TY - JOUR AU - สุทธิธรรม, กัลญา AU - ศาลารักษ์, อัศวยุช PY - 2020/06/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนารูปแบบการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกในหน่วยงานภาครัฐในอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด JF - วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน JA - J Health Sci Comm Publ Health VL - 3 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/241612 SP - 1-11 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกในหน่วยงานภาครัฐในอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มพัฒนารูปแบบประกอบด้วย งานผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล และงานเทคนิคการแพทย์ กลุ่มศึกษาคือ บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด 31 หน่วยงาน จำนวน 297 คน ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 ถึงเดือน กันยายน 2561 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR ตามแนวคิดของ เคมมิส และแมกทากาด<sup>1 </sup>ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Act) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflect) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือข้อมูลในระบบ HOSxP วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติจำนวน และร้อยละ</p><p>ผลการวิจัย พบว่าการใช้รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายวิธี ได้แก่ การใช้แผ่นพับ การทำ One page การลงเวปโรงพยาบาล การประชุมหัวหน้าส่วนราชการ และการออกประชาสัมพันธ์ในหน่วยงาน รวมถึงการจัดระบบบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาลแบบช่องทางด่วน (Fast Track) &nbsp;ซึ่งการให้บริการตรวจสุขภาพก่อนการใช้รูปแบบ มีหน่วยงานที่มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปี เพียง 2 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 6.45 จำนวนทั้งหมด 63 คน คิดเป็นร้อยละ 21.43 แต่หลังจากการใช้รูปแบบการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก มีหน่วยงานที่มารับบริการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 8 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 25.81 จำนวนทั้งหมด 156 คน คิดเป็นร้อยละ 53.06 เพิ่มขึ้น 28.63 เปอร์เซ็นต์ ผลการรายงานการตรวจสุขภาพประจำปี พบว่า มีผู้รับบริการตรวจสุขภาพที่มีไขมันในหลอดเลือดสูง จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 14.96 ผู้รับบริการที่ตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่าปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.63 ผู้รับบริการที่มีตรวจพบการทำงานของตับผิดปกติ จำนวน 2 คน เช่นเดียวกับผู้รับบริการที่ตรวจพบปอดผิดปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.68 เท่ากัน จากการดำเนินงานทำให้ได้รูปแบบ และแนวปฏิบัติ การให้บริการที่เป็นระบบ เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ลดระยะเวลารอคอย มีผู้มารับบริการ และมีรายได้จากการให้บริการตรวจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น</p><p>&nbsp;</p><p>&nbsp;</p> ER -