@article{ยอดดี_โพธิ์อ่ำ_2018, title={ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลากรสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา}, volume={1}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/197905}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มี ความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา กลุ่มประชากรคือ บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานระบาดวิทยาใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 175 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่ม ตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 ราย ใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะ ส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ปัจจัยบริหาร ส่วนที่ 3 กระบวนการบริหาร ส่วนที่ 4 การปฏิบัติงานเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยา การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.975 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยบริหารประกอบด้วย กำลังคน งบประมาณ และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( =2.81, S.D.=0.39) กระบวนการบริหารประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การอำนวยการ การประสานงานและการรายงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( =2.92, S.D.=0.27) ระดับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และการแปรผลข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับสูง ( ==2.88, S.D.=0.33) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยบริหารและกระบวนการ บริหารมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลการสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =0.235, Pvalue= 0.007, r=0.245, P-value=0.005) ตามลำดับ</p>}, number={2}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน}, author={ยอดดี สมโภช and โพธิ์อ่ำ อมรศักดิ์}, year={2018}, month={ธ.ค.}, pages={41–54} }