พฤติกรรมของบุคคลแวดล้อมกับการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดของเด็กวัยรุ่น: กรณีเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ

Authors

  • จิตรลดา อารีย์สันติชัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • อุษณีย์ พึ่งปาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330

Keywords:

ครอบครัว, เพื่อน, วัยรุ่น, สารเสพติด, สถานพินิจ, พฤติกรรม

Abstract

ยศึกษาแบบเจาะจงในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถูกตัดสินคดีแล้วในศูนย์อบรมเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เมื่อ ปีพ.ศ.2548 เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และแบบสอบถามตอบเอง จำแนกตามคดีที่ถูกจับ 3 ลักษณะ คือ คดีเสพ คดีจำหน่ายและคดีอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด เยาวชนชาย ร้อยละ 11.2 ถูกจับข้อหาครอบครองยาเสพติด หรือเสพ และร้อยละ 8.3 ถูกจับข้อหาจำหน่ายและส่วนใหญ่ร้อยละ 80.5 เป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับสารเสพติด ซึ่งตรงกันข้ามกับหญิงที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.5 ถูกจับคดีจำหน่าย รองลงมาเป็นคดีอื่นๆ (ร้อยละ 38.0) ที่เหลือเป็นคดีเสพ เยาวชนทั้งหมดประมาณร้อยละ 80 อายุระหว่าง 15-19 ปี ร้อยละ 90-95 อยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง และประมาณร้อยละ 60 ถูกจับในปีพ.ศ. 2547 จำนวนปีที่ตัดสินคดีเฉลี่ย 23 เดือนหรือราว 2 ปี เยาวชนทุกคดีใช้สารเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาบ้า เยาวชนที่พ่อแม่และคนในครอบครัวเคยต้องโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติด จะมีความสัมพันธ์กับผู้ที่ถูกจับคดีจำหน่ายและคดีอื่นๆ (Pearson Chi-square p<0.01) พ่อหรือแม่เล่นการพนันมีความสัมพันธ์กับคดี โดยเฉพาะคดีเสพ และการที่มีน้องหรือญาติเสพเฮโรอีนก็มีความสัมพันธ์กับผู้ที่ถูกจับคดีเสพ การศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของเพื่อนสนิทกับคดีที่ถูกจับพบว่า เยาวชนที่มีเพื่อนที่ใช้ยาบ้า กัญชา สารระเหย และยาอี จะเป็นผู้ที่ถูกจับด้วยคดีเสพ ขณะที่ผู้ถูกจับคดีจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับเพื่อนที่ใช้ยาบ้า ยาอี และเคตามีน พฤติกรรมที่เยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดมีความสัมพันธ์อย่างสูงกับพฤติกรรมของคนในครอบครัว และการใช้สารเสพติดของเพื่อน

Downloads

Published

2018-11-08

How to Cite

อารีย์สันติชัย จ., & พึ่งปาน อ. (2018). พฤติกรรมของบุคคลแวดล้อมกับการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดของเด็กวัยรุ่น: กรณีเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ. Journal of Health Research, 21(2), 147–154. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/154108

Issue

Section

ORIGINAL RESEARCH ARTICLE