@article{ฉวีพงศ์ บุญกาญจน์_2020, title={สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดนครศรีธรรมราช}, volume={3}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/241984}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI กลุ่มประชากรคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิที่เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายรอง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 86 คน ใช้วิธีการเลือกประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่  ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความรู้การดูแลผู้ป่วย ส่วนที่ 3 สมรรถนะในการดูแลผู้ป่วย แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความรู้การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI  มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (=2.84, S.D.=0.371) และสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (=4.34, S.D.=0.384) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรู้การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.979, P-value=0.003) ดังนั้น การจัดอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดสมรรถะในการดูแลผู้ป่วยและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน</p>}, number={1}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน}, author={ฉวีพงศ์ บุญกาญจน์}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={22–34} }