ความชุกของความผิดปกติของระบบการบดเคี้ยวในวัยหนุ่มสาว

Authors

  • สุปราณี วิเชียรเนตร ภาควิชาทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์ ภาควิชาทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

-

Abstract

การศึกษาหาความชุกของความผิดปกติของระบบการบดเคี้ยวทําในนิสิตทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวน 391 คน โดยแบ่งกลุ่มตามเพศ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามร่วมกับการตรวจทางคลินิก ได้ค่าความชุกของความผิดปกติของระบบการบดเคี้ยว 64.45%

จากแบบสอบถามพบว่า อาการที่มีผู้ตอบรับมากที่สุดคือ เสียงดังหน้าหู (49.1%) รองลงมาคือ ปวดต้นคอ (37.1%) และเมื่อยบริเวณขากรรไกร (24.8%) มีนิสัยในการทําหน้าที่บดเคียวที่พิการ 43.7% (นอนกัดฟัน 28.6%, กัดเน้นฟัน 15.1%)

จากการตรวจทางคลินิกพบมีเสียงดังที่ข้อต่อเทมโปโรแมนดิบูลาร์มากที่สุด (52.2%) รองลงมาคือ ความเบี่ยงเบนของขากรรไกรล่างขณะอ้าปาก (50.1%) ปวดหรือกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรพบ 17.6% และ 16.1% ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยอ้าปากกว้าง 46.18 มม.

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า ความชุกของความผิดปกติของระบบการบดเคียวบางประการ มีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

Downloads

Published

2019-05-27

How to Cite

วิเชียรเนตร ส., & วิชัยเฉลิมวงศ์ ส. (2019). ความชุกของความผิดปกติของระบบการบดเคี้ยวในวัยหนุ่มสาว. Journal of Health Research, 2(1), 11–21. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/191189

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE