สถิติการใช้สารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณแม่น้ำประแสร์ จังหวัดระยอง

Authors

  • เสาวนีย์ เสมาทอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • กัลยา ซาพวง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • มาลินิ กิตกําธร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • สมชาย อิสระวานิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • ยงยุทธ สุขเกษม สํานักงานเกษตรอําเภอแกลง ระยอง ประเทศไทย

Keywords:

สารกำจัดศัตรูพืช, สถิติการใช้, แม่น้ำประแสร์

Abstract

จากสภาพปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นบริเวณอ่าวไทยพบว่า ปัญญหาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหามลพิษจากแม่น้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำประแสร์ จัดเป็นแม่น้ำสายสําคัญของลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกซึ่งไหลลงอ่าวไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชนิดสารเคมีทางการเกษตรที่ควรเฝ้าระวังบริเวณแม่น้ำประแสร์ ดําเนินการโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ทําการเกษตรบริเวณริมน้ำและคลองสาขาของแม่น้ำประแสร์ จํานวน 141 ราย ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84) ใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช โดยสารกําจัดวัชพืชที่นิยมใช้ ได้แก่ ไกลโฟเซต พาราควอทไดคลอไรด์ และอามิทริน ส่วนสารกําจัดแมลงที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้แก่ ไซเปอร์เมทริน เมทโธมิล คาร์บาริล และคลอไพริฟอส โดยพบว่าเกษตรกรยังคงใช้สารเคมีที่ปัจจุบันได้ห้ามใช้แล้ว คือ เมธามิโดฟอส พาราไธออน และเอนโดซัลแฟน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้สารฆ่าแมลงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนเพื่อป้องกันและกําจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเนื่องจากเป็นช่วงที่ทุเรียนมีการพัฒนาของผลอ่อน เมื่อศึกษาปริมาณการใช้ตลอดปีพบว่าสารคาร์บาริลมีปริมาณการใช้มากที่สุด

Downloads

Published

2019-04-13

How to Cite

เสมาทอง เ., ซาพวง ก., กิตกําธร ม., อิสระวานิชย์ ส., & สุขเกษม ย. (2019). สถิติการใช้สารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณแม่น้ำประแสร์ จังหวัดระยอง. Journal of Health Research, 19(2), 133–144. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/185374

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE