ความเชื่อถือได้ของการวินิจฉัยการเมาสุราโดยวิธีสังเกตอาการ

Authors

  • ชนิดา พลานุเวช สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศศิธร แจ่มถาวร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิไล ชินเวชกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สมชาย อิสระวาณิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อนุสรณ์ รังสิโยธิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เอกพันธ์ ฤทธา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐวรรณ ฉินทกานันท์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วราพรรณ ด่านอุตรา ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

แอลกอฮอล์, เลือด, วิธีวินิจฉัย, การสังเกตอาการ

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเชื่อถือได้ของวิธีวินิจฉัยการเมาสุราโดยสังเกตอาการ และลักษณะภายนอกต่างๆ ของผู้ประสบอุบัติเหตุจราจร ที่มารับการรักษาพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลตํารวจ เปรียบเทียบกับผลการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีแกสโครมาโตกราฟี และใช้เกณฑ์ตัดสินตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกว่า หากมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (มก.%) ถือว่าเมาสุรา มีผู้ป่วยทั้งหมดที่ศึกษา จํานวน 2,099 ราย ยินยอมให้เจาะเลือด 643 ราย ผลการศึกษาในผู้ป่วยที่ยินยอมให้เจาะเลือด จํานวน 643 ราย พบว่าวิธีสังเกตอาการ คาดการณ์ผลบวกได้ร้อยละ 84.1 และคาดการณ์ผลลบได้ ร้อยละ 80.6 เมื่อนําวิธีนี้ไปใช้วินิจฉัยผู้ป่วยทั้งหมดจํานวน 2,099 ราย พบว่าเป็นผู้เมาสุราร้อยละ 23.3 เมื่อจําแนกตามสถานภาพการขับขี่พบว่า เป็นผู้ขับขี่เมาสุราร้อยละ 28.8 ผู้โดยสารเมาสุรา ร้อยละ 17.0 และคนเดินเท้าเมาสุราร้อยละ 11.6 ในจํานวนผู้ที่สังเกตอาการพบว่าเมาสุรา ยอมรับว่าได้ดื่มสุราก่อนเกิดอุบัติเหตุจราจรร้อยละ 86.5

Downloads

Published

2019-05-13

How to Cite

พลานุเวช ช., แจ่มถาวร ศ., ชินเวชกิจวานิชย์ ว., อิสระวาณิชย์ ส., รังสิโยธิน อ., ฤทธา เ., ฉินทกานันท์ ณ., & ด่านอุตรา ว. (2019). ความเชื่อถือได้ของการวินิจฉัยการเมาสุราโดยวิธีสังเกตอาการ. Journal of Health Research, 14(2), 77–85. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/196546

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE