การศึกษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน

Authors

  • รัตนา สินธุภัค สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เอกพันธ์ ฤทธา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • ไพลิน ศรีสุขโข สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เขมิกา ยามะรัต สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เอื้อมพร คชการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • จงกล ตั้งอุสาหะ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • บุญเทียม เทพพิทักษ์ศักดิ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • นิกร ดุสิตสิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย

Keywords:

อนามัยการเจริญพันธุ์, อาการก่อนมีประจำเดือน, ปัจจัยเสี่ยง

Abstract

ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในสตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุระหว่าง 11-45 ปี จำนวน 1,630 คน เป็นนิสิต นักศึกษา ข้าราชการ บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พนักงานโรงงาน ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ครู อาจารย์ โรงเรียนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้แบบสอบถามเป็นแบบตอบเอง ลักษณะเป็นแบบสำรวจตนเองเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการก่อนมีประจำเดือน 7 กลุ่มอาการ ประกอบด้วย กลุ่มอาการทางอารมณ์ และประสาท อาการระบบทางเดินอาหาร อาการทางกำลังกาย อาการคั่งของน้ำ อาการปวด/เมื่อย และอาการอื่นๆ ผลการศึกษาเปรียบเทียบ อาการก่อนมีประจำเดือน (ร้อยละ 17) ระหว่าง (ร้อยละ 11) และหลังมีประจำเดือน (ร้อยละ1) พบว่าอาการส่วนมากที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาการทางอารมณ์ (หงุดหงิด) อาการทางประสาท (ปวดศีรษะ) อาการระบบทางเดินอาหาร (หิวบ่อย อยากอาหารเหมือนคนแพ้ท้อง) อาการคั่งของน้ำ (เจ็บตึงหน้าอก) จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน อาการก่อนมีประจำเดือนที่เป็นอุปสรรคมากหรือน้อยในการดำเนินชีวิต มีส่วนมาจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านองค์ประกอบส่วนบุคคล และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสตรีเองมักไม่ค่อยได้ให้ความสนใจเนื่องจากเป็นปัจจัยที่ใกล้ตัว หรืออาจคิดไม่ถึง ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะงานที่ทำ ลักษณะอาหารที่รับประทาน การออกกำลังกาย หรือแม้แต่การมีปัญหาสุขภาพทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์

Downloads

Published

2019-05-08

How to Cite

สินธุภัค ร., ฤทธา เ., ศรีสุขโข ไ., ยามะรัต เ., คชการ เ., ตั้งอุสาหะ จ., เทพพิทักษ์ศักดิ์ บ., & ดุสิตสิน น. (2019). การศึกษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน. Journal of Health Research, 17(2), 111–129. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/188015

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE