TY - JOUR AU - ทาจวง, ปิยะเนตร AU - ยืนนาน, ชูศักดิ์ PY - 2018/12/27 Y2 - 2024/03/29 TI - รูปแบบบริการผู้ป่วยนอกแบบผสานพลังลดอุบัติการณ์ผู้ป่วย Arrest ของหน่วยบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ JF - วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน JA - J Health Sci Comm Publ Health VL - 1 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/197932 SP - 115-130 AB - <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกแบบผสานพลังลดอุบัติการณ์ ผู้ป่วย Arrest ของหน่วยบริการผู้ป่วยนอก โดยศึกษาในผู้มารับบริการที่หน่วยบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยนอกในการลดอุบัติการณ์ภาวะหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น (Arrest) ในหน่วยบริการผู้ป่วยนอก การดำเนินการโครงการวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยโดยการ วิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ระบบการดูแลผู้ป่วยโดยใช้แนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ (system theory) และโดย ใช้วงจรของเดมมิ่ง (Deming cycle) นี้ ให้สำคัญในการลดอัตราผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น กลุ่ม ตัวอย่าง ประกอบด้วย หัวหน้าแผนกให้บริการผู้ป่วยนอก และพยาบาลผู้ปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยนอก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) กระบวนการประชุม ระดมสมอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) แบบประเมินแบบ ประเมินภาวะเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบสถิติ Likelihood ratios (LRs) ผลการศึกษา 1) รูปแบบบริการผู้ป่วยนอกแบบผสานพลังลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยหยุด หายใจและหัวใจหยุดเต้น ในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย การสังเกตผู้ป่วยตั้งแต่เริ่ม เข้าบริเวณหน่วยบริการ การจัดโซนผู้มีความเสี่ยง ความตื่นตัวในการให้บริการ ประสานพลังร่วมประเมิน และการยอมรับการมีส่วนร่วม ประสิทธิภาพของแบบประเมินภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น 2) จาก การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อประเมินความแม่นยำ หรือความน่าเชื่อถือ โดยพิจารณาจากค่า Likelihood ratio of positive ซึ่งมีค่า 11.59 เท่า แสดงว่าผู้ป่วยที่ถูกประเมินโดยแบบประเมิน พบว่ามีอาการอย่างหนึ่งอย่าง ได้ เพิ่มโอกาสในการเป็นผู้ป่วยภาวะวิกฤติ เป็น 11.59 เท่าเมื่อเทียบกับก่อน pre-test probability ขณะที่ likelihood ratio of negative test พบว่าผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ จะลดโอกาสที่จะเป็นผู้ป่วยวิกฤต เหลือ 0.52 เท่าเมื่อเทียบกับก่อนการประเมิน และเมื่อพิจารณาพื้นที่ใต้โค้ง อาร์ โอ ซี (Area under ROC curve; AUC) พบว่า แบบประเมินสามารถทำนายการเกิดภาวะวิกฤติของผู้ป่วยได้ถูกต้องร้อยละ 73.12</p> ER -