วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk
<p>เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ รายงานผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ</p> <p><span style="font-weight: 400;">ว</span><span style="font-weight: 400;">ารสารตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี</span></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน </p> <p><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม </span></p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม </p>
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
th-TH
วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
0858-8899
<p><strong>ความ</strong><strong></strong><strong>รับ</strong><strong></strong><strong>ผิด</strong><strong></strong><strong>ชอบ</strong></p> <p>บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</p> <p><strong>ลิขสิทธ์บทความ</strong></p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น</p>
-
ผลกระทบการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ต่อระบบการบริหารจัดการด้านการป้องกันควบคุมโรคของประเทศไทย
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/271061
<p> การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระบบบริหารจัดการ ผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการ และผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชนด้านการป้องกันควบคุมโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนและไม่ได้ถ่ายโอนภารกิจไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พร้อมทั้งศึกษาข้อเสนอแนวทางพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการป้องกันควบคุมโรคของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,821 คน จาก 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการ รพ.สต. จำนวน 374 คน ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 842 คน ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,245 คน และประชาชนที่เป็นผู้ปกครองเด็กอายุ 0 – 5 ปี จำนวน 670 คนด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.5 และค่าความเที่ยงมากกว่า 0.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติเชิงพรรณนานำเสนอค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และการทดสอบค่าที การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จากกลุ่มผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายระดับประเทศ จำนวน 8 คน ด้วยแนวคำถามกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ผลการเปรียบเทียบระบบการบริหารจัดการตาม 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ ในมุมมองของผู้อำนวยการ รพ.สต. ที่ถ่ายโอน และยังไม่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. พบว่า (1) ด้านการจัดบริการ (2) ด้านกำลังคน และ(3) ด้านการเงินการคลัง ไม่แตกต่างกัน แต่พบว่า (4) ด้านข้อมูล (5) ด้านการเข้าถึงยา วัคซีน และเทคโนโลยีที่จำเป็น และ(6) ด้านภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการในมุมมองของ ผู้อำนวยการ รพ.สต. พบว่า ผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับมุมมองของประชาชน พบว่า คุณภาพการจัดบริการ และความพึงพอใจต่อการได้รับบริการไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชน พบว่า อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอน ต่ำกว่าไม่ได้ถ่ายโอนภารกิจ สำหรับประเด็นการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงพร้อมทั้งการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 – 5 ปี นั้น ไม่แตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนวทางพัฒนาระบบการบริหารจัดการของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ควรมีการพัฒนาประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) ด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร (2) ด้านข้อมูล (3) ด้านการเข้าถึงยา วัคซีน และเทคโนโลยีที่จำเป็น (4) ด้านงบประมาณ (5) ด้านภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลต่อการป้องกันควบคุมโรค และ (6) ด้านทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อให้การป้องกันควบคุมโรคตามบทบาทของ รพ.สต. มีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต</p>
ไพโรจน์ พรหมพันใจ
ทิพยรัตน์ สิงห์ทอง
ธีระวุธ ธรรมกุล
พรศักดิ์ อยู่เจริญ
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
1
16
-
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าอิฐศึกษา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269278
<p> การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยระดับบุคคล พฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ การควบคุมตนเอง การรับรู้โทษของบุหรี่ การส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากครอบครัว จากโรงเรียน และอิทธิพลของตัวแบบจากสื่อ และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าอิฐศึกษา จังหวัดนนทบุรี ขนาดตัวอย่างจำนวน 105 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ด้วยสถิติ Stepwise Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ (Mean = 3.52, S.D. = 0.75) การควบคุมตนเอง (Mean = 3.86, S.D. = 0.92) การรับรู้โทษของบุหรี่ (Mean = 4.20, S.D. = 0.62) การส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากครอบครัว (Mean = 3.96, S.D. = 0.86) และอิทธิพลตัวแบบจากสื่อ (Mean = 3.60, S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมาก และมีการส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากโรงเรียน (Mean = 0.88, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับน้อย ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การควบคุมตนเองและอิทธิพลของตัวแบบจากสื่อ สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 19.8 ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมการควบคุมตนเอง และกำกับดูแลในการเข้าถึงสื่อต่างๆ ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รวมทั้งควรเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียนที่นอกเหนือจากนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ปกครองและครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่สูบบุหรี่แก่นักเรียน</p>
ธนารัตน์ หมัดเชี่ยว
วราภรณ์ ล่ำใหญ่
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
17
28
-
การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เด็งกี เดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2566 ในหมู่ 7 และหมู่ 10 ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/266491
<p> โรคติดเชื้อไข้เด็งกีเป็นโรคประจำถิ่นที่เป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศไทย โดยมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การสอบสวนการระบาดโรคไข้เด็งกีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันวินิจฉัยและยืนยันการระบาดของโรค เพื่ออธิบายลักษณะการเกิดโรค (บุคคล เวลา สถานที่) เพื่อศึกษาด้านกีฏวิทยา เพื่อประเมินการรับรู้และความตระหนักของประชาชน และหามาตรการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก วิธีการศึกษาได้แก่ การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา การศึกษาสภาพแวดล้อม การศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาด้านกีฏวิทยา การศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ของประชาชน ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยโรคไข้เด็งกีจำนวน 23 ราย (ยืนยัน 22 ราย เข้าข่าย 1 ราย) ไม่พบผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 10-14 ปี จำนวน 13 ราย ส่วนใหญ่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันร้อยละ 95.65 ไข้สูงลอย 2 วันขึ้นไปร้อยละ 78.26 และปวดศีรษะร้อยละ 17.39 การระบาดแบบแหล่งโรคแพร่กระจายในครั้งนี้มีความเชื่อมโยงกันในชุมชนและโรงเรียน ผลการสำรวจพบความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้านพบว่าหมู่ 7 มีความชุกร้อยละ 35.00 และหมู่ 10 ร้อยละ 37.50 (มาตรฐานในพื้นที่ระบาดเท่ากับร้อยละ 0) โดยพบลูกน้ำยุงลายทั้งภาชนะในบ้านและนอกบ้าน ได้แก่ ที่รองขาตู้กันมด ถังน้ำใช้ ภาชนะที่ไม่ใช้ ต้นบอนกระดาษ จานรองกระถาง อ่างบัว และน้ำเลี้ยงสัตว์ ผลการศึกษาด้านกีฏวิทยาพบเพียงยุงลายบ้านเพศเมียจำนวน 4 ตัว โดยทุกตัวเคยผ่านการวางไข่มาแล้ว ผลการศึกษาการรับรู้และความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนพบว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ดำเนินการกำจัดแหล่งวางไข่ยุงลายภายในบ้านและบริเวณบ้านร้อยละ 100.00 ประชาชนได้รับการแจ้งหรือประชาสัมพันธ์เมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 93.10 และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายควรเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านร้อยละ 48.61 ควรเป็นหน้าที่ของประชาชนร้อยละ 37.50 และเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขร้อยละ 13.89 ภายหลังจากดำเนินการสื่อสารความเสี่ยง การพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในบ้านและนอกบ้านด้วยเครื่องพ่นฝอยละออง (ULV) ติดรถยนต์และเครื่องพ่นสะพายไหล่ มาตรการสุ่มไขว้ประเมินความชุกของลูกน้ำยุงลาย และการจัดทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันโรค ทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เด็งกีได้ และไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก</p>
กฤษณะ สุกาวงค์
เชาวชื่น เชี่ยวการรบ
คเณศวร โคตรทา
ทรงเกียรติ ยุระศรี
ธนวัฒน์ ชนะแสบง
ผไทมาศ เปรื่องปรีชา
เสียน ชุมสีวัน
สิวะนนท์ เติมสุข
ณัฐพล ยิ่งจำเริญ
นัฐพงษ์ ปัตถา
จารุณี แก้วยอด
ชยานันท์ เกตุเมฆ
รุ่งนภา สุ่ยหนู
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
29
44
-
ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ของทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/267496
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ของทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น ที่ติดนิโคติน สูบบุหรี่ 1 ปีขึ้นไป และอยู่ในขั้นลังเลใจที่จะเลิกบุหรี่ จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ที่สร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างแรงจูงใจ โดยอ้างอิงทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ 3) แบบประเมินพฤติกรรมเลิกบุหรี่ 4) แบบประเมินระดับการติดนิโคติน 5) แบบประเมินขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่ 6) การวัดระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยค่าดัชนีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิแอลฟ่าของคอนบราคมากกว่า 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซันซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ พฤติกรรมเลิกบุหรี่ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ระดับการติดนิโคตินและระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ หลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.001 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบก่อนทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ พฤติกรรมเลิกบุหรี่ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีระดับการติดนิโคติน ระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <em>p</em><0.001</p> <p> ข้อเสนอแนะควรนำโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ไปใช้ในกลุ่มทหารใหม่และมีการประเมินการติดนิโคตินทุกราย<span style="font-size: 0.875rem;"> </span></p>
วนิดา ลาภโชค
นภาเพ็ญ จันทขัมมา
องค์อร ประจันเขตต์
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
45
56
-
การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิส เขตสุขภาพที่ 5
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/266542
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิสของเขตสุขภาพที่ 5 ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในปี พ.ศ. 2565 ของเขตสุขภาพที่ 5 จากแหล่งข้อมูลในจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และเพชรบุรี คือข้อมูลสุขภาพ 43 แฟ้ม (รหัส ICD-10) และโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคตามรหัส ICD – 10 ที่กำหนด และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิส</p> <p> จากการทบทวนและสืบค้นเวชระเบียนผู้ป่วยตามรหัส ICD - 10 J62, J63, J64, J65, J40, J41, J42, J43, J44 และ J47 จำนวน 777 ราย พบการรายงานผู้ป่วยจำนวน 15 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตามนิยามที่กำหนดจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 0.77) มีความไวของการรายงานร้อยละ 100.00 และค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 40.00 ด้านคุณภาพของข้อมูลพบมีการบันทึกข้อมูลเพศ อายุ ร้อยละ 100.00 มีการบันทึกข้อมูลอาชีพที่ระบุถึงการสัมผัสฝุ่นหินร้อยละ 46.66 และมีการบันทึกข้อมูลอาชีพแต่ไม่ระบุถึงการสัมผัสฝุ่นหินร้อยละ 53.33 โดยระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิสได้รับการยอมรับมีความยืดหยุ่น มีความมั่นคงและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้</p> <p> จากผลการศึกษาดังกล่าว เสนอแนะให้หน่วยงานส่วนกลางมีการพัฒนาระบบโปรแกรมหรือรูปแบบการบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาลให้มีการบันทึกถึงลักษณะการทำงานหรือสิ่งคุกคาม และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพ การรายงานโรค การวินิจฉัยและการส่งต่อ ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่</p>
สงกรานต์ ดีรื่น
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
57
65
-
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/267285
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 32 คน จากการคำนวณขนาดอิทธิพล (effect size) ดำเนินการระหว่าง มกราคม ถึง มิถุนายน 2566 โดยประยุกต์แนวคิดของ Nutbeam และ Mezirow จัดเป็นโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 10 กระบวนการ 7 กิจกรรม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบบันทึกส่วนบุคคล แบบสอบถาม แบบประเมิน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว และความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired Sample T-Test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลองระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Mean difference: 11.93; 95%CI: 9.48-14.37) ความรู้ในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Mean difference: 42.44; 95%CI: 35.27-49.62) ระดับพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาวะสุขภาพทางกาย น้ำหนักตัว ระดับดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิตตัวบน และตัวล่าง น้อยกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงสรุปได้ว่ารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และภาวะสุขภาพทางกายที่ดีขึ้น เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้</p>
อภิชัย ลิมานนท์
สม นาสอ้าน
ทิพาพร ราชาไกร
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
66
76
-
ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269926
<p> อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก ต้องมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ถูกต้องให้กับประชาชนในชุมชน การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการสุ่มแบบเป็นระบบ จำนวน 381 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การรู้เท่าสื่อ และการจัดการตนเอง และตัวแปรตามด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบถดถอยลอจิสติก</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ อสม.ที่มีทักษะการสื่อสารในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 5.19 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านทักษะการสื่อสารในระดับน้อยถึงปานกลาง (OR<sub>Adj</sub>=5.19; 95%CI=1.82-14.78) อสม.ที่มีทักษะการตัดสินใจในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 3.97 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านทักษะการตัดสินใจในระดับน้อยถึงปานกลาง (OR<sub>Adj</sub>=3.97; 95%CI=1.28-12.29) และ อสม.ที่มีการจัดการตนเองในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 9.41 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านการจัดการตนเองในระดับน้อยถึงปานกลาง (OR<sub>Adj</sub>=9.41; 95%CI=3.11-28.39) ดังนั้น อสม.ควรได้รับการส่งเสริมด้านทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ และการจัดการตนเองในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อให้สามารถสื่อสารความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรคไข้เลือดออก</p>
ชลธิชา หล่าอุดม
อนุพงศ์ สุขใจ
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
77
86
-
ผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน แบบบูรณาการความร่วมมือ ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269779
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน แบบบูรณาการความร่วมมือผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเป้าหมาย 61 คน เป็น คณะกรรมการ พชอ. ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับตำบล เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกประเด็นอภิปราย/กิจกรรม/การประเมินผล แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 1) การวิเคราะห์ปัญหาสภาพการดำเนินงานพบว่า พฤติกรรมการขับขี่ จุดเสี่ยง ยานพาหนะ สาเหตุการเสียชีวิต กวดขันวินัยจราจร และความร่วมมือของหน่วยงาน 2) รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน มี 4 โครงการคือ การบูรณาการความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน การพัฒนาชุมชนต้นแบบขับขี่ปลอดภัย การแก้ไขจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอำเภอซำสูง และสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิต และ 3) ผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่า การมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพ อยู่ระดับมากที่สุด ชุมชนต้นแบบด้านการขับขี่ปลอดภัย ในระหว่างปีพ.ศ.2560 – 2565 ผู้บาดเจ็บ 442, 316, 289, 333, 360 และ 161 ราย และผู้เสียชีวิต 4.21, 4.21, 8.42, 29.56, 12.56 และ 8.42 ต่อแสนประชากร และเป็นอำเภอดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากจราจรทางถนนระดับอำเภอในระดับดีเยี่ยม </p> <p> ควรมีการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกคณะกรรมการ พชอ. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง</p>
กมล ศรีล้อม
เหมชาติ นีละสมิต
ณภัทรพงษ์ หงษีทอง
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
87
100
-
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ของเยาวชน : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269331
<p> การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 ฐานข้อมูลที่มีการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับการตีพิมพ์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นบทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า มีบทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 13 เรื่อง ซึ่งมีปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ได้แก่ เจตคติในการไม่บริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ และการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน</p> <p> ข้อเสนอแนะจากข้อค้นพบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชนครั้งนี้ นักวิจัยและผู้ที่สนใจการสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ควรนำองค์ประกอบที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนารูปแบบหรือกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ตามบริบทของพื้นที่ต่อไป</p>
ปริญญา ดาระสุวรรณ์
ณัฐกฤตา ศิริโสภณ
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
101
109
-
ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269088
<p> การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 2 โรงเรียน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ) กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่พัฒนาขึ้น และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบไปด้วย 1) ความรู้ 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค 4) พฤติกรรมการป้องกันโรค และ 5) ความพึงพอใจในการใช้โปแกรมฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนานำเสนอ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์เปรียบเทียบ ด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังจากการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูุมิคุ้มกัน และระดับพฤติกรรมสุขภาพในระดับที่สูงขึ้น แตกต่างจากก่อนการใช้โปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value<0.001 รวมถึงความพึงพอใจภายหลังการได้รับโปรแกรมฯของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมากที่สุด </span>( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.84, S.D.=0.17) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และพฤติกรรมสุขภาพที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value<0.001</p>
พีรญา พาอ่อนตา
วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา
ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
110
120
-
ผลการพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ โดยใช้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เขตสุขภาพที่ 7
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269396
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคโดยแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ผู้บริหาร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระยะเวลาการวิจัยเดือนตุลาคม 2562 ถึง เดือนธันวาคม 2565 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอใช้กระบวนการ PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ วางแผน (Planning) ปฏิบัติการ (Action) สังเกตการณ์ (Observation) สะท้อนผลลัพธ์ (Reflecting) ระยะที่ 3 การประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 ยังไม่มีแนวทางและกลไกการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่ชัดเจน ระยะที่ 2 วางแผนการพัฒนา นำความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากำหนดได้กลยุทธ์คือ GDL2C คือ G:Goal กำหนดเป้าหมายแนวทางการพัฒนาร่วมกัน D: Deployment สื่อสารถ่ายทอดให้เข้าใจร่วมกัน L:Learning การปรับปรุงวิธีทำงาน พัฒนาศักยภาพ แบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ C: Collaboration การเชื่อมโยงสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน C: Continuous ความต่อเนื่องของการดำเนินงาน ระยะที่ 3 ติดตามประเมินผล ผลลัพธ์การใช้แนวทางและกลไกการพัฒนา พบว่า คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน มีการนำข้อมูลมิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจมาวิเคราะห์และสอดคล้องกับการเลือกประเด็นปัญหาในพื้นที่ มีการสื่อสารถ่ายทอดและกำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ชัดเจน รูปแบบกิจกรรมทำงานเชิงรุกมากขึ้นและผลลัพธ์ของการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่นำร่องเป็นไปตามเกณฑ์ที่อำเภอวางไว้ ดังนั้นแนวทางและกลไกที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในเขตสุขภาพที่ 7 ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้</p>
กังสดาล สุวรรณรงค์
ชุติมา วัชรกุล
เนตรชนก พันธ์สุระ
รัตนาภรณ์ ยศศรี
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
121
135
-
การวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/270745
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน เครือข่ายสุขภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 400 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความรู้ การสร้างแนวทางการพัฒนา การสร้างแนวทางปฏิบัติ และการสรุปประเมินผล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้สถิติ t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 64.25) มีอายุเฉลี่ย 47.65 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 46.75) มีบทบาทในการมีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนงาน (ร้อยละ 100.00) มีการจัดการความเสี่ยงในครัวเรือนและชุมชน (ร้อยละ 100.00) ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หลังการพัฒนาการมีส่วนร่วม ด้านความรู้ ด้านพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผน การมีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนหรือกิจกรรม การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามผล การสนับสนุนและความพึงพอใจการมีส่วนร่วม ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน เครือข่ายสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สูงกว่าก่อนการพัฒนา โดยค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) 2) แนวทางตามแผนการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ 2.1) การสร้างความรู้ 2.2) การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.3) การพัฒนากิจกรรม 2.4)การสนับสนุนการปฏิบัติการ 2.5)การประเมินผล ถอดบทเรียน ข้อเสนอด้านนโยบาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นำผลการวิจัยเข้าสู่นโยบายระดับจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้านการปฏิบัติ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง ด้านการวิจัย ควรมีการวิจัยถอดบทเรียนเพื่อขยายผลพื้นที่อื่นๆ ต่อไป</p> <p> </p>
นิฐิคุณ เขียวอยู่
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
136
148
-
ความสัมพันธ์ของภาวะความเครียดกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/271234
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.18 อายุเฉลี่ย 66.82 ปี (S.D. = 8.71) สถานภาพสมรส ร้อยละ 62.73 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 89.09 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 31.82 ค่ามัธยฐานของรายได้ 6,425.45 บาท ระยะเวลาในการป่วยเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 10.71 ปี (S.D. = 6.59) ระดับน้ำตาลในเลือด 3 เดือนย้อนหลังสูงสุดคือเดือนที่ 3 เฉลี่ย 152.09 mg% (S.D. = 64.34 mg%) และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ร้อยละ 66.36 ระดับความเครียดอยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 46.36 ระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ร้อยละ 43.64 เครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก ร้อยละ 5.45 เครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติปานกลาง ร้อยละ 3.64 และเครียดในระดับต่ำ ร้อยละ 0.91 โดยพบความเครียดมีความสัมพันธ์น้อย กับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (r= -0.22, p-value = 0.01)</p> <p> จากผลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรมีการคัดกรองภาวะความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้พื้นที่สามารถวางแผนดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และป้องกันการเกิดผลกระทบเชิงลบจากภาวะความเครียดสะสม ตลอดจนช่วยลดความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาวต่อไป</p>
ธรณิศ สายวัฒน์
นวลละออง ทองโคตร
สรัญญา เปล่งกระโทก
นภาพร ชิลนาค
ศักดิ์ขรินทร์ นรสาร
ปิยนุช ภิญโย
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
149
160
-
การพัฒนานโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกล โดยกลไกความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดฉะเชิงเทรา
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/271093
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายและประเมินผลการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกลโดยกลไกความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดฉะเชิงเทรา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงนโยบาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ บุคลากรสาธารณสุข บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วยเหลือดูแลและผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง การสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า นโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ระยะไกล จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) กำหนดให้การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ทางไกลให้เป็นวาระหลัก 2) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเจ้าภาพหลักในการระดมทรัพยากร 3) พัฒนาทักษะการใช้ระบบการสื่อสารทางไกลสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 4) ประชาสัมพันธ์ระบบการแพทย์ทางไกลและระบบสารสนเทศการแพทย์การไกล (Dash Board) เพื่อความเข้าใจของชุมชนและเพิ่มความครอบคลุมการเข้าถึงบริการและ 5) สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานด้านสาธารณสุขเพื่อติดตามผลการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง และผลการประเมินนโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ระยะไกล พบว่าการจัดบริการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดฉะเชิงเทราในภาพรวมพบว่ามีการปฏิบัติในระดับมาก ( =3.55, S.D=0.80) และเมื่อพิจารณารายด้านทั้งด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่ามีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน โดยด้านสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.10, S.D.=0.85 รองลงมาได้แก่ด้านปัจจัยนำเข้า (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.41, S.D.=0.76) ด้านกระบวนการ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.33, S.D.=1.02) และด้านผลผลิต (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.25, S.D.=1.12) ซึ่งผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและจัดระบบการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกล</p>
สมบัติ ทั่งทอง
กานต์นะรัตน์ จรามร
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
161
173
-
ประสบการณ์และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/260493
<p> การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเข้ารับการรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็มในมุมมองของผู้ป่วย เก็บข้อมูลหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการรักษาฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มจำนวน 10 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 10 คน</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มและผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75 มีอายุเฉลี่ย 48.54 ปี อายุน้อยที่สุดคือ 28 ปี อายุมากที่สุดคือ 79 ปี สถานภาพสมรสส่วนใหญ่คู่ (สมรส/อยู่ด้วยกัน) ร้อยละ 65.0 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษา ร้อยละ 83.0 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 72.0 ประสบการณ์การเลือกใช้การรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู ในมุมมองของผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มอย่างน้อย 20 ครั้ง เกิดจากพฤติกรรม 4 ด้านคือ ทัศนคติ ความเชื่อ ความไว้ใจในการรักษา และความรู้เข้าใจในการรักษา ส่วนผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็ม พบว่า ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ก่อนการฝังเข็มอยู่ในช่วงคะแนน 9-11 คะแนน (ภาวะพึ่งพิงปานกลาง) หลังการฝังเข็มมีคะแนนอยู่ในช่วง 12-20 คะแนน (ไม่เป็นการพึ่งพิง) และมีความพึงพอใจในการรับการรักษาด้วยการฝังเข็มจากการบริการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริการที่ประทับใจ ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการที่เป็นมิตร ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร และด้านสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย</p> <p><strong> </strong>ดังนั้น ประสบการณ์การเลือกใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็ม สามารถสร้างความมั่นใจทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีขึ้น ควรนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยการบริการฝังเข็มสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูต่อไป</p>
ปิยาภรณ์ พงษ์ประยูร
พรรณี บัญชรหัตถกิจ
รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-31
2024-07-31
31 2
174
185