การใช้สารเสพติดของกลุ่มวัยรุ่นในระบบคุมประพฤติและบำบัดรักษา

Authors

  • วิภา ด่านธำรงกูล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330

Keywords:

วัยรุ่น, ผู้ใช้สารเสพติด, ผู้ถูกคุมประพฤติ, ผู้บำบัดรักษา

Abstract

ศึกษาสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นที่ถูกคุมประพฤติในคดีสารเสพติดรวมทั้งผู้เข้าบำบัดรักษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2549 กลุ่มศึกษา 208 ราย เป็นชายร้อยละ 69 เคยมีคู่ร้อยละ 17 ระดับการศึกษาค่อนข้างต่ำ สองในสามมีงานทำส่วนใหญ่อาชีพรับจ้าง มีรายได้จากงานทุจริตประมาณหนึ่งในสี่ พ่อหรือแม่หรือทั้งสองคนเสียชีวิต เลิกกัน หย่าร้าง ร้อยละ 55 และสามในสี่มีคู่ครองใหม่ กลุ่มศึกษาหนึ่งในสี่พักอาศัยในบ้านเช่าหรือหอพัก มีประวัติเคยถูกจับมาก่อนร้อยละ 46 และถูกจับสองครั้งขึ้นไปสูงมากร้อยละ 77 ส่วนใหญ่เป็นคดีเสพยาบ้า มีผู้เคยเข้าบำบัดรักษาสารเสพติดเพียงร้อยละ 18 สองในสามเคยใช้สารเสพติด 2 ชนิดขึ้นไป แต่ในช่วง 30 วันก่อนเข้าสู่ระบบคุมประพฤติและบำบัดรักษา เกือบทั้งหมดใช้สารเสพติดเพียง 1 ชนิด อายุเฉลี่ยที่ใช้สารเสพติดแต่ละชนิดครั้งแรกอยู่ระหว่าง 15-19 ปี เคยใช้ยาบ้า ร้อยละ 95 กัญชาร้อยละ 54 ยาอี เฮโรอีน ไอซ์ กระท่อม และ สารระเหย ร้อยละ 11.5-19.6 แนวโน้มการใช้สารเสพติดสมัยใหม่ในกลุ่มหญิงสูงกว่าชายประมาณ 2-5 เท่า วัยรุ่นกลุ่มนี้มีประสบการณ์จัดหา ส่ง หรือจำหน่ายสารเสพติดร้อยละ 37 และพบในกลุ่มหญิงมากกว่าชาย พฤติกรรมนี้มีความสัมพันธ์กับจำนวนชนิดสารเสพติดที่เคยใช้ ประวัติการถูกจับกุม และการมีบุคคลในครอบครัวเกี่ยวข้องกับสารเสพติด (p<0.01) กลุ่มที่มีโอกาสสูงที่จะกลับไปใช้สารเสพติดอีกในอนาคตได้แก่ เคยใช้สารเสพติดหลายชนิด เคยถูกจับกุม และมีพฤติกรรมการจำหน่ายสารเสพติด (p<0.01)

Downloads

Published

2018-11-08

How to Cite

ด่านธำรงกูล ว. (2018). การใช้สารเสพติดของกลุ่มวัยรุ่นในระบบคุมประพฤติและบำบัดรักษา. Journal of Health Research, 21(2), 155–162. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/154111

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE