ยาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อไก่เนื้อสุกร และน้ำนมโคในประเทศไทย

Authors

  • อนงค์ บิณฑวิหค ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดานิศ ทวีติยานนท ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ยาต้านจุลชีพตกค้าง, เนื้อไก่, เนื้อสุกร, น้ำนมโค, เอ็มอาร์แอล, โคเด็กซ์

Abstract

เก็บตัวอย่างเนื้อไก่ เนื้อสุกร และน้ำนมโค ชนิดละ 200 ตัวอย่าง รวมจำนวน 600 ตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จาก 10 แห่งในจังหวัดอยุธยา ชลบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลของประเทศไทย ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 นำมาตรวจวิเคราะห์หายาต้านจุลชีพตกค้าง เจนตามิซิน ไดฮัยดรอสเตรปโตมัยซิน เตตราซัยคลิน คลอเตตราซัยคลิน และออกซีเตตราซัยคลิน โดยใช้วิธีอีไลซ่าและเอชพีแอลซี พบว่าในเนื้อไก่มียาเจนตามิซินตกค้างร้อยละ 20 (8/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 3.89 ถึง 6.04 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) ซึ่งพบมากที่สุดในเขตบางกอกใหญ่ มียาเตตราซัยคลินตกค้างร้อยละ 65 (26/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 20.05 ถึง 25.95 พีพีบี ซึ่งพบมาก ที่สุดในจังหวัดชลบุรี มียาคลอเตตราซัยคลินตกค้างร้อยละ 12.5 (5/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 10.11 ถึง 20.32 พีพีบีซึ่งพบมากที่สุดในจังหวัดนครปฐม และไม่พบยาไดฮัยดรอสเตรปโตมัยซิน และ ออกซี- เตตราซัยคลินตกค้างในตัวอย่างเนื้อไก่ที่ตรวจทั้งหมด ส่วนในเนื้อสุกรพบยาตกค้างมากที่สุดในจังหวัดนครปฐม มียาเตตราซัยคลินตกค้างร้อยละ 40 (16/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 28.09 ถึง 108.69 พีพีบี มียาคลอเตตราซัยคลินตกค้างร้อยละ 20 (8/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 61.02 ถึง 107.00 พีพีบี มียาเจนตามิซินตกค้างร้อยละ 15 (6/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 60.06 ถึง 86.26 พีพีบี พบยาออกซีเตตรา-ซัยคลินตกค้างร้อยละ 12.5 (5/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 50.47 ถึง 81.31 พีพีบี และไม่พบยาไดฮัย-ดรอสเตรปโตมัยซินตกค้างในตัวอย่างเนื้อสุกรที่ตรวจทั้งหมด สำหรับในน้ำนมโคพบว่ามียาเจนตามิซิน ตกค้างร้อยละ 70 (28/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 4.98 ถึง 25.19 พีพีบี (ไมโครกรัมต่อลิตร) ซงพบมากที่สุดในจังหวัดอยุธยา มียาเตตราซัยคลินตกค้างร้อยละ 55 (22/40 ตัวอย่าง) ในปริมาณ 3.30 ถึง 8.47 พีพีบี ซึ่งพบมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี และไม่พบยาไดฮัยดรอสเตรปโตมัยซิน คลอเตตราซัยคลิน และออกซีเตตราซัยคลิน ตกค้างในตัวอย่างน้ำนมโคที่ตรวจทั้งหมด ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่เนื้อไก่ เนื้อสุกร และน้ำนมโค ตรวจพบยาตกค้างในปริมาณน้อยกว่าปริมาณสูงสุดของยาที่อนุญาตให้มี ตกค้างได้ (เอ็มอาร์แอล) ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร เอฟ เอโอ/ดับลิว เอช โอ หรือโคเด็กซ์

Downloads

Published

2019-05-10

How to Cite

บิณฑวิหค อ., & ทวีติยานนท ด. (2019). ยาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อไก่เนื้อสุกร และน้ำนมโคในประเทศไทย. Journal of Health Research, 16(2), 75–84. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/188259

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE