cycle?. Soc Sci Med. 2008;66:1733-49. doi:10.1016/j.socscimed.2008.01.030.

Veenhoven R. Social conditions for human happiness: A review of research. Int J Psychol. 2015;50:379-91. doi:10.1002/ijop.12161.

World Health Organization and Calouste Gulbenkian Foundation. Social determinants of mental health. Geneva: World Health Organization; 2014.

Nave CS, Sherman RA, Funder DC. Beyond Self-Report in the Study of Hedonic and Eudaimonic Well-Being: Correlations with Acquaintance Reports, Clinician Judgments and Directly Observed Social Behavior. J Res Pers. 2008;42:643-59. doi:10.1016/j.jrp.2007.09.001.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, เอกองค์ สีตลาภินันท์. คู่มือสร้างสุขระดับจังหวัด [Happiness manual at provincial level]. นนทบุรี: แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต; 2554.

Kye SY, Park K. Health-related determinants of happiness in Korean adults. Int J Public Health. 2014;59:731-8. doi:10.1007/s00038-014-0588-0.

Lelkes O. Happiness across the life cycle: exploring age-specific preferences. Policy brief. Vienna: European Centre for Social Welfare Policy and Research; 2008.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564 [The 12th National Economic and Social Development Plan 2017-2021]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี; 2559.

Tangcharoensathien V, Witthayapipopsakul W, Panichkriangkrai W, Patcharanarumol W, Mills A. Health systems development in Thailand: a solid platform for successful implementation of universal health coverage. Lancet. 2018;391(10126):1205-23. doi:10.1016/S0140-6736(18)30198-3.

Levy H, Janke A. Health Literacy and Access to Care. J Health Commun. 2016;21 Suppl 1:43-50. doi:10.1080/10810730.2015.1131776.

Thomas PA, Liu H, Umberson D. Family relationship and well-being. Innovation in Aging. 2017; 1(3):1-11. doi:10.1093/geroni/igx025.

Cuñado J, De Gracia F. Does education affect happiness? evidence for Spain. Soc Indic Re. 2012;108:185-96.

Achour M, Religious commitment and its relation to happiness among Muslim students: the educational level as moderator. J Relig Health. 2017;56:1870-89.

Green M, Elliott M. Religion, health, and psychological well-being. J Relig Health. 2010;49:149-63. doi:10.1007/s10943-009-9242-1.

Sharma SK, Sharma OP. Spirituality leads to happiness: a correlative study. Int J Indian Psychol. 2016;3(2):50-4. doi:10.25215/0302.177.

Lee MA, Kawachi I. The keys to happiness: associations between personal values regarding core life domains and happiness in South Korea. PLoS ONE. 2019;14:e0209821. doi:10.1371/journal.pone.0209821.

Ho HC, Mui M, Wan A, Ng YL, Stewart SM, Yew C, at al. Happy Family Kitchen II: a cluster randomized controlled trial of a community-based positive psychology family intervention for subjective happiness and health-related quality of life in Hong Kong. Trials. 2016;17:367. doi:10.1186/s13063-016-1508-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-05

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ