การสร้างและทดสอบเครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่

Authors

  • ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ โครงการจัดตั้งภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เรวดี ธรรมอุปกรณ์ โครงการจัดตั้งภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • ฐิติพร นาคทวน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย

Keywords:

ความตรง, ความเที่ยง, เครื่องมือวัด, การสูบบุหรี่, การเลิกสูบบุหรี่, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ

Abstract

การวิจัยเชิงวิธีการเพื่อสร้างและทดสอบคุณสมบัติความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือประเมิน คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ (1) การสร้างเครื่องมือ (2) การทบทวนข้อคําถามโดยผู้เชี่ยวชาญ และ (3) การทดสอบเครื่องมือ เครื่องมือฉบับร่างสร้างขึ้นจากการ ทบทวนวรรณกรรม ข้อคําถามจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิตทั่วไป SF-36 และการสัมภาษณ์แบบกึ่งมาตรฐานในผู้ที่สูบบุหรี่ 16 คน ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ 8 คน และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง 5 คน ข้อคําถาม เริ่มต้นมีทั้งหมด 71 ข้อเกี่ยวข้องกับผลกระทบของการเลิกสูบบุหรี่ต่อการประกอบกิจกรรม ประจําวันและความเป็นอยู่โดยทั่วไปในผู้ใหญ่ ข้อคําถามมีลักษณะตัวเลือกเป็นแบบลิเคอร์ทสเกลจํานวน 5 ระดับ หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงทางเนื้อหาแล้วได้นําเครื่องมือไปทดสอบขั้นต้นในกลุ่ม ตัวอย่าง 20 คน และนําไปทดสอบจริงในกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่จํานวน 431 คน การ ตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมกับการวิเคราะห์ข้อคําถามในการตรวจสอบความตรงทางโครงสร้างและความเที่ยงของเครื่องมือ การคัดเลือกข้อคําถามใช้ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมกับการวิเคราะห์ข้อคําถาม หลังจากนั้นใช้การเทียบกับกลุ่มที่รู้เพื่อสนับสนุนผลการตรวจสอบความตรงทางโครงสร้างของเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือมีความตรงทางเนื้อหา ความตรง ทางโครงสร้าง และความเที่ยงอยู่ในระดับดีเครื่องมือได้รับการปรับปรุงแก้ไขเหลือ 36 ข้อ และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าโดยรวมเป็น 0.93 ผลจากการสกัดองค์ประกอบโดยวิธีแกนหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมแหลม (โปรแมกซ์) พบว่าโครงสร้างของคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจําแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านความเป็นอยู่โดยทั่วไป 18 ข้อ (2) ด้านความพึงพอใจ 8 ข้อ (3) ด้านการควบคุมตนเอง 4 ข้อ และ (4) ด้านปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ 6 ข้อ จากการใช้สถิติแมนวิทนีย์-ยู พบว่ากลุ่มที่เลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปรายงานคะแนนคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านสูงกว่าในกลุ่มที่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นน้อยกว่า 0.02 แสดงว่าเครื่องมือที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขนั้นมีความตรงทางโครงสร้าง ผลการวิจัยยืนยันความตรงและความเที่ยงในเบื้องต้นของเครื่องมือ

Downloads

Published

2019-04-13

How to Cite

วงศ์วิวัฒนนุกิจ ศ., ธรรมอุปกรณ์ เ., & นาคทวน ฐ. (2019). การสร้างและทดสอบเครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่. Journal of Health Research, 19(1), 49–73. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/185306

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE