อุบัติการณ์ของการตั้งครรภ์และสาเหตุของการเลิกใช้ NORPLANT® ในสตรีอาสาสมัคร ณ ศูนย์วิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Authors

  • สุมนา ชมพูทวีป ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประเสริฐศรี เซ็นตระกูล ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เอื้อมพร คชการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จงกล ตั้งอุสาหะ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุรภี ศิริสัมพันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บุญเทียม เทพพิทักษ์ศักดิ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิกร ดุสิตสิน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ยาฝังคุมกำเนิด Norplant®

Abstract

Norplant® เป็นวิธีคุมกําเนิดที่ใช้ progestin ซึ่งปัจจุบันได้อยู่ในโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติแล้ว ยาฝังคุมกําเนิดประกอบด้วย 6 หลอด ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมน levonorgestrel อย่างช้าๆ และมีระดับคงที่ จากการศึกษาในภาคต่างๆ ของประเทศไทยพบว่ามีประสิทธิภาพดีมีอัตราการคงใช้สูง ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากให้ความร่วมมือฝึกอบรมแพทย์จากศูนย์บริการสาธารณสุขแล้ว และได้รับความสนับสนุนยาฝังคุมกําเนิดจากกองอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เปิดบริการใส่ยาฝังคุมกําเนิดแก่สตรี ณ ศูนย์วิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัดธาตุทอง พระโขนง กรุงเทพฯ และได้ทําการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากงานบริการนี้ พบว่า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2529 - กรกฎาคม 2532 มีสตรีรับบริการฝังยาคุมกําเนิดทั้งหมด 308 คน มีอายุเฉลี่ย 29.1 ปี จํานวนการตั้งครรภ์เฉลี่ย 1.9 มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 45.1 รองลงมาเป็นแม่บ้านร้อยละ 44.8 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 63.3 ก่อนที่จะรับบริการฝังยาคุมกําเนิด เคยใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดถึงร้อยละ 49 เหตุผลที่เลือกใช้เห็นว่าวิธีนี้คุมกําเนิดได้นานคิดเป็นร้อยละ 39.9 สําหรับข่าวเกี่ยวกับ ยาฝังคุมกําเนิดร้อยละ 45.3 จากเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุข รองลงมาคือจากเพื่อนและญาติร้อยละ 44.4 ในจํานวน 308 คนนี้ มีการถอดยาฝังทั้งหมด 26 คน 9 คนใน 26 คนต้องการมีบุตรอีก 5 คนขอถอดยาฝังคุมกําเนิดจากปัญหาประจําเดือนไม่ปกติ บางครั้งออกมากออกนานหรือไม่มีประจําเดือนเลย และที่สําคัญคือพบการตั้งครรภ์ 2 คน หนึ่งคนได้ทําการวิเคราะห์ หาระดับยา levonorgestrel ในเลือดพบว่ามีค่า 0.4 ng/ml ซึ่งก็ใกล้เคียงกับการศึกษาของ Shaaban และ Croxato ซึ่งเห็นว่ายาระดับนี้สามารถจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นการตั้งครรภ์อาจจะเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น มูกปากมดลูก เยื่อบุมดลูก การระงับไข่ตก เป็นต้น และอาการข้างเคียงที่สําคัญที่ศูนย์วิจัยเราพบอีก คือ การมีสิวและฝ้าเกิดขึ้นอย่างมากหลังจากฝั่ง ยาคุมกําเนิดไปแล้ว มีทั้งหมด 4 คน ที่มาขอถอดยาฝั่งคุมกําเนิดออก

Downloads

Published

2019-05-22

How to Cite

ชมพูทวีป ส., เซ็นตระกูล ป., คชการ เ., ตั้งอุสาหะ จ., ศิริสัมพันธ์ ส., เทพพิทักษ์ศักดิ์ บ., & ดุสิตสิน น. (2019). อุบัติการณ์ของการตั้งครรภ์และสาเหตุของการเลิกใช้ NORPLANT® ในสตรีอาสาสมัคร ณ ศูนย์วิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Journal of Health Research, 4(1), 49–57. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/190516

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE