การผลิตสารทุติยภูมิโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ

Authors

  • ศุภวรรณ บุญระเทพ ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย

Keywords:

สารทุติยภูมิ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, เทคโนโลยีชีวภาพ

Abstract

โดยทั่วไปแล้วสารทุติยภูมิซึ่งเป็นสารที่แสดงฤทธิ์ทางชีวภาพ สามารถถูกสร้างขึ้นโดยพืชได้เองตามธรรมชาติโดยต้องอาศัยเวลานานนับเป็นปี ดังนั้นจึงมีการเลือกใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชร่วมกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพื่อเป็นแหล่งใหม่ในการผลิตสารทุติยภูมิ วิธีการเหล่านี้มีข้อดีเหนือกว่าวิธีทางธรรมชาติที่สามารถผลิตสารทุติยภูมิที่ต้องการได้ในระยะเวลาสั้น และบางวิธียังสามารถเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่าตามธรรมชาติอีกด้วย ตัวอย่างของวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่ถูกนํามาใช้ร่วมกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชต่างๆ ได้แก่ การตรึงเซลล์ การพัฒนาให้เป็นอวัยวะที่เหมาะแก่การสร้างหรือสะสมสารทุติยภูมิ การเติมสารตั้งต้นของกระบวนการชีวสังเคราะห์และการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ การเติมสารซึ่งสามารถเหนี่ยวนําให้เกิดการสร้างสารทุติยภูมิเพิ่มขึ้น การรบกวนสภาพการเลือกผ่านของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มแวคิวโอเพื่อให้มีการปลดปล่อยสารทุติยภูมิออกมา รวมทั้งสร้างแหล่งสะสมเทียมในอาหารเพาะเลี้ยงเพื่อให้เป็นที่สะสมสารทุติยภูมิที่อาจเป็นพิษต่อเซลล์ในทํานองเดียวกัน เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมอาจนํามาใช้ร่วมกับเทคนิคเหล่านี้ เพื่อผลิตสารทุติยภูมิที่ต้องการในปริมาณมากขึ้นได้

Downloads

Published

2019-04-13

How to Cite

บุญระเทพ ศ. (2019). การผลิตสารทุติยภูมิโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. Journal of Health Research, 20(2), 185–195. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/185578

Issue

Section

REVIEW ARTICLE