ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในจังหวัดสิงห์บุรี

การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงซ้อน

Authors

  • ธวัชชัย วรพงศธร ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดุสิต สุจิรารัตน์ ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • กานดา วัฒโนภาส ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พันธุ์ทิพย์ รามสูต ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุแบบลอจิสติค, ปัจจัยเสี่ยง, โรคท้องร่วง, ทุพโภชนาการ, ความรู้, ความเชื่อ, พฤติกรรม

Abstract

กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี จํานวน 466 รายในจังหวัดสิงห์บุรี ได้ถูกสํารวจเพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วง ข้อมูลได้ถูกเก็บรวบรวมมาจาก 2 แหล่งคือ ข้อมูลจากการรายงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตําบล และจากการสัมภาษณ์ ซักประวัติย้อนหลังของผู้ที่เลี้ยงดูเด็กโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดโรคอุจจาระร่วงจากการสํารวจ มีร้อยละ 14.59 ส่วนข้อมูลที่ได้จากสถานีอนามัยและสถานบริการของรัฐ มีอัตราการเกิดโรคอุจจาระร่วงร้อยละ 5.36 ปัจจัยเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบลอจิสติค คือ ความเชื่อ ความรู้เกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง และพฤติกรรม อนามัยที่ไม่ถูกต้องของผู้เลี้ยงเด็ก ซึ่งมีค่า odds ratios เป็น 9.2 7.8 และ 6.7 เท่า ของกลุ่มผู้เลี้ยงเด็กที่มีความเชื่อ ความรู้ และพฤติกรรมที่ถูกต้อง ปัจจัยที่สําคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือ อายุของเด็ก ภาวะโภชนาการ และคุณภาพของน้ำดื่ม สําหรับภาวะโภชนาการของเด็กซึ่งวัดโดยเทียบเกณฑ์น้ำหนักตามอายุ พบว่ามีเด็กที่ขาดสารอาหารในระดับ 1 ร้อยละ 16.7 และในระดับ 2-3 มีร้อยละ 1.5 เมื่อใช้เด็กปกติเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการในระดับ 1 และในระดับ 2-3 มีค่า odds ratios เท่ากับ 3.9 และ 4.6 ตามลําดับ การที่จะลดอัตราการเกิดโรคอุจจาระร่วงให้ลดน้อยลงอย่างมี ประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการรณรงค์การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับความรู้ และการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการ ป้องกันและรักษาโรคอุจจาระร่วง แก่กลุ่มผู้เลี้ยงเด็กและประชาชนในหมู่บ้านอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ

Downloads

Published

2017-11-28

How to Cite

วรพงศธร ธ., สุจิรารัตน์ ด., วัฒโนภาส ก., & รามสูต พ. (2017). ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในจังหวัดสิงห์บุรี: การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงซ้อน. Journal of Health Research, 5(1), 29–40. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/190544

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE