ไซโทโครม P–450

Authors

  • มณี ชะนะมา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ

Keywords:

ไซโทโครม P-450, โมโนออกซิจีเนส, การขจัดพิษ, เมแทบอลิซึม

Abstract

ไซโทโครม P-450 เป็นเอนไซม์กลุ่มใหญ่จำพวกโมโนออกซิจีเนสที่มีฮีม ซึ่งสามารถพบในสิ่งมีชีวิตตั้งแต่แบคทีเรียจนถึงแมลง พืช และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันสามารถเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ของสารเคมีต่างๆหลายชนิด ชื่อของเอนไซม์ได้มาจากความสามารถในการดูดกลืนแสงมากที่สุดที่ความยาวคลื่น 450 นาโนเมตร เมื่อเอนไซม์ในรูปถูกรีดิวซ์จับกับคาร์บอนมอนอกไซด์ กลไกการทำงานของเอนไซม์เกี่ยวข้องกับโซ่การถ่ายเทอิเล็กตรอน ซึ่งเริ่มต้นด้วย NADH หรือ NADPH แล้วตามด้วยโปรตีนรีดอกซ์ (redox protein) และไซโทโครม P-450 ตามลำดับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่าไซโทโครม P-450 ทำหน้าที่เหมือนเอนไซม์ออกซิเดสปลายทาง จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้มี P-450 เพียง 5 ชนิดเท่านั้นที่ทราบโครงสร้างสามมิติ ได้แก่ P-450cam, P-450BM-3, P-450terp, P-450eryF และ CYP119 โดยพบว่า P-450 ดังกล่าวมีโครงสร้างสามมิติที่คล้ายกัน ทำให้เชื่อได้ว่าโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ P-450 ทั้งหมดควรจะคล้ายกัน เอนไซม์ P-450 มีหน้าที่หลักอยู่ 2 ประการ ประการแรก เอนไซม์เกี่ยวข้องกับระบบการกำจัดสารพิษในสิ่งมีชีวิต มันช่วยกำจัดสารเคมีแปลกปลอมให้ออกไปจากร่างกาย ประการที่สอง เอนไซม์มีบทบาทที่สำคัญและจำเพาะในเมแทบอลิซึมของสารเคมีที่สร้างขึ้นเองภายในสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันมีแนวโน้มในการนำเอา P-450 มาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านการแพทย์ การเกษตร และสิ่งแวดล้อม

Downloads

Published

2019-05-08

How to Cite

ชะนะมา ม. (2019). ไซโทโครม P–450. Journal of Health Research, 17(1), 67–79. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/188001

Issue

Section

REVIEW ARTICLE