TY - JOUR AU - นพมณี, นพดล PY - 2020/06/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อม และการรับรู้ กับทัศนคติ ในการพัฒนา ตามเกณฑ์มาตรฐานรพ.สต.ติดดาว JF - วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน JA - J Health Sci Comm Publ Health VL - 3 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/241673 SP - 45-57 AB - <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหลายวิธีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อม และการรับรู้ กับทัศนคติ ต่อการพัฒนาตามมาตรฐาน รพ.สต.ติดดาว จากกลุ่มตัวอย่าง 50 คน เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและลูกจ้างสายวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 16 แห่ง พื้นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มเป็นเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความพร้อมตามหลักบริหาร 4M ส่วนที่ 3 ระดับการรับรู้ ส่วนที่ 4 ระดับทัศนคติ และส่วนที่ 5 การประชุมกลุ่ม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.83 ความเชื่อมั่นโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.86วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p><p>ผลการศึกษา พบว่า ความพร้อมตามหลักบริหาร 4M มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=3.070, SD=0.5715) ระดับการรับรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=3.346, SD=0.533) และระดับทัศนคติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=3.712 , SD=0.438) ความพร้อมตามหลักบริหาร 4M กับทัศนคติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับปานกลาง (r=0.366,P-value&lt;0.009) หมายถึงความพร้อมตามหลักบริหาร 4M มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายพอสมควร มีความพร้อม&nbsp; แต่ละด้านในระดับปานกลาง โดยมีความกังวลกับความสิ้นเปลืองในการพัฒนา โดยการรับรู้กับทัศนคติมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับระดับปานกลาง (r=0.430,P-value&lt;0.002) หมายถึงระดับการรับรู้เกณฑ์การประเมินฯ มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายพอสมควร โดยรับรู้ถึงความจำเป็น และรายละเอียดเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง สู่ความคาดหวังที่จะได้รับการรับรองมาตรฐาน และมีความสุขกับการทำงาน ปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญคือสัมพันธ์ภาพของเจ้าหน้าที่ต่อเครือข่ายในชุมชน ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา ส่วนขนาดของหน่วยบริการตามสัดส่วนประชากร ไม่ส่งผลต่อวิธีการพัฒนา แต่ส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากมีหน่วยบริการมากกว่าอำเภออื่นที่มีสัดส่วนประชากรใกล้เคียงกัน</p> ER -