เซลล์ค้ำจุนประสาทและโรคพาร์คินสัน

Authors

  • วนิดา ไตรพาณิชย์กุล ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประเทศไทย
  • เอมอร เจริญสรรพพืช ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประเทศไทย

Keywords:

เซลล์ค้ำจุนประสาท, โรคพาร์คินสัน

Abstract

โรคพาร์คินสันเป็นโรคเสื่อมของสมอง พยาธิสภาพที่เด่นชัดคือมีการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทโดปามีน (dopamine) ในสมองส่วน substantia nigra pars compacta ไปเป็นจํานวนมาก ทําให้จํานวนปลายประสาทโดปามีนและระดับของสารสื่อประสาทโดปามีนในสมองส่วน caudate และ putamen nucleus ลดลง เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวตามมา เซลล์ค้ำจุนประสาท (glial cells) อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ pathophysiology ของโรค เนื่องจากเซลล์ค้ำจุนประสาทสามารถก่อให้เกิดภาวะ neurotoxic, neuroprotective และ neurotrophic ได้โดยการสร้างและหลั่งโมเลกุลหลายชนิด เช่น reactive oxygen species, reactive nitrogen species, pro-inflammatory prostaglandins, pro-inflammatory cytokines, antioxidant enzymes และ neurotrophic molecules ความเข้าใจถึงบทบาทของเซลล์ค้ำจุนประสาทต่อ pathophysiology ของโรคพาร์คินสันจึงอาจนํามาประยุกต์ใช้ในการหาวิธีการรักษาโรคพาร์คินสันแบบใหม่ที่ดีกว่าวิธีที่ใช้ในปัจจุบันซึ่งเป็นเพียงการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ และมิได้ชะลอหรือ ยับยั้งการดําเนินของโรค

Downloads

Published

2019-04-13

How to Cite

ไตรพาณิชย์กุล ว., & เจริญสรรพพืช เ. (2019). เซลล์ค้ำจุนประสาทและโรคพาร์คินสัน. Journal of Health Research, 19(2), 183–195. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/185411

Issue

Section

REVIEW ARTICLE