ระบบนำส่งวัคซีน

Authors

  • อังคณา ตันติธุวานนท์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

Keywords:

ระบบนำส่งวัคซีน, สารเสริมฤทธิ์

Abstract

ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้วัคซีน ผลิตภัณฑ์วัคซีนที่มีจำหน่ายในปัจจุบันเป็นวัคซีนรูปแบบดั้งเดิม ได้แก่ วัคซีนเชื้อตาย วัคซีนเชื้ออ่อนฤทธิ์ วัคซีนทอกซอยด์ และวัคซีนหน่วยย่อย วัคซีนเหล่านี้สามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีความเสี่ยงจากการกลับกลายพันธุ์มาเป็นเชื้อก่อโรค วัคซีนรูปแบบใหม่ๆ เช่น วัคซีนเชื่อมผนึกและวัคซีนดีเอ็นเอ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดการแพ้ อาการข้างเคียง และความเสี่ยงในการเกิดโรคจากวัคซีนแบบดั้งเดิม แต่วัคซีนเหล่านี้มีความสามารถในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ต่ำ ระบบนำส่งวัคซีนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยป้องกันการสลายตัวของแอนติเจนจากสภาวะแวดล้อมในร่างกาย เพิ่มการนำส่งแอนติเจนเข้าสู่เซลล์เป้าหมายของระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมการปลดปล่อยแอนติเจนอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนแอนติเจนที่ใช้และจำนวนครั้งของการกระตุ้นซ้ำลดลง การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันดีขึ้น และระยะเวลาของการคุ้มกันนานขึ้น บทความนี้กล่าวถึงบทบาทและกลไกของระบบนำส่งวัคซีนชนิดอนุภาคในการนำส่งวัคซีน ตัวอย่างของระบบนำส่งวัคซีนชนิดอนุภาคที่มีการศึกษาและนำมาใช้ในปัจจุบัน โดยจะเน้นที่ระบบนำส่งชนิด อิมัลชัน ไลโปโซม ไวโรโซม อาร์คีโอโซม อนุภาคไมโคร อนุภาคนาโน และไมเซลล์

Downloads

Published

2018-11-16

How to Cite

ตันติธุวานนท์ อ. (2018). ระบบนำส่งวัคซีน. Journal of Health Research, 22(3), 151–159. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/155666

Issue

Section

MISCELLANEOUS