การเหนี่ยวนําการคลอดในแม่สุกรด้วยเฟนโปรสตาลินกับอ๊อกซีโตซิน
Keywords:
-Abstract
แม่สุกรตั้งท้อง 112-113 วัน จํานวน 59 ตัว ถูกลสุ่มแบ่งออก 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง ท้องที่ 1-6 จํานวน 39 แม่ ได้รับการฉีดสารโปรสตาแกลนดินชนิดสังเคราะห์ เป็นโปรสตาลินขนาด 0.5 มิลลิกรัม (มก.) เข้าใต้หนัง อีก 20 ชั่วโมงต่อมา ได้รับการฉีดอ๊อกซิโตซิน 10 หน่วยสากลเข้ากล้าม ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบ ท้องที่ 1-5 จํานวน 20 แม่ ได้รับการฉีดเฉพาะเฟนโปรสตาลิน 0.5 มก. โดยเฉลี่ยลูกสุกรแรกคลอด, คลอดมีชีวิต, เปอร์เซ็นต์ลูกกรอก, ลูกตาย, ผิดปกติ, น้ำหนักแรกคลอด (กก.) และระยะเวลาคลอด (ชม.) ระหว่างกลุ่มที่ได้รับยา และกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าใกล้เคียงกัน : 10.3 ± 2.4 เทียบกับ 10.7 ± 3.3 ; 9.9 ± 2.2 เทียบกับ 10.3 ± 3.3 ; 1.5 เทียบกับ 1.9 ; 2.5 เทียบกับ 1.9 ; 0 เทียบกับ 0.5 ; 1.3 ± 0.2 เทียบกับ 1.3 ± 0.2 และ 4.6 ± 3.0 เทียบกับ 4.9 ± 3.9 ตามลำดับ แม่สุกร 7.7% (3/39) และ 20.0% (4/20) ในกลุ่มที่ได้รับยา และกลุ่มเปรียบเทียบตามลําดับ คลอดภายในเวลา 14.2 ± 6.7 และ 12.7 ± 5.8 ชม. (p>0.05) ในขณะที่แม่สุกรส่วนใหญ่ 92.3% (36/39) และ 80.0% (16/20) ของกลุ่มที่ได้รับยา และกลุ่มเปรียบเทียบตามลําดับ โดยเฉลี่ยคลอดภายในเวลา 22.4 ± 2.5 และ 27.4 ± 5.0 ชม. (p< 0.01) ผลข้างเคียงที่พบคือ 10-15 นาทีหลังจาก ฉีดเฟนโปรสตาลินมีจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ฉีด ซึ่งจะค่อยๆ หายไปภายในเวลา 2 สัปดาห์ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึง ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้อ๊อกซิโตซินร่วมกับเฟนโปรสตาลิน ในการกําหนดเวลาคลอดได้แม่นยําขึ้น