@article{วุฒิพงศ์เดชา_โชติชัย_2018, title={ปัญหาสุขภาพจากการทำงานของแรงงานนอกระบบในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม บ้านมาบกราด ตำบลมาบกราด อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา}, volume={1}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/197912}, abstractNote={<p>การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการทำงานและสภาพการทำงาน และสิ่งคุกคามการทำงานกับการเกิดปัญหาสุขภาพจากการ ทำงานของแรงงานนอกระบบในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 110 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัยระหว่างควอล์ไทล์ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพจากการทำงานในระดับต่ำ ร้อยละ 72.7 โดย ปัญหาสุขภาพที่พบ ได้แก่ ปวดหลัง เอว ร้อยละ 78.3 รองลงมามีอาการเหนื่อยจากอากาศร้อน ร้อยละ 70.9 และปวดมือ ข้อมือ นิ้วมือ ร้อยละ 67.3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมสุขภาพ และสภาพการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับปัญหาสุขภาพจากการทำงานอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (rs=-0.35, p-value<0.001) สิ่งคุกคามการทำงานด้านกายภาพ ด้านเคมี ด้าน ชีวภาพ และด้านการยศาสตร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับปัญหาสุขภาพจากการ ทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs=0.48, p-value<0.001; rs=0.45, p-value<0.001; rs=0.39, pvalue< 0.001 และ rs=0.48, p-value<0.001 ตามลำ ดับ) ส่วนสิ่งคุกคามด้านจิตสังคมพบว่ามี ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับปัญหาสุขภาพจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.19, pvalue= 0.04) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังทางสุขภาพ การดูแลใน เรื่องอาชีวอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บจากการทำงานเพื่อคุณภาพการ ทำงานของเกษตรกรที่ดีต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน}, author={วุฒิพงศ์เดชา อนัญญา and โชติชัย เทพไทย}, year={2018}, month={ธ.ค.}, pages={55–70} }