การจัดหาคำตอบ “ไม่แน่ใจ” “ไม่ทราบ” ให้ในการสำรวจทัศนคติ

Authors

  • พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

-

Abstract

วัตถุประสงค์ของบทความนี้ต้องการพิสูจน์สมมติฐานทางระเบียบวิธีวิจัยที่ว่า ถ้าผู้วิจัยจัดหาคําตอบ “ไม่แน่ใจ” “ไม่มีความเห็น” หรือ “ไม่ทราบ” ซึ่งเป็นคําตอบที่ง่ายในการตอบ แต่ยากในการแปลความหมาย จะทําให้ผู้ตอบมีแนวโน้มที่จะเลือกคําตอบเหล่านี้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการสํารวจที่ให้ผู้ตอบกรอกแบบสอบถามเอง และคําถามนั้นเป็น คําถามที่ยังเป็นประเด็นอยู่ เช่น คําถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เรื่องเพศ เรื่องที่เชื่อผิด ๆ

ผู้วิเคราะห์ได้ใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการทําหมันชาย ซึ่งศึกษาผู้นําท้องถิ่น ได้แก่ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกํานัน แพทย์ประจําตําบล จากอําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี เขตหนองแขมและหนองจอก กรุงเทพมหานคร อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จํานวน 200, 340 และ 291 ท่าน ตามลําดับ ทั้งสามโครงการได้ใช้การสํารวจฯ โดยให้ผู้ตอบกรอกแบบสอบถามเอง และใช้กระบวนการในการบริหารการวิจัย อย่างเดียวกัน

ในการวิเคราะห์ ได้เลือกคําถามเกี่ยวกับทัศนคติและเป็นคําถามเดียวกันในทั้งสามโครงการ ซึ่งได้แก่ คําถามที่ 1 ท่านคิดว่าการทําหมันเหมือนการตอนหรือไม่ คําถามที่ 2 ท่านเชื่อไหมว่าการทําหมันชาย จะทําให้ไม่มีเรี่ยวแรงในการทํางาน คําถามที่ 3 ท่านเชื่อไหมว่าการทําหมันชาย จะทําให้ผู้ชายเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

คําตอบสําหรับทั้งสามคําถามนี้ คือ “คิด ฯ” กับ ไม่คิด ฯ” “เชื่อ” กับ “ไม่เชื่อ” แต่สิ่งที่แตกต่างซึ่งจะช่วย ให้สามารถพิสูจน์สมมติฐานดังกล่าวข้างต้นคือ ในโครงการวารินชําราบได้เพิ่มคําตอบว่า “ไม่แน่ใจ” โครงการหนองแขม และหนองจอกได้แบ่งแบบสอบถามออกเป็นสองกลุ่ม ประมาณครึ่งหนึ่งให้เพิ่มคําตอบ “ไม่ทราบ” ลงไปด้วย และอีกประมาณครึ่งหนึ่งไม่มีคําตอบนี้ให้ สําหรับโครงการอําเภอเมืองขอนแก่น ไม่มีคําตอบเหล่านี้ให้เลย

ผลจากการวิเคราะห์ ปรากฏว่าตัวอย่างจากโครงการวารินชําราบ หนองแขม หนองจอก และอําเภอเมืองขอนแก่น ตอบว่า “ไม่แน่ใจ” หรือ “ไม่ทราบ” ในการตอบคําถามที่ 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 40.0, 10.3 และ 0.9 ตามลําดับ การตอบคําถามที่ 2 และ 3 ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน

ต่อมาผู้วิเคราะห์ได้วิเคราะห์เฉพาะข้อมูลจากโครงการหนองแขมและหนองจอก ซึ่งแบบสอบถามมี 2 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 ไม่มีคําตอบ “ไม่ทราบ” เลย

กลุ่มที่ 2 มีคําตอบ “ไม่ทราบ” ให้

ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ในกลุ่มที่ 1 ไม่มีผู้ตอบผู้ใดที่ตอบว่า “ไม่ทราบ” เลย ซึ่งก็หมายความว่า ผู้ตอบเลือก คําตอบ “คิด ฯ” กับ “ไม่คิด ฯ” ทั้งๆ ที่ถ้าหากผู้ตอบไม่ทราบหรือไม่มีความเห็นจริง ๆ ก็อาจจะเขียนคําตอบเหล่านี้ ลงในที่ว่างได้ ในกลุ่มที่ 2 มีผู้เลือกคําตอบ “ไม่ทราบ” ในการตอบคําถามที่ 1, 2 และ 3 ถึงร้อยละ 18.3, 22.2 และ 21.4 ตามลําดับ

ผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้นจึงอาจจะสรุปได้ว่า ผู้ตอบมีแนวโน้มที่จะตอบ “ไม่แน่ใจ” “ไม่ทราบ” มากขึ้น เมื่อมีการจัดหาคําตอบเหล่านี้ได้

Downloads

Published

2019-05-29

How to Cite

พิทักษ์เทพสมบัติ พ. (2019). การจัดหาคำตอบ “ไม่แน่ใจ” “ไม่ทราบ” ให้ในการสำรวจทัศนคติ. Journal of Health Research, 1(2), 41–47. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/191558

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE