อุบัติการณ์กลุ่มอาการเมแทบอลิคในพนักงานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Authors

  • จิตบรรจง ตั้งปอง สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • อุทัย ไตรอภิรักษ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วรางคณา จุ้งลก สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ดารารัตน์ ปันวงศ์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ธัญลักษณ์ พลายด้วง ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Keywords:

กลุ่มอาการเมแทบอลิค, NCEP-ATP III, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด

Abstract

ประเมินอุบัติการณ์ของกลุ่มอาการเมแทบอลิคในพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 304 คน เพศหญิง 189 คน และเพศชาย 115 คน อายุระหว่าง 25-65 ปี โดยใช้เกณฑ์ The National Cholesterol Educational Program Adult Treatment Panel III (NCEP-ATP III) ในการวินิจฉัยกลุ่มอาการเมแทบอลิคโดยจะต้องมีความผิดปกติอย่างน้อย 3 ข้อใน 5 ข้อ ประกอบด้วย โรคอ้วนลงพุง (ผู้ชายเส้นรอบเอว ≥ 90 ซม. และผู้หญิงมากกว่าหรือเท่ากับ ≥ 80 ซม) ความดันโลหิต ≥ 130/85 มม.ปรอท ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ≥150 มก./ดล. ระดับ เอช ดี แอล-โคเลสเตอรอล < 40 มก./ดล. ในผู้ชาย หรือ < 50 มก./ดล.ในผู้หญิงและระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร ≥110 มก./ดล. ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ของกลุ่มอาการเมแทบอลิคในพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร้อยละ 13.2 แบ่งเป็นพบในผู้ชายร้อยละ 9.9 และผู้หญิงร้อยละ 3.3 เมื่อแบ่งตามช่วงอายุ 25-35, 36-45, 46-55 และ 56-65 ปี พบว่ามีอุบัติการณ์ของกลุ่มอาการเมแทบอลิคเพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 7.5, 14.7, 24.2 และ 31.2 ตามลำดับ กลุ่มสูงอายุมีอุบัติการณ์ต่อการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิคสูงสุด โดยสูงเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2, p<0.05) พนักงานที่เป็นโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำ และน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงคิดเป็นร้อยละ 41.4, 17.4, 19.7, 45.4, และ 7.9 ตามลำดับ การพบกลุ่มอาการเมแทบอลิคในช่วงอายุน้อยเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ การศึกษาหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ว่าจะเป็นผลมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หรือการขาดการออกกำลังกาย เพื่อหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด

Downloads

Published

2018-11-16

How to Cite

ตั้งปอง จ., ไตรอภิรักษ์ อ., จุ้งลก ว., ปันวงศ์ ด., & พลายด้วง ธ. (2018). อุบัติการณ์กลุ่มอาการเมแทบอลิคในพนักงานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. Journal of Health Research, 22(4), 173–179. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/155693

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE