ผลของออกซิเจนละลายในน้ำต่ำระยะสั้น (DO 0 ppm, 3 ชั่วโมง) และออกซิเจนละลายในน้ำต่ำระยะยาว (DO 3-4 ppm, 90 วัน) ต่อค่าทางโลหิตวิทยาของปลาดุก
Keywords:
ปลาดุก, ออกซิเจนละลายน้ำ, ความเครียด, โลหิตวิทยาAbstract
ปลาดุกความยาว 10.8 ± 1.4 ซม น้ำหนัก 8.1 ± 2.1 กรัม จำนวน 400 ตัว นำมาเลี้ยงในน้ำที่มีระดับของออกซิเจนละลายน้ำปกติ (5-6 ส่วนในล้านส่วน – DO 5-6) น้ำที่มีระดับของออกซิเจนละลายน้ำต่ำ ระยะสั้น (ออกซิเจนละลายน้ำ 0 ส่วนในล้านส่วน 3 ชั่วโมง - DO 0,3 ) และน้ำที่มีระดับของออกซิเจนละลายน้ำต่ำ ระยะยาว (ออกซิเจนละลายน้ำ 3-4 ส่วนในล้านส่วน 90 วัน - DO 3-4,90) พบว่าปลาดุกในกลุ่ม DO 5-6 และปลาดุกในกลุ่ม DO 0,3 จะมีค่าทางโลหิตวิทยา ได้แก่ Haematocrit (Hct), Alkaline Phosphatase (AlkP), Serum glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT), Serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT), Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine, Plasma Glucose และ Serum cortisol แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p ≤ 0.00001) ส่วนปลาดุกในกลุ่ม DO 3-4,90 เมื่อนำค่าทางโลหิตวิทยาเทียบกับปลาดุกในกลุ่ม พบว่า cortisol มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากความเครียดที่ปลาได้รับ ค่าของ AlkP และ SGOT มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากการทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อขณะที่มีการเจริญเติบโต