อาวุธเคมีภัณฑ์

Authors

  • วีรวรรณ เล็กสกุลไชย ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

อาวุธเคมีภัณฑ์, การออกฤทธิ์, การป้องกัน, การรักษา

Abstract

การนำเอาสารเคมีมาใช้ในสงครามมีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยแบ่งกลุ่มสารเคมีตามลักษณะการออกฤทธิ์ได้เป็น nerve agent, vesicant agent, blood agent และ
choking agent ข้อแตกต่างจากระเบิดประการหนึ่งคือ อาวุธเคมีภัณฑ์สามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง หรือฟุ้งกระจายไปกับอากาศและน้ำ หากนำมาใช้ในระหว่างสงครามย่อมมีผู้ได้รับพิษและผู้ที่ตื่นตระหนกจำนวนมาก การมีแหล่งให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เหมาะสมจะลดความตื่นตระหนกได้ระดับหนึ่ง การควบคุมการกระจายของสารเคมีให้อยู่ในบริเวณที่จำกัดจะลดจำนวนผู้ได้รับพิษได้ การรักษาจะต้องเป็นไปอย่าง รอบคอบไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้ป่วยอื่นๆในสถานพยาบาล และถูกต้องเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยและป้องกันผลที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

Downloads

Published

2019-05-10

How to Cite

เล็กสกุลไชย ว. (2019). อาวุธเคมีภัณฑ์. Journal of Health Research, 16(1), 65–73. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/188255

Issue

Section

REVIEW ARTICLE