ซีรัมแมกนีเซียมในหญิงอายุน้อยและสูงอายุ

Authors

  • สมพงษ์ จินายน ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุดาวัลย์ เจียรนันทรานนท์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประสาท อักษรวงศ์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

วิธีวัดชีรัมแมกนีเซียม, เมทธิลไธมอล บลู, พิกัดค่าต่ำสุดที่ควรวัดได้, ค่าอ้างอิง, หญิงสูงอายุ, ภาวะซีรัมแมกนีเซียมต่ำ, ภาวะซีรัมแมกนีเซียมสูง

Abstract

การวิเคราะห์ซีรัมแมกนีเซียมในหญิงสุขภาพปกติ 102 คน อายุเฉลี่ย 22.03 + 1.42 ปี ได้ค่าเฉลี่ย 2.12 + 0.18 มก./ดล. การกระจายตัวของข้อมูลเป็นแบบปกติ ดังนั้นค่าอ้างอิงในช่วง 95% คือ 1.76 ถึง 2.48 มก./ดล. ซีรัมแมกนีเซียมในหญิงสูงอายุ 84 คน อายุเฉลี่ย 73.55 + 5.74 ปี มีค่าตั้งแต่ 1.60 ถึง 2.74 มก./ดล. (ค่า เฉลี่ย 2.18 + 0.22 มก./ดล.) ซึ่งแสดงแนวโน้มว่ามีระดับสูงกว่าที่พบในหญิงอายุน้อย (t = 2.0136, p<0.05) และหญิงสูงอายุมีค่าซีรัมแมกนีเซียมต่ำกว่าและสูงกว่าค่าอ้างอิงถึงร้อยละ 2.38 และ 2.76 ตามลําดับ อายุอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งของความแตกต่าง อย่างไรก็ตามหญิงสูงอายุบางคนมีผลการตรวจระดับสารเคมีในเลือดผิดปกติด้วย ได้แก่ กลูโคส BUN โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และกรดยูริก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเมแทบอลิซึมของแมกนีเซียมได้ด้วย วิธีวัดซีรัมแมกนีเซียมโดยใช้สีเมทธิลไธมอล บลู และสเปคโตรโฟโตมิเตอร์นั้นทําได้ง่าย รวดเร็ว และมีคุณสมบัติด้านการปฏิบัติดีในแง่ของความเที่ยงตรงและแม่นยํา จึงเหมาะที่จะนํามาใช้ในห้องปฏิบัติการสําหรับเป็นการตรวจขั้นพื้นฐาน เพื่อคัดกรองโรคหรือศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระดับกับสรีรพยาธิวิทยาของโรคบางชนิด

Downloads

Published

2017-11-28

How to Cite

จินายน ส., เจียรนันทรานนท์ ส., & อักษรวงศ์ ป. (2017). ซีรัมแมกนีเซียมในหญิงอายุน้อยและสูงอายุ. Journal of Health Research, 5(1), 41–47. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/190543

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE