@article{มะมา_2022, title={การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์}, volume={5}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/246947}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) ขั้นตอนการปฏิบัติการ ขั้นตอนการสังเกตการณ์ และขั้นตอนสะท้อนผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน คัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง ประกอบด้วย ตัวแทนจากท้องถิ่น ท้องที่ การศึกษา ศาสนา สาธารณสุขและตัวแทนครัวเรือน จำนวน 165 คน เก็บรวบรวมด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามด้านความรู้ พฤติกรรมและการมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ Paired Sample t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>           ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการในการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานบริบทของพื้นที่ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนแบบมีส่วนร่วม 3) การดำเนินกิจกรรม/โครงการ 4) การสังเกต ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน</p> <p>5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน และ 6) การคืนข้อมูลให้ชุมชน และรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประกอบด้วย 8 กิจกรรม/โครงการ คือ 1) การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในชุมชน 2) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติในชุมชน 3) การกำหนดกฎระเบียบของชุมชน 4) การส่งเสริมนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) การจัดการดัชนีลูกน้ำ<em> 6) </em>โครงการกำกับ ติดตามและสำรวจลูกน้ำ 7) การสร้างเครือข่าย อสม. น้อย และ 8) การจัดการสิ่งแวดล้อม ผลการดำเนินงานพบว่า ความรู้ พฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ดัชนีลูกน้ำยุงลายทั้งค่าดัชนีครัวเรือน (House Index: HI) และดัชนีภาชนะ (Container Index: CI) ลดลงหลังดำเนินการพัฒนา</p> <p>ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ DONGMUNLEK Model ประกอบด้วย D: <em>Democracy คือ </em>ประชาธิปไตย, O: Opportunity คือ การวิเคราะห์ทรัพยากรในชุมชน, N: Network คือ ภาคีเครือข่าย, G: <em>Generate</em> คือ การคิดค้นนวัตกรรม, M: Management คือ การบริหารจัดการ, U: Unity คือ ความเป็นเอกภาพ, N: News คือ ข้อมูลข่าวสาร, L: Learning คือ การเรียนรู้, E: Evaluation คือ การกำกับ ติดตาม และประเมินผลการ, K: Knowledge คือ องค์ความรู้</p> <p>           ข้อเสนอแนะ ควรนำรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในชุมชน เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่อไป</p>}, number={1}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน}, author={มะมา สุวิทย์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={82–95} }