ทางเลือกใหม่สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเทคนิค FTIR

Authors

  • รัตนา สินธุภัค สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
  • สมชาย อิสระวาณิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • ศรีริน สินธุภัค ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
  • วีนัส อุดมประเสริฐกุล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • ไพลิน ศรีสุขโข สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เริงศักดิ์ บุญบรรดาลชัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • นิกร ดุสิตสิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย

Keywords:

มะเร็งปากมดลูก, การวินิจฉัย, อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี, การทดสอบแพป, การตรวจชิ้นเนื้อ

Abstract

ศึกษาเทคนิคใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกซึ่งอาจใช้แทนหรือประกอบกับการตรวจคัดกรองด้วยการทดสอบแพป (Pap smear) ตามปกติ คือวิธีฟูเรียร์ทรานสฟอร์ม อินฟราเรดสเปกโทรเมทรี (Fourier-Transform Infrared Spectrometry, FTIR) นําเซลล์ปากมดลูกมาฉายด้วยแสงอินฟราเรด บันทึกผลที่ได้ในรูปของสเปกตรัมการดูดกลืนแสงอินฟราเรดในช่วงจํานวนคลื่น (wave number) 850 ถึง 1,800 ซม-1 วินิจฉัยความผิดปกติโดยเปรียบเทียบ ตําแหน่งจํานวนคลื่นของพีกและอัตราส่วนของพีก (peak ratio) ของสเปกตรัมที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาการตรวจเซลล์ปากมดลูกด้วยวิธี FTIR เปรียบเทียบกับการทดสอบแพป โดยใช้การตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีมาตรฐาน จํานวน 310 ตัวอย่าง จากคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัดรักษามดลูกด้วยสาเหตุต่างๆ ณ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าวิธี FTIR มีความไว ความจําเพาะ ผลลบลวง และ ผลบวกลวง ร้อยละ 93.6, 80.5, 6.4 และ 19.5 ตามลําดับ ส่วนการทดสอบแพป มีความไว ความจําเพาะ ผลลบลวง และผลบวกลวง ร้อยละ 79.1, 97.0, 20.9 และ 3.0 ตามลําดับ

Downloads

Published

2019-05-08

How to Cite

สินธุภัค ร., อิสระวาณิชย์ ส., สินธุภัค ศ., อุดมประเสริฐกุล ว., ศรีสุขโข ไ., บุญบรรดาลชัย เ., & ดุสิตสิน น. (2019). ทางเลือกใหม่สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเทคนิค FTIR. Journal of Health Research, 17(1), 1–10. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/187924

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE