การศึกษาโรคปอดอักเสบที่เกิดในโรงพยาบาล ณ หอผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลสันป่าตอง

Authors

  • อรพรรณ ศิริประกายศิลป์ กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

Keywords:

hospital acquired pneumonia, ventilator-associated-pneumonia, intensive care unit, antimicrobial, culture and susceptibility

Abstract

ศึกษาโรคปอดอักเสบที่เกิดในหอผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลสันป่าตอง โดยวิธีการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550-31 ธันวาคม 2550 มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปอดอักเสบที่เกิดในโรงพยาบาลทั้งหมด 17 ราย เป็นเพศชาย 10 ราย (ร้อยละ 58.8) อายุเฉลี่ย 70.2 ± 13.9 ปี ช่วงอายุ 42-85 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมด้วย ในการศึกษาพบโรคปอดอักเสบที่เกิดในโรงพยาบาลรวม 24 ครั้ง โดยเกิด late-onset VAP ร่วมด้วยบ่อยที่สุดจำนวน 10 ครั้ง อัตราของการเกิดโรคปอดอักเสบที่เกิดในโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับเครื่องช่วยหายใจ (HAP) ประมาณ 4.44 ครั้ง: 1,000 patient - days in ICU และอัตราของการเกิดในผู้ป่วยที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจ (VAP) ประมาณ 14.11 ครั้ง: 1,000 ventilator - days ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย HAP อย่างเดียว มีระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาล และในหอผู้ป่วยวิกฤติ 16.0 ± 3.0 และ 12.3 ± 2.2 วันตามลำดับ ในขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มที่เกิดทั้ง early และ late-onset VAP มีระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาล ในหอผู้ป่วยวิกฤติ และระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจ 47.0 ± 29.5, 41.7 ± 20.3 และ 31.0 ± 17.7 วันตามลำดับ หลังสิ้นสุดการรักษาผู้ป่วยหายจากโรคร้อยละ 47.1 ย้ายไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นร้อยละ 23.5 เสียชีวิตร้อยละ 29.4 มีการเก็บเสมหะย้อมสีแกรมรวม 24 ครั้ง ผลการย้อมสีแกรมพบเชื้อแกรมบวกทรงกลมร่วมกับเชื้อแกรมบวกทรงกลมคู่สูงสุด (7 ครั้ง) ผลเพาะเชื้อจากเสมหะ (24 ครั้ง) พบเชื้อแกรมลบรูปแท่ง 17 ครั้งโดยพบ P. aeruginosa บ่อยที่สุด 10 ครั้ง เชื้อ P.aeruginosa มีความไวต่อ Ceftazidime เท่ากับ Gentamicin (ร้อยละ 50) มีความไวต่อ Ciprofloxacin, Amikacin และ Imipenem - cilastatin ร้อยละ 60, 70, และ 80 ตามลำดับ พบเชื้อ K. pneumoniae เท่ากับเชื้อ gram negative bacilli (3 ครั้ง) โดยเชื้อ K.pneumoniae มีความไวต่อ Amikacin, Ciprofloxacin และ Imipenem-cilastatin เท่ากับร้อยละ 66.7 ส่วนเชื้อกลุ่ม gram negative bacilli มีความไวต่อยาต้านจุลชีพทุกชนิดที่ทดสอบร้อยละ 50 พบเชื้อแกรมบวก 2 ครั้งคือ Staphylococcus spp. Coagulase negative มีความไวต่อยา Ceftriaxone, Amoxycillin-Clavulanic acid และ Vancomycin เท่ากับร้อยละ 100

Downloads

Published

2018-11-16

How to Cite

ศิริประกายศิลป์ อ. (2018). การศึกษาโรคปอดอักเสบที่เกิดในโรงพยาบาล ณ หอผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลสันป่าตอง. Journal of Health Research, 22(1), 43–48. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/185468

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE