วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk <p>เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ รายงานผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ</p> <p><span style="font-weight: 400;">ว</span><span style="font-weight: 400;">ารสารตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี</span></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน&nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;</p> <p><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม&nbsp;&nbsp;</span></p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</p> th-TH <p><strong>ความ</strong><strong>​</strong><strong>รับ</strong><strong>​</strong><strong>ผิด</strong><strong>​</strong><strong>ชอบ</strong></p> <p>บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</p> <p><strong>ลิขสิทธ์บทความ</strong></p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น</p> [email protected] (ประณิตา แก้วพิกุล) [email protected] (ประณิตา แก้วพิกุล) Fri, 12 Jan 2024 19:01:27 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยาเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 ในชุมชนเขตเมือง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/266048 <p>การศึกษาการทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยาเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 ในชุมชนเขตเมืองกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 ของประชาชนในชุมชนเขตคลองเตย และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนารูปแบบการติดตามและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในชุมชนเขตเมือง ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 2 กลุ่ม คือ 1) ประชาชนในชุมชนเขตคลองเตย และ 2) ผู้บริหารและบุคลากรทางการแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ระบบประมวลผลการคัดกรองโรคโควิด 19 (ICN Tracking) และชุดตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด 19 วิธีการวิจัย ใช้การสัมภาษณ์ประกอบข้อมูลการลงทะเบียนในระบบ ICN Tracking ของกลุ่มตัวอย่างและเจาะเลือดตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 โดยวิธี ECLIA Cut off&gt;1 คือ Reactive ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ.2564</p> <p>ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด 19 และปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการมีแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญ (p-value&lt;0.05) ที่พบร่วมกันได้แก่ เพศ กลุ่มอายุ อาชีพ สมาชิกในครอบครัว โรคประจำตัว ประวัติการสัมผัสกลุ่มเสี่ยงสูง ประเภทกลุ่มเสี่ยงสูง ประวัติการได้รับวัคซีน โดยการติดเชื้อโควิด 19 มีปัจจัยของการรับรู้ระดับความเสี่ยงเพิ่มอีก 1 ปัจจัยและการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 มีปัจจัยการมีประวัติการติดเชื้อโควิด 19 เข้ามาเกี่ยวข้อง ผลการสร้างรูปแบบการติดตามและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในชุมชนเขตเมือง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การตัดวงจรระบาด การค้นหาผู้ติดเชื้อโดยเร็ว 2) การจัดระบบส่งต่อ โดยการแยกผู้ติดเชื้อออกจากบุคคลอื่นโดยเร็ว 3) การดูแลครัวเรือน ด้วยการดูแลคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อระหว่างรอการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน และ 4) การเฝ้าระวังผู้ที่หายป่วย โดยการจัดระบบดูแลกลุ่มคนอย่างเหมาะสมทั้งผู้ติดเชื้อ ผู้สัมผัส ผู้ป่วยที่กลับจากโรงพยาบาล และประชาชนทั่วไป</p> กัญญารัตน์ จารุดิลกกุล, สุพินทอง แสงสุวรรณ , วิชาญ บุญกิติกร, ภคพร พานวิจิตรกุล Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/266048 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัคซีน ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/262568 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดอุดรธานี ประชากรในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จำนวน 1,090 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิได้จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนานำเสนอจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหาร ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.27 (S.D.=0.48), 4.19 (S.D.=0.31) และ 4.07 (S.D.= 0.35) ตามลำดับ โดยภาพรวมปัจจัยทางการบริหารปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางและระดับสูงกับการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.542, P-value&lt;0.001, r = 0.821, P-value&lt;0.001) ตามลำดับ โดยตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวแปรได้แก่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยกันและกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ด้านหน่วยงานสนับสนุนทุกระดับมีแผนงานสนับสนุน ด้านผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนและติดตาม และด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการ มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 68.7 (R<sup>2</sup>=0.687, P-value&lt;0.001)</p> เกรียงไกร ทองทา, ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/262568 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ด้วยวิธี OV-Rapid diagnostic test, Modified Kato-Katz technique และ Formalin ethyl-acetate concentration technique ในเขตสุขภาพที่ 7 ปี 2565 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/267005 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ <em>Opisthorchis viverrine</em> (<em>O. viverrine) </em>3 วิธี ได้แก่ OV-Rapid diagnostic test ;OV-RDT, modified Kato-Katz technique ; MKKT และ Formalin Ethyl-acetate concentration technique ; FECT ในพื้นที่อัตราความชุกแตกต่างกัน เขตสุขภาพที่ 7 ใช้แบบสอบถามคัดกรองความเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับ และเครื่องมือการตรวจการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับทั้ง 3 วิธี ประชากรในการศึกษาคือ ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป ในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด จำนวนตัวอย่าง 2,628 คน เก็บข้อมูลโดยการสุ่มอย่างง่าย ในเดือนพฤษภาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของวิธีการตรวจทั้ง 3 วิธี คือค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวกค่าทำนายผลลบและค่าความถูกต้อง</p> <p> ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.60 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 46-60 ปี ร้อยละ 48.80 จังหวัดที่เก็บตัวอย่างได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 585 ราย ร้อยละ 22.26 จังหวัดมหาสารคาม 560 ราย ร้อยละ 21.31 จังหวัดร้อยเอ็ด 764 ราย ร้อยละ 29.08 และจังหวัดกาฬสินธุ์ 719 ราย ร้อยละ 27.35 ผลวิธีตรวจ FECT พบระดับความเข้มข้นของจำนวนไข่พยาธิใบไม้ตับ <em>O. viverrini</em> ในอุจจาระ 1 กรัม (Egg per gram feces: EPG) ต่ำ ร้อยละ 100.00 ความหนาแน่นของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ <em>O. viverrini</em> โดยหาค่าเฉลี่ยจำนวนไข่ในอุจจาระ 1 กรัม (Mean egg per gram feces: MEPG.) พบว่าวิธี MKKT ความหนาแน่นของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ <em>O. viverrini</em> ในจังหวัดขอนแก่น 63.89 จังหวัดมหาสารคาม 130.33 จังหวัดร้อยเอ็ด 107.89 จังหวัดกาฬสินธุ์ 69.87 และด้วยวิธี FECT มีความหนาแน่นของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ<em> O. viverrini</em> จังหวัดขอนแก่น 10.05 จังหวัดมหาสารคาม 68.69 จังหวัดร้อยเอ็ด 26.02 และจังหวัดกาฬสินธุ์ 45.62 </p> <p>วิธีการตรวจ MKKT พบอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 8.52 ค่าความไวร้อยละ 32.00 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายบวก ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายลบ ร้อยละ 80.20 ความถูกต้อง ร้อยละ 81.89 วิธีการตรวจ OV-RDT พบอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 15.83 ค่าความไวร้อยละ 59.43 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายบวก ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายลบ ร้อยละ 87.16 ความถูกต้อง ร้อยละ 89.19 วิธีการตรวจ FECT พบอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 7.27 ค่าความไวร้อยละ 27.29 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายบวก ร้อยละ 100 ค่าทำนายลบ ร้อยละ 79.11 ความถูกต้อง ร้อยละ 80.63 </p> <p>วิเคราะห์กระบวนงานการตรวจพยาธิใบไม้ตับ<em> O. viverrini</em> เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการดำเนินการตรวจพยาธิใบไม้ตับ<em> O. viverrini</em> กระบวน งานมี 4 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 เตรียมชุมชน ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเก็บตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง และขั้นตอนที่ 4 แจ้งผล ติดตาม ในส่วนของระยะเวลาในแต่ละวิธี พบว่าใช้เวลาไม่แตกต่างกันในการเตรียมชุมชน เตรียมเก็บตัวอย่าง การแจ้งผล ติดตาม แต่มีความแตกต่างกันที่ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ประกอบด้วย เตรียมตัวอย่าง การอ่านผล และการแปลผล โดยวิธี MKKT ใช้เวลา 45 นาที FECT ใช้เวลา 60 นาที OV-RDT ใช้เวลา 10 นาที และในส่วนค่าใช้จ่ายในแต่ละวิธี จะมีค่าใช้จ่ายไม่แตกต่างกัน ในการเตรียมชุมชน เตรียมเก็บตัวอย่าง การแจ้งผล ติดตาม แต่จะแตกต่างกันที่ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง Unit per cost ดังนี้คือ วิธี MKKT ค่าตรวจ 22.05 บาท วิธี FECT ค่าตรวจ 30.87 บาท วิธี OV-RDT ค่าตรวจ 150-350 บาท ต่อ 1 ตัวอย่าง</p> หฤทัย ทบวงษ์ศรี, เสรี สิงห์ทอง Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/267005 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของเกษตรกร (FERA) และเปรียบเทียบกับแบบประเมินทั้งร่างกาย (REBA) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/258093 <p>เกษตรกรมีท่าทางและการเคลื่อนไหวระหว่างการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ซึ่งอาจเกิดผลกระทบทางสุขภาพทางด้านโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในระยะยาวได้ โดยที่ผ่านมายังไม่มีเครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรชาวสวนยางพารา การศึกษามี 2 ระยะ คือ ระยะการสร้างเครื่องมือประเมิน และระยะการพัฒนาเป็นเครื่องมือประเมินการยศาสตร์จากท่าทางในเกษตรกรสวนยางพาราจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 คน รวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือดังนี้ 1) แบบสอบถามความรู้สึกไม่สบาย 2) เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์แบบทั้งร่างกาย (REBA) และ 3) เครื่องมือประเมินการยศาสตร์ท่าทางการทำงานของเกษตรกร (Farmers Ergonomics Risk Assessment: FERA) โดยใช้สถิติ Pearson Chi-Square และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Spearman's Rank Correlation Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สถิติแคปปาถ่วงน้ำหนัก (Weighted Kappa) และทดสอบความสอดคล้องของเครื่องมือข้อมูลชนิดต่อเนื่อง (Inter-rater Reliability: ICC) ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีความรู้สึกไม่สบายในระดับมากขึ้นไป พบสูงสุดที่บริเวณไหล่ หลังส่วนบน และมือและข้อมือ ร้อยละ 73.30 รองลงมาที่บริเวณแขนท่อนล่าง ร้อยละ 71.60 และที่บริเวณคอ ร้อยละ 70.00 ผลการประเมินความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานโดยใช้ REBA มีระดับความเสี่ยงสูงมากร้อยละ 43.30 หมายถึงต้องลดความเสี่ยงและแก้ไขในทันที มีระดับเท่ากับผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดย FERA (ความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 43.30) หมายถึง ต้องปรับปรุงท่าทางการทำงานหรือส่งเสริมให้เฝ้าระวังโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยผลความเสี่ยงทางการยศาสตร์จาก FERA มีความสอดคล้องกับ REBA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Rho= 0.863, P-value &lt; 0.001) แคปปา (Kappa) = 0.974 และค่าความน่าเชื่อถือผู้ประเมิน ICC=0.995 ความน่าเชื่อถือประเมินโดยเกษตรกร ICC=0.977 และระหว่างผู้ประเมินกับผลประเมินตนเองโดยเกษตรกร ICC= 0.971 ดังนั้น เครื่องมือ FERA นี้สามารถนำไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของเกษตรกรได้ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรคทางโครงร่างและกล้ามเนื้อได้</p> ชวนากร เครือแก้ว, สุนิสา ชายเกลี้ยง Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/258093 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัด โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ระยะที่ 2 (ปี 2562 – 2568) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/267075 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ระยะที่ 2 (ปี 2562 – 2568) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรผู้รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 95 คน ประกอบด้วย ขอนแก่น 30 คน ร้อยเอ็ด 25 คน กาฬสินธุ์ 22 คน และมหาสารคาม 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและสภาพความเป็นจริง แบบบันทึกการจัดทำแผนการติดตามและประเมินผล แบบสอบถามความคิดเห็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ แบบบันทึกผลการดำเนินงาน แบบสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจ และแบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อจัดหมวดหมู่ แยกแยะประเด็น</p> <p>สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการดำเนินงานติดตามและประเมินยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 4 ประเด็น ได้แก่ บุคลากรขาดศักยภาพผู้ประเมินองค์ความรู้/ทักษะการประเมิน การประเมินผลและการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ขาดกลไกการสนับสนุนการประเมิน และเครือข่ายประเมินในระดับพื้นที่ 2) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบค่าดัชนี PNI<sub> Modified</sub> เรียงจากมากไปน้อยได้แก่ จัดการสิ่งแวดล้อม สอนเด็กนักเรียนเพื่อปรับพฤติกรรม การตรวจมะเร็งท่อน้ำดีในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปด้วยการอัลตราซาวด์ การสื่อสารสาธารณะ พัฒนาระบบฐานข้อมูลรายบุคคล (Isan-cohort) รักษาผู้ป่วยมะเร็งโดยการผ่าตัด พัฒนาด้านวิชาการ คัดกรองพยาธิใบไม้ตับกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป บริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ และดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง 3) ค่าความแตกต่างของคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังการพัฒนาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( = 7.21; 95% CI: 4.58- 9.90, p-value &lt;0.001) 4) ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ดังนี้ (1) ความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 2.32 (2) ความชุกของการติดพยาธิใบไม้ตับในปลาร้อยละ 9 – 10 (3) อัตราการตายด้วยมะเร็งท่อน้ำดี 47.34 ต่อประชากรแสนคน (4) โรงเรียนที่สอนเด็กนักเรียนเรื่อง โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีร้อยละ 66.97 (5) การจัดสิ่งแวดล้อม บ่อบำบัด การจัดการสิ่งปฏิกูลได้มาตรฐาน ร้อยละ 16.88 5) ประเมินคุณภาพรูปแบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตามมาตรฐาน 4 ด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกมาตรฐาน </p> บุญทนากร พรมภักดี, สารัช บุญไตรย์, จุลจิลา หินจำปา, ประณิตา แก้วพิกุล Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/267075 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยใช้กลไก 3 หมอ จังหวัดอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/264811 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยใช้กลไก 3 หมอ จังหวัดอุดรธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 259 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 45 คน และทีม 3 หมอจำนวน 30 คน แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นการวางแผน (Plan) มีการวิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยติดเตียง จังหวัดอุดรธานี มีการวัดความรู้ อสม. และวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงก่อนดำเนินการ ระยะที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ (Do) มีการพัฒนาศักยภาพ อสม. กำหนดบทบาทหน้าที่ แนวทางการดำเนินการเยี่ยมบ้าน และแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของทีม 3 หมอ และการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยติดเตียง การเยี่ยมบ้าน ระยะที่ 3 ขั้นการติดตามและประเมินผล (Check) มีการประเมินผลกระบวนการดูแลผู้ป่วยของทีม 3 หมอ วัดความรู้ อสม. และวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียง หลังดำเนินการ และสรุปผล ระยะที่ 4 ขั้นการปรับปรุง (Act) การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลหลังการพัฒนา เปรียบเทียบการดำเนินการก่อนและหลังการพัฒนาเพื่อวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อการปรับปรุงในรอบต่อไป เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามผู้ป่วยติดเตียง อสม. และแบบสัมภาษณ์ทีม 3 หมอซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และวิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ในส่วนแบบวัดคุณภาพชีวิตเท่ากับ 0.84 แบบประเมินความพึงพอใจต่อการรับบริการของผู้ป่วยติดเตียงเท่ากับ 0.94 หาค่าความยากง่ายของแบบสอบถามวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของ อสม. ด้วยวิธี KR20 ได้ค่าเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงหลังการดำเนินการสูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value&lt;0.001) 95%CI อยู่ระหว่าง 1.99 ถึง 4.66 ความพึงพอใจของผู้ป่วยติดเตียงต่อการได้รับบริการจากทีม 3 หมอ ภาพรวมอยู่ระดับมาก ( =4.00, S.D.=0.54) และสถานะสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียงหลังได้รับการดูแลจากทีม 3 หมอมีสถานะสุขภาพดีขึ้นร้อยละ 72.59 รองลงมาคือ คงที่/เท่าเดิม ร้อยละ 26.25 และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของ อสม. พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังดำเนินการสูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value=0.001) 95%CI อยู่ระหว่าง 0.54 ถึง 2.22</p> เรวัฒน์ ศิรินิกร, ประภัสสร งานรุ่งเรือง Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/264811 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมรับประทานอาหารของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/262278 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมรับประทานอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130-139/80-89 ม.ม.ปรอท เพศชายและหญิง อายุ 35-60 ปี และยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยเลือกกลุ่มทดลองที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ในการคัดเข้าด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แล้วเลือกกลุ่มเปรียบเทียบให้มีเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย และความดันโลหิตคล้ายคลึงกันกลุ่มละ 31 คน เครื่องมือทดลองคือโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมรับประทานอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 3 ส่วน 2) เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิทัล 3) เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิทัล และ 4) สายวัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา สถิติทดสอบทีชนิดไม่อิสระจากกันและชนิดอิสระจากกัน สถิติทดสอบวิลคอกซันแมทซ์แพร์สซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรม (1) กลุ่มทดลองมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมรับประทานอาหาร และประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมรับประทานอาหาร สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมรับประทานอาหาร ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีพฤติกรรมรับประทานอาหาร สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;0.05) (2) กลุ่มทดลองมีความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดแอสโตลิก ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (p&lt;0.05) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ</p> อัญชสา แก้ววังสัน, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/262278 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/260281 <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น ประชากรศึกษา คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 33,838 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 220 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยเทียบสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างตามประชากรในแต่ละพื้นที่และสุ่มอย่างง่าย จนครบจำนวนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.5 และค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.96 ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของปัจจัยทางการบริหารและการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น อยู่ในระดับมาก 2.39 (S.D.=0.31) และ อยู่ในระดับมาก 2.54 (S.D.=0.33) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวม ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น (r =0.538, p-value = &lt; 0.001) และพบว่า ปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลากร มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์ การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่นได้ ร้อยละ 36.8 (R<sup>2</sup>=0.368) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> วรชัย จารีต, นครินทร์ ประสิทธิ์; สุรชัย พิมหา, นพรัตน์ เสนาฮาด, ณัฐพล โยธา Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/260281 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลตําบลสาวะถี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/256650 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ โดยศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ความต้องการในการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาแนวทางการจัดการขยะ เทศบาลตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหาการจัดการขยะโดยการสำรวจข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์ทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ และการจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวทางการจัดการขยะ 2) กำหนดแนวทางการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ 3) ลงมือปฏิบัติ 4) ติดตามและประเมินผล ผู้ร่วมวิจัยได้แก่ ผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ท้องที่ แกนนำกลุ่ม องค์กรในชุมชน ตรวจสอบข้อมูลโดยวิธีการสามเส้า ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการจัดการขยะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน เช่น โครงการจัดตั้งธนาคารขยะ โครงการรณรงค์การจัดการขยะชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กองทุนสูงวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม กองทุนขยะเป็นบุญเพื่อผู้สูงวัย ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะโดยชุมชน การดำเนินการที่ประสบความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ซึ่งการจัดทำแนวทางการจัดการขยะเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนประกอบด้วย การจัดการขยะในครัวเรือน การจัดการขยะในชุมชนและพื้นที่สาธารณะ และการจัดการในระดับหน่วยงานองค์กรในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการจัดการขยะเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนอย่างยั่งยืน</p> <p>ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การสร้างความตระหนักในการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดการปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การสร้างรายได้และมีการจัดสวัสดิการสำหรับดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติ</p> <p style="font-weight: 400;"><strong> </strong></p> เบญจพร ฐิติญาณวิโรจน์, ปราณี แสดคง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/256650 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคซิฟิลิส ของวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/242691 <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงการติดเชื้อโรคซิฟิลิสของวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสมการถดถอยพหุโลจิสติกพร้อมช่วงเชื่อมั่น 95%CI</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซิฟิลิสในระดับปานกลาง (42%) ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่าส่วนมากอยู่ในระดับดี (50.91%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคซิฟิลิสได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR =2.38, 95%CI: 1.23 to 4.60, p-value = 0.010) และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านทักษะการสื่อสารในระดับต่ำ (AOR = 5.11, 95%CI: 2.12 to 12.34, p-value = &lt;0.001)</p> <p>ข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างที่มีการดื่มแอลกอฮอล์และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านทักษะการสื่อสารในระดับต่ำ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคซิฟิลิส ดังนั้น จึงควรมีการรณรงค์การลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเร่งสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพด้านทักษะการสื่อสาร เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคซิฟิลิส</p> อมรรัตน์ พรมราช, ศันสนีย์ จันทสุข, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, สุกัญญา ฆารสินธุ์ Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/242691 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 รายงานผู้ป่วยโรคพยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/263604 <p>รายงานผู้ป่วยโรคพยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 70 ปี ภูมิลำเนาอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลฆ้องชัยด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ เฉลี่ย 10 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2 เดือน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อพยาธิ <em>Capillaria philippinensis</em> จากการตรวจพบไข่พยาธิ <em>C. philippinensis </em>ในอุจจาระ หลังให้การรักษาด้วยยา Albendazole 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 9 วัน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและไม่พบไข่พยาธิเพิ่มเติม</p> <p>จากการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม โดยการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำที่เป็น Intermediate hosts จากแหล่งน้ำจืด 5 แห่ง ในอำเภอฆ้องชัย และทำการตรวจหาไข่และพยาธิ <em>C. philippinensis </em>larvae ในสัตว์น้ำจืด จำนวน 21 ตัวอย่าง ได้แก่ หอย ปู และ ปลา ด้วยวิธี direct wet smear and concentration techniques ในการศึกษานี้พบ parasite larvae ไม่ทราบชนิดในหอย(<em>Viviparidae</em> และ <em>Pomacea canaliculate</em>) แต่ไม่พบในปูและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาซึ่งเป็น intermediate host ของ <em>C. philippinensis</em> และ <em>O. viverrini </em>ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่จากมาสัตว์น้ำจืด เช่น หอย และปลาน้ำจืดมีเกล็ดแบบสุกๆ ดิบๆ ตลอดจนการรณรงค์สร้างกระแสสังคมให้ประชาชนรับประทานปลาสุก เพื่อลดอัตราการติดเชื้อพยาธิ <em>C. philippinensis</em> และ <em>O. viverrini</em> ควบคู่กันต่อไป</p> สุรเชษฐ์ ภูลวรรณ, พรทิวา ถาวงค์กลาง, ราตรี พันทะชุม Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/263604 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 ลักษณะภาพทางรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกรณีรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/260963 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะภาพทางรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง โรงพยาบาลสามพราน การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก เจอ แจก จบ และ ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกรณีรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง โรงพยาบาลสามพราน ตั้งแต่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 21 พฤษภาคม 2565</p> <p>ผลพบว่ามีภาพวินิจฉัยทางรังสีทรวงอกของผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 9,086 ราย เป็นเพศหญิง 4,992 ราย ร้อยละ 55 และเพศชาย 4,094 ราย ร้อยละ 45 มีช่วงอายุระหว่าง 1 ถึง 96 ปี อายุมัธยฐาน 32.0 ผลการตรวจภาพวินิจฉัยทางรังสีทรวงอกปกติ 8,679 ราย ร้อยละ 95.5 ผลการตรวจภาพวินิจฉัยทางรังสีทรวงอกผิดปกติ 406 ราย ร้อยละ 4.5 เป็นความผิดปกติจากรอยโรคที่ปอด 251 ราย ร้อยละ 61.8 (รอยโรคที่ผิดปกติจากปอดอักเสบ 118 ราย ร้อยละ 47.0 พบรอยโรคที่ปอดจากความผิดปกติอื่นๆ 133 ราย ร้อยละ 53.0) ซึ่งอายุของผู้ป่วยที่มีผลการตรวจภาพวินิจฉัยทางรังสีทรวงอกที่ผิดปกติมีอายุมัธยฐาน 60 และความผิดปกติจากรอยโรคระบบอื่นๆ 155 ราย ร้อยละ 38.2 การตรวจภาพวินิจฉัยทางรังสีทรวงอกที่ผิดปกติจากรอยโรคที่ผิดปกติจากปอดอักเสบ 118 ราย (ร้อยละ 47.0) โดยพบรูปแบบรอยโรคเป็น Patchy / Ground glass opacity มากที่สุด ร้อยละ 73.7 การกระจายตัวของรอยโรคในปอดเป็นบริเวณรอบนอกปอดมากที่สุด ร้อยละ 52.6 พบความผิดปกติของปอดทั้งสองข้าง มากที่สุดร้อยละ 52 และ พบความผิดปกติของพื้นที่ปอดส่วนล่าง มากที่สุด ร้อยละ 67.8</p> <p>ผลการตรวจภาพวินิจฉัยทางรังสีทรวงอกส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ Omicron มีผลปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่พบผลการตรวจภาพวินิจฉัยทางรังสีทรวงอกผิดปกติที่เข้าได้กับภาวะปอดอักเสบ ซึ่งลักษณะภาพวินิจฉัยทางรังสีทรวงอกที่เข้าได้กับปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พบในการศึกษานี้สอดคล้องกับหลายการศึกษาก่อนหน้านี้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ</p> นิสสา อาชวชาลี Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/260963 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/262423 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 283 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2565-17 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหาร ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ จังหวัดขอนแก่น อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.96 (S.D.=0.49) 4.15 (S.D.=0.50) และ 4.18 (S.D.=0.51) ตามลำดับ โดยภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.606, r=0.582, p–value&lt;0.001) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการเชื่อมโยงระหว่างสถานบริการในเครือข่าย และปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 49.6 (R<sup>2</sup>=0.496,p–value&lt;0.001)</p> <p>ข้อเสนอแนะ: ควรมีการส่งเสริมการประสานงานภายในหน่วยงาน และควรมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับสถานบริการในเครือข่ายที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อได้มีการร่วมมือกันในการติดต่อสื่อสารให้สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> รัชตะ พลเดช, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/262423 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ HbA1c กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/263156 <p>ภาวะไขมันในเลือดสูงและโรคเบาหวานถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อร้ายแรงที่เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย โดยมักพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีค่าไขมันในเลือดสูง และมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่ดี การตรวจหาระดับ HbA1c ซึ่งบ่งชี้ภาวะน้ำตาลสะสมจึงถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ HbA1c ในผู้ป่วยโรคเบาหวานกับภาวะไขมันในเลือดและความสัมพันธ์ระหว่าง HbA1c กับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประเมินจาก Thai Cardiovascular Risk score เพื่อสามารถนำมาใช้คาดการณ์ภาวะไขมันในเลือดสูงด้วย จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไปที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกโรคเบาหวานและคลินิกผู้ป่วยนอก (OPD) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม ปี พ.ศ. 2563 ที่โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 390 ราย พบว่าระดับ HbA1c มีความสัมพันธ์กับน้ำหนัก ความดัน, FPG, Total Cholesterol และ LDL กับค่า Thai CV risk score ของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.05) ซึ่งผลของการศึกษานี้อาจเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการประเมินภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อไป</p> มนัญชยา คำควร, กัญญาณัฐ เปี่ยมงาม, ถวัลย์ ฤกษ์งาม, พิไลวรรณ ศิริพฤกษ์พงษ์ Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/263156 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/262501 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหาร พฤติกรรมบริโภคอาหาร ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ หลังได้รับโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิในอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เพศชายและหญิง อายุ 35-59 ปี ได้รับการรักษาด้วยยามาอย่างน้อย 1 ปี มีความดันโลหิต 140-180/90-110 มม.ปรอท คัดเลือกกลุ่มทดลองที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และเลือกกลุ่มเปรียบเทียบ โดยการจับคู่ให้มีเพศ อายุ และค่าความดันโลหิต ใกล้เคียงกัน กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือทดลองเป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงตามแนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองของแบนดูรา ดำเนินการศึกษา เดือนกันยายนถึงตุลาคม 2565 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกภาวะสุขภาพ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก และ สายวัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มก่อนและหลังทดลอง ใช้สถิติ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลอง มีการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหาร สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ และมีพฤติกรรมบริโภคอาหาร สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p &lt;</em>0.05) และมีความดันโลหิตซิสโตลิก ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p &lt;</em>0.05) แต่ค่า ความดันโลหิตไดแอสโตลิก พบว่า หลังการทดลอง ทั้งสองกลุ่มมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองพบว่า ค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารไปเป็นแนวทางพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารในโรคเรื้อรังอื่น ๆ ต่อไป</p> ลำพูล ศรีสังข์รัตน์, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล , ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/262501 Fri, 12 Jan 2024 00:00:00 +0700