การผลิต anti-17 α- hydroxyprogesterone ในกระต่าย

Authors

  • สมัย ลีพิพัฒน์ไพบูลย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฉัตรพร อุษณาจิตต์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กิตติศิลป์ ตระกูลช่าง กองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทย
  • สุทัศน์ กลกิจโกวินท์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

-

Abstract

Anti-17α-hydroxyprogesterone ได้จากกระต่าย 3 ตัว โดยการฉีด 17α -hydroxyprogesterone-3-(0 carboxymethyl)-oxime-BSA หลังจากฉีดกระตุ้นจนถึงสัปดาห์ที่ 30 ฆ่ากระต่ายเพื่อเก็บ antiserum และทําการประเมิน คุณภาพ โดยการหา litre, affinity constant (Ka) และความจําเพาะในการทําปฏิกิริยา (specificity) ผลการประเมินคุณภาพพบว่ากระต่ายตัวที่หนึ่งมี titre สูงถึง 1 : 140,000 ส่วนกระต่ายที่เหลือ 2 ตัว มี titre เท่ากัน (1 : 70,000) Ka ของ antiserum คํานวณจาก Scatchard plot ได้ค่าใกล้เคียงกันทั้ง 3 ตัว (Ka = 3.0 x 10-10M) ความจําเพาะในการ ทําปฏิกิริยาของ antisera จากกระต่าย 3 ตัวคล้ายคลึงกัน ทําปฏิกิริยากับโปรเจสเตอโรน และ 17α -hydroxypregnenolone เพียงเล็กน้อย และได้เปรียบเทียบการวิเคราะห์ 17-OHP ในน้ำเหลืองก่อนและหลัง column chromatography ผล ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของ 17-OHP ในน้ำเหลืองทั้ง 2 วิธี ที่ใช้ antisera จากกระต่าย 3 ตัวเป็น binding agent ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (paired t-test, p < 0.5) แสดงให้เห็นว่า antiserum ที่ได้จากกระต่าย 3 ตัวนี้ มีความจําเพาะในการทําปฏิกิริยาสูง สามารถใช้วิเคราะห์ 17-OHP ในน้ำเหลืองได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอน chromatography และเมื่อนํา antiserum นี้ไปประยุกต์ใช้ ในการวิเคราะห์ 17-OHP ในเด็กที่เป็นโรค congenital adrenal hyperplasia (CAH) พบว่าระดับ 17-OHP ในเด็กที่เป็นโรคนี้สูงกว่าเด็กปกติอย่างเห็นได้ชัด

Downloads

Published

2019-05-23

How to Cite

ลีพิพัฒน์ไพบูลย์ ส., อุษณาจิตต์ ฉ., ตระกูลช่าง ก., & กลกิจโกวินท์ ส. (2019). การผลิต anti-17 α- hydroxyprogesterone ในกระต่าย. Journal of Health Research, 3(2), 91–99. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/190700

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE