การศึกษาผลของการใช้ยากล่อมประสาท Xylazine ในกระบือไทย
Keywords:
-Abstract
ศึกษาผลของยากล่อมประสาท Kylazine HCI ขนาดต่าง ๆ กับกระบือไทย 16 ตัว อายุตั้งแต่ 8 เดือน ถึง 4 ปี กระบือทั้งหมดถูกสุ่มแยกออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยกระบือเพศผู้และเมียอย่างละ 2 ตัว กระบือกลุ่ม 1 ถึง 4 ได้รับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อด้วยขนาด 0.15, 0.175, 0.20 และ 0.22 มก./กก. ตามลําดับ อาการต่างๆ ที่ศึกษาได้แก่ อุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้นของชีพจรและอัตราการหายใจ รวมทั้งค่าโลหิตวิทยาและชีวเคมีก่อนและที่ 1/2, 1, 2 และ 4 ชั่วโมง (ชม.) หลังฉีดยา
ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้นของชีพจร และอัตราการหายใจลดลง หลังฉีดครึ่งชม. เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และฮีโมโกลบิน ลดลงหลังฉีดครึ่งชม. แล้วคืนสู่สภาพปกติหลังฉีด 4 ชม. lymphocytes และ eosinophils ลดลง แต่ neutrophils สูงขึ้น ส่วน monocytes และ basophils ไม่เปลี่ยนแปลง ค่าของ serum urea nitrogen ในทุกกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นหลังจากการให้ยาครึ่งชม. และสามารถตรวจค่าที่เพิ่มขึ้นนี้จนถึงชม.ที่ 4 ค่าของ creatinine พบว่า ในทุกกลุ่มสูงขึ้นหลังฉีดครึ่งชม. และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากฉีดยาแล้วนาน 4 ชม. ค่าของ SGPT และ SGOT มีค่าลดลงเล็กน้อยในทุกกลุ่ม หลังฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อครึ่งชม. และในชม.ที่ 4 หลังฉีด ค่าทั้งสองจะเพิ่มสูงขึ้นเท่าค่าปกติ ก่อนฉีดยา ส่วนอาการที่ไม่พึงประสงค์ เช่น น้ำลายไหลน้อยจนถึงไหลมาก และการสํารอกน้ำและอาหารออกมา พบได้ใน รายให้ยาขนาดสูง