ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ของตำรับยาไทย: ยาริดสีดวงมหากาฬ
Keywords:
ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์, ฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์, การทดสอบเอมส์, ตํารับยาไทย, ยาริดสีดวงมหากาฬAbstract
ศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ของยาริดสีดวงมหากาฬโดยคัดเลือกสมุนไพรและปรุงยาตามอัตราส่วนที่กําหนดในตํารับยาสกัดยาสมุนไพรที่เตรียมด้วยเอทิลแอลกอฮอล์และน้ำตามลําดับ นําสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ สารสกัดด้วยน้ำ และสารสกัดทั้งหมด (ส่วนผสมของสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และด้วยน้ำ) ทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ด้วยวิธี เอมส์ โดยใช้ Salmonella typhimurium สายพันธุ์ TA 98 และ TA 100 ภายใต้สภาวะที่เป็นกรด (pH 3.0-3.5) และไม่มีระบบเอนไซม์กระตุ้นสารพิษ พบว่าสารสกัดทั้งสามไม่แสดงฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์โดยตรง แต่เมื่อนําสารสกัดดังกล่าวไปทําปฏิกิริยากับไนไตรทในสภาวะแบบเดียวกัน พบว่ามีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์ สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์สูงกว่าสารสกัดทั้งหมดและสารสกัดด้วยน้ำตามลําดับ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์พบว่าสารสกัดทั้งสามสามารถยับยั้งฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารก่อกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้น จากปฏิกิริยาระหว่าง อมิโนพัยรีนกับไนไตรทต่อเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์ โดยความสามารถในการยับยั้งจะเพิ่มขึ้น ตามความเข้มข้น (ยกเว้นสารสกัดด้วยน้ำที่ปริมาณสาร 1.25 มิลลิกรัมต่อจานเลี้ยงเชื้อ) สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์มากกว่าสารสกัดทั้งหมดและสาร สกัดด้วยน้ำตามลําดับ