การสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของพาราสิตภายนอกที่อาศัยอยู่บนตัวหนู และโรคที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดนไทยพม่า ลาว และกัมพูชา
Keywords:
แหล่งรังโรค, หนู, พาราสิตภายนอกAbstract
ดำเนินการในจังหวัดตามแนวชายแดนไทย-พม่า ลาว และกัมพูชา จำนวน 5 จังหวัด ดังนี้ อำเภอแม่สอด และ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยวางกับดักเป็นไว้รอบๆ พื้นที่ ที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน กรกฎาคม 2548 หนูที่ดักได้ดมสลบ บันทึกชนิดหนู เก็บหมัด เห็บ ไรและไรอ่อน เจาะเลือดหนูเก็บซีรัมและลิ่มเลือด อวัยวะภายใน ได้แก่ ตับ ปอด ลำไส้ และกระเพาะอาหาร ตัดชิ้นส่วนดองไว้ในเอทิลแอลกอฮอล์ 70% ตรวจวินิจฉัยชนิดของหมัด เห็บและไร ด้วยกล้องจุลทัศน์ ตรวจหาแอนติบอดีย์ต่อการติดเชื้อ Orientia tsutsugamushi, Rickettsia typhi ด้วยวิธี immunofluorescent antibody test (IFA) และ Hantavirus ตรวจด้วยวิธี ELISA และ IFA. ผลการศึกษาพบจำนวนหนูที่ดักได้ทั้งหมดจากพื้นที่ 5 จังหวัด 358 ตัว สามารถเก็บซีรัมหนูได้ 321 ตัว อัตราการติดกับดักในแต่ละจังหวัดดังนี้ 8.5, 40.0, 7.0, 15.3, 16.3 และ 33.5 ที่อำเภอพบพระและอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดหนองคาย จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดจันทบุรี ตามลำดับ พบหนูทั้งหมด 11 ชนิด ความหนาแน่นของหนูแต่ละชนิดคิดเป็นร้อยละได้ดังนี้ หนูพุกใหญ่ 7.3 หนูพุกเล็ก 20.1 ท้องหนูขาว 15.4 หนูนาเล็ก 3.9 หนูเทา 6.7 หนูฟานสีเหลือง 13.4 หนูหวาย 2.5 หนูจี๊ด 20.7 หนูนาหางสั้น 2.8 หนูนาหางยาว 6.7 และหนูผี 0.6 ความหนาแน่นของหมัด เห็บ และไรที่อาศัยบนตัวหนูต่อหนู 1 ตัวใน 5 จังหวัด พบว่าความหนาแน่นของหมัด 0.54 ความหนาแน่นของเห็บ 0.25 ความหนาแน่นของไร 4.37 และความหนาแน่นของไรอ่อน 29.16 ผลการทดสอบระดับภูมิคุ้มกันในซีรัมหนูต่อเชื้อ Orientia tsutsugamushi, Rickettsia typhi และ Hantavirus คิดเป็นร้อยละ 35, 9.8 และ 10.9 ตามลำดับ ส่วนการติดเชื้อพยาธิลำไส้พบร้อยละ 9.9 จาก Hymenolepis diminuta, Hookworm and Trichuris trichiura และในการศึกษาครั้งนี้ไม่พบพยาธิจากการย้อมสีของเลือดและปอด อย่างไรก็ตามพอสรุปได้ว่า หนูท้องขาวมีโอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อ scrub typhus, murine typhus, Hantavirus และพยาธิลำไส้