การพัฒนาคุณภาพงานบริการเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ของโรงพยาบาลเสนา

Authors

  • มนตรี ภูริปัญญวานิช โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Keywords:

การพัฒนาการดูแลมารดาและทารก, ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด, อุบัติการณ์, ปัจจัยเสี่ยง

Abstract

การศึกษาย้อนหลังเพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลเสนา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ถึง 30 กันยายน 2550 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่คลอดทารกคะแนนแอปการ์ที่ 1 นาทีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 จำนวน 628 ราย จากจำนวนผู้คลอด 13,918 ราย หรือร้อยละ 4.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า การเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในปี 2542 เท่ากับร้อยละ 13.5 ทางโรงพยาบาลเสนาได้จัดตั้งทีมดูแลมารดาและทารกขึ้นในปี 2542 เพื่อปรับคุณภาพการบริการ เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดโดย การพัฒนางานบริการฝากครรภ์ การดูแลในระยะคลอด และพัฒนาทีมช่วยชีวิตทารกแรกเกิดเพื่อลดอัตราตายของทารกลง ซึ่งในปีต่อมามีอัตราการเกิดลดลงเหลือร้อยละ 6.6 และ 3.4 ในปี 2543 และ ปี 2544 และในปัจจุบัน ปี 2550 พบว่ามีอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดลดลงเหลือร้อยละ 2.8 โดยทารกส่วนใหญ่เกิดภาวะขาดออกซิเจนเล็กน้อยหรือปานกลางจำนวน 591 คน (ร้อยละ 94.1)

Downloads

Published

2018-11-16

How to Cite

ภูริปัญญวานิช ม. (2018). การพัฒนาคุณภาพงานบริการเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ของโรงพยาบาลเสนา. Journal of Health Research, 22(2), 75–81. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/155600

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE