ความชุกของฮีโมโกลบินอีในคนไทยเชื้อสายมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม: การวินิจฉัยระดับดีเอ็นเอ

Authors

  • จิตบรรจง ตั้งปอง สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • สิทธิชัย ปัญญาใส แขนงวิชาโลหิตวิทยาและจุลทรรศนศาสตร์คลินิก สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา
  • อรวรรณ สาระกุล สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ธารรัตน์ ศักดิ์ศรี นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พัชรา รัตนาพร นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • เมธาพร ศิริรูป นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Keywords:

ฮีโมโกลบินอี, ไทยมลายู-มุสลิม, ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี, อัลลีลสเปซิฟิกพีซีอาร์

Abstract

ศึกษาความชุกของฮีโมโกลบินอีในคนไทยเชื้อสายมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม จากตัวอย่างจำนวน 200 ราย อายุเฉลี่ย 20.15 + 2.35 ปี เป็นเพศชาย 75 ราย เพศหญิง 125 ราย โดยเก็บเลือดจากตัวอย่างทุกรายนำมาตรวจวิเคราะห์ข้อมูลทางโลหิตวิทยาและค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง ด้วยเครื่องวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ NIHON KOHDEN MEK–8222K (Tokyo, Japan) ตรวจหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบินด้วยเครื่องวิเคราะห์ฮีโมโกลบินอัตโนมัติ VARIANT II (Philadelphia, PA, USA) ตรวจวิเคราะห์ยีนฮีโมโกลบินด้วยเทคนิค Allele Specific PCR (ASPCR) จากการศึกษาพบว่า ค่าพารามิเตอร์ของเม็ดเลือดแดงเฉลี่ย RBC 4.49±0.49 cell/mm3, Hb 12.6±1.3 g/dL, Hct 39.1±4.0 %, MCV 87.4±6.7 fL, MCH 28.1±2.6 pg, MCHC 32.2±0.8 g/dL และ RDW-CV 11.3±0.9 % มีชนิดฮีโมโกลบินเป็น A2A จำนวน 187 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.5 และ EA จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.5 มีค่าทางโลหิตวิทยาและดัชนีเม็ดเลือดแดงเฉลี่ยดังนี้ RBC 4.8±0.5 cell/mm3, Hb 12.0±1.1 g/dL, Hct 38.2±3.6 %, MCV 79.1±3.32 fL, MCH 4.8±1.4 pg, MCHC 31.4±0.8 g/dL, RDW-CV 11.4±0.7 %, HbF 1.1±0.2 % และ ปริมาณ Hb A2/E 31.6±1.9 % เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีเม็ดเลือดแดงทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าค่า MCV และ MCH ในกลุ่มฮีโมโกลบินอี มีค่าต่ำกว่าในกลุ่มที่มีชนิดฮีโมโกลบินเป็น A2A อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) การตรวจวิเคราะห์ยีนฮีโมโกลบินอี โดยเทคนิค Allele Specific PCR (ASPCR) เป็นผลบวกทั้ง 13 ราย จากการศึกษาในครั้งนี้พบความชุกของฮีโมโกลบินอีในกลุ่มคนไทยเชื้อสายมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6.5 การค้นพบอุบัติการณ์ของฮีโม-โกลบินอีซึ่งเป็นความผิดปกติที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ในการวางแผนให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อหาแนวทางการป้องกันการถ่ายทอดของโรคสู่รุ่นลูกหลาน และยังใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังการเกิดโรคเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอีในประชากรกลุ่มนี้ได้อีกด้วย

Downloads

Published

2018-11-16

How to Cite

ตั้งปอง จ., ปัญญาใส ส., สาระกุล อ., ศักดิ์ศรี ธ., รัตนาพร พ., & ศิริรูป เ. (2018). ความชุกของฮีโมโกลบินอีในคนไทยเชื้อสายมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม: การวินิจฉัยระดับดีเอ็นเอ. Journal of Health Research, 22(3), 125–130. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/155628

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE