ผลของการให้ความรู้และคำปรึกษาโดยเภสัชกรคลินิกแก่ผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน
Keywords:
การให้ความรู้, การให้คําปรึกษา, เภสัชกรคลินิก, เบาหวาน, ผู้ป่วยนอก, ความรู้, เจตคติ, ผล, คุณภาพชีวิตAbstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลองชนิด two-way mixed design นี้เพื่อประเมินผล ของการให้ความรู้และคําปรึกษาโดยเภสัชกรคลินิกแก่ผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานในด้าน 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคและการรักษา 2) เจตคติต่อโรค 3) คุณภาพชีวิต 4) ความพึงพอใจ 5) ผลการรักษา 6) การใช้บริการสุขภาพ และ 7) ต้นทุนที่ใช้ในการดําเนินงาน ดําเนินการศึกษาที่คลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างเดือน สิงหาคม 2546 ถึง กุมภาพันธ์ 2547 ผู้เข้าร่วมวิจัย 145 ราย ถูกสุ่มและจับคู่ตามระดับน้ำตาลและคะแนนความรู้โดยกลุ่มศึกษาได้รับความรู้และคําปรึกษาเป็นรายบุคคลจํานวน 71 ราย และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับบริการดังกล่าวจํานวน 74 ราย การประเมินผลใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์จํานวน 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 (ก่อนการให้ความรู้) ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 โดยครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ห่างกัน 3 เดือน ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีข้อมูลลักษณะทางประชากร ภาวะโรคและการดูแลตนเอง และผลทางคลินิกเกี่ยวกับการควบคุมโรคไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p > 0.05) ผลการวิจัยพบว่าการให้ความรู้และคําปรึกษามีผลต่อความรู้เจตคติคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิต ความพึงพอใจ ระดับน้ำตาลในเลือด และการใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยเฉพาะการใช้บริการสุขภาพด้านการเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยใน และการมารับบริการจากแผนกฉุกเฉินของกลุ่มศึกษาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนต้นทุนที่ใช้ในการดําเนินงานให้ความรู้และคําปรึกษาแก่ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาในการวิจัยนี้คิดเป็นจํานวนเงินตั้งแต่ 20.67-63.27 บาท ต่อคนต่อครั้ง การให้ความรู้และคําปรึกษา โดยเภสัชกรคลินิกทําให้ผู้ป่วยมีความรู้เจตคติความพึงพอใจ การควบคุมระดับน้ำตาล การใช้บริการ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตดีขึ้น