กำจัดการระบาดตามธรรมชาติของเห็บ Rhipicephalus sanguineus บนตัวสุนัขในโรงเลี้ยงด้วย ivermectin

Authors

  • ประโยชน์ ตันติเจริญยศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

-

Abstract

สุนัข (Canis familiaris) โตเต็มวัย พันธุ์ผสมทั้งเพศผู้และเมียรวม 29 ตัว ได้นํามาใช้เพื่อการศึกษาวิจัยหลาย โครงการ หลังการเลี้ยงให้แข็งแรงและทําการศึกษาทดลองแล้ว ได้เกิดการระบาดของเห็บ (Rhipicephalus sanguineus) กับสุนัขทั้งโรงเรือน มีสุนัข 3 ตัว (เพศผู้ 1 และเพศเมีย 2) เป็นหิด (Sarcoptes scabies var. canis) ด้วย การกําจัดเห็บ สมัยก่อนต้องทําร่วมกันหลายวิธี เช่น อาบน้ำยา โรยด้วยยาผงหรือด้วยการจับเห็บบนตัวสัตว์ไปทําลาย ส่วนโรงเรือนสัตว์ก็ใช้วิธีการที่เหมาะสม

การศึกษานี้ใช้ ivermectin ที่มีรายงานว่า มีประสิทธิภาพในการกําจัดพยาธิภายนอกและภายในได้หลายชนิด ทั้งในรูปกินหรือฉีด เริ่มแรกได้ทดลองกับสุนัขที่เป็นทั้งหิดและมีเห็บทุกวัยจํานวน 3 ตัวกับสุนัขที่มีเห็บทุกวัยอย่างเดียว 4 ตัว ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในขนาด 400 มคก./น.น.ตัว 1 กก. สุนัขที่เหลือซึ่งไม่ได้ฉีดยาใช้เป็น control เห็บตัวเมียที่ engorged ทุกตัวจะหลุดจากตัวสัตว์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังฉีด ต่อมาลูกเห็บระยะ larvae และ nymphs จะค่อย ๆ ลดจํานวนลง จะพบมีบ้างที่ยังเกาะติดและมีบางตัวตายติดอยู่บนตัวสุนัข จะพบมีลูกเห็บระยะ larvae และ nymphs ใหม่บนตัวสุนัข หลังฉีดแล้ว 9-14 วัน ได้ฉีด ivermectin ซ้ํากับสุนัขกลุ่มนี้และได้ผลเหมือนเดิม แผนการกําจัดการระบาดตามธรรมชาติ ของเว็บบนตัวสุนัขในโรงเรือนได้จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ คือ ฉีดสุนัขทุกตัวด้วยวิธีการและขนาดยาดังกล่าวห่างกัน 10-11 วัน รวม 3 ครั้ง หลังจากนั้นสุนัขทุกตัวได้ปลอดจากเห็บและพบมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01)

Downloads

Published

2019-05-29

How to Cite

ตันติเจริญยศ ป. (2019). กำจัดการระบาดตามธรรมชาติของเห็บ Rhipicephalus sanguineus บนตัวสุนัขในโรงเลี้ยงด้วย ivermectin. Journal of Health Research, 1(1), 29–35. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/191615

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE