https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/issue/feed วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2024-07-31T18:06:12+07:00 ประณิตา แก้วพิกุล journal.dpc6@gmail.com Open Journal Systems <p>เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ รายงานผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ</p> <p><span style="font-weight: 400;">ว</span><span style="font-weight: 400;">ารสารตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี</span></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน&nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;</p> <p><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม&nbsp;&nbsp;</span></p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/271061 ผลกระทบการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ต่อระบบการบริหารจัดการด้านการป้องกันควบคุมโรคของประเทศไทย 2024-05-13T14:58:34+07:00 ไพโรจน์ พรหมพันใจ pairoj_2608@yahoo.com ทิพยรัตน์ สิงห์ทอง pairoj_2608@yahoo.com ธีระวุธ ธรรมกุล pairoj_2608@yahoo.com พรศักดิ์ อยู่เจริญ pairoj_2608@yahoo.com <p> การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระบบบริหารจัดการ ผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการ และผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชนด้านการป้องกันควบคุมโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนและไม่ได้ถ่ายโอนภารกิจไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พร้อมทั้งศึกษาข้อเสนอแนวทางพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการป้องกันควบคุมโรคของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,821 คน จาก 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการ รพ.สต. จำนวน 374 คน ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 842 คน ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,245 คน และประชาชนที่เป็นผู้ปกครองเด็กอายุ 0 – 5 ปี จำนวน 670 คนด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.5 และค่าความเที่ยงมากกว่า 0.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติเชิงพรรณนานำเสนอค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และการทดสอบค่าที การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จากกลุ่มผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายระดับประเทศ จำนวน 8 คน ด้วยแนวคำถามกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ผลการเปรียบเทียบระบบการบริหารจัดการตาม 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ ในมุมมองของผู้อำนวยการ รพ.สต. ที่ถ่ายโอน และยังไม่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. พบว่า (1) ด้านการจัดบริการ (2) ด้านกำลังคน และ(3) ด้านการเงินการคลัง ไม่แตกต่างกัน แต่พบว่า (4) ด้านข้อมูล (5) ด้านการเข้าถึงยา วัคซีน และเทคโนโลยีที่จำเป็น และ(6) ด้านภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการในมุมมองของ ผู้อำนวยการ รพ.สต. พบว่า ผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับมุมมองของประชาชน พบว่า คุณภาพการจัดบริการ และความพึงพอใจต่อการได้รับบริการไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชน พบว่า อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอน ต่ำกว่าไม่ได้ถ่ายโอนภารกิจ สำหรับประเด็นการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงพร้อมทั้งการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 – 5 ปี นั้น ไม่แตกต่างกัน สำหรับข้อเสนอแนวทางพัฒนาระบบการบริหารจัดการของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ควรมีการพัฒนาประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) ด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร (2) ด้านข้อมูล (3) ด้านการเข้าถึงยา วัคซีน และเทคโนโลยีที่จำเป็น (4) ด้านงบประมาณ (5) ด้านภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลต่อการป้องกันควบคุมโรค และ (6) ด้านทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อให้การป้องกันควบคุมโรคตามบทบาทของ รพ.สต. มีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269278 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าอิฐศึกษา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2024-03-01T10:58:45+07:00 ธนารัตน์ หมัดเชี่ยว thanarat@scphtrang.ac.th วราภรณ์ ล่ำใหญ่ aem1478963@gmail.com <p> การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยระดับบุคคล พฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ การควบคุมตนเอง การรับรู้โทษของบุหรี่ การส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากครอบครัว จากโรงเรียน และอิทธิพลของตัวแบบจากสื่อ และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าอิฐศึกษา จังหวัดนนทบุรี ขนาดตัวอย่างจำนวน 105 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ด้วยสถิติ Stepwise Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ (Mean = 3.52, S.D. = 0.75) การควบคุมตนเอง (Mean = 3.86, S.D. = 0.92) การรับรู้โทษของบุหรี่ (Mean = 4.20, S.D. = 0.62) การส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากครอบครัว (Mean = 3.96, S.D. = 0.86) และอิทธิพลตัวแบบจากสื่อ (Mean = 3.60, S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมาก และมีการส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากโรงเรียน (Mean = 0.88, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับน้อย ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การควบคุมตนเองและอิทธิพลของตัวแบบจากสื่อ สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 19.8 ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมการควบคุมตนเอง และกำกับดูแลในการเข้าถึงสื่อต่างๆ ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รวมทั้งควรเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียนที่นอกเหนือจากนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ปกครองและครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่สูบบุหรี่แก่นักเรียน</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/266491 การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เด็งกี เดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2566 ในหมู่ 7 และหมู่ 10 ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู 2024-01-15T16:34:25+07:00 กฤษณะ สุกาวงค์ kitsana.suga@gmail.com เชาวชื่น เชี่ยวการรบ kitsana.suga@gmail.com คเณศวร โคตรทา kitsana.suga@gmail.com ทรงเกียรติ ยุระศรี kitsana.suga@gmail.com ธนวัฒน์ ชนะแสบง kitsana.suga@gmail.com ผไทมาศ เปรื่องปรีชา kitsana.suga@gmail.com เสียน ชุมสีวัน kitsana.suga@gmail.com สิวะนนท์ เติมสุข kitsana.suga@gmail.com ณัฐพล ยิ่งจำเริญ kitsana.suga@gmail.com นัฐพงษ์ ปัตถา kitsana.suga@gmail.com จารุณี แก้วยอด kitsana.suga@gmail.com ชยานันท์ เกตุเมฆ kitsana.suga@gmail.com รุ่งนภา สุ่ยหนู kitsana.suga@gmail.com <p> โรคติดเชื้อไข้เด็งกีเป็นโรคประจำถิ่นที่เป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศไทย โดยมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การสอบสวนการระบาดโรคไข้เด็งกีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันวินิจฉัยและยืนยันการระบาดของโรค เพื่ออธิบายลักษณะการเกิดโรค (บุคคล เวลา สถานที่) เพื่อศึกษาด้านกีฏวิทยา เพื่อประเมินการรับรู้และความตระหนักของประชาชน และหามาตรการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก วิธีการศึกษาได้แก่ การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา การศึกษาสภาพแวดล้อม การศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาด้านกีฏวิทยา การศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ของประชาชน ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยโรคไข้เด็งกีจำนวน 23 ราย (ยืนยัน 22 ราย เข้าข่าย 1 ราย) ไม่พบผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 10-14 ปี จำนวน 13 ราย ส่วนใหญ่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันร้อยละ 95.65 ไข้สูงลอย 2 วันขึ้นไปร้อยละ 78.26 และปวดศีรษะร้อยละ 17.39 การระบาดแบบแหล่งโรคแพร่กระจายในครั้งนี้มีความเชื่อมโยงกันในชุมชนและโรงเรียน ผลการสำรวจพบความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้านพบว่าหมู่ 7 มีความชุกร้อยละ 35.00 และหมู่ 10 ร้อยละ 37.50 (มาตรฐานในพื้นที่ระบาดเท่ากับร้อยละ 0) โดยพบลูกน้ำยุงลายทั้งภาชนะในบ้านและนอกบ้าน ได้แก่ ที่รองขาตู้กันมด ถังน้ำใช้ ภาชนะที่ไม่ใช้ ต้นบอนกระดาษ จานรองกระถาง อ่างบัว และน้ำเลี้ยงสัตว์ ผลการศึกษาด้านกีฏวิทยาพบเพียงยุงลายบ้านเพศเมียจำนวน 4 ตัว โดยทุกตัวเคยผ่านการวางไข่มาแล้ว ผลการศึกษาการรับรู้และความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนพบว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ดำเนินการกำจัดแหล่งวางไข่ยุงลายภายในบ้านและบริเวณบ้านร้อยละ 100.00 ประชาชนได้รับการแจ้งหรือประชาสัมพันธ์เมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 93.10 และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายควรเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านร้อยละ 48.61 ควรเป็นหน้าที่ของประชาชนร้อยละ 37.50 และเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขร้อยละ 13.89 ภายหลังจากดำเนินการสื่อสารความเสี่ยง การพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในบ้านและนอกบ้านด้วยเครื่องพ่นฝอยละออง (ULV) ติดรถยนต์และเครื่องพ่นสะพายไหล่ มาตรการสุ่มไขว้ประเมินความชุกของลูกน้ำยุงลาย และการจัดทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันโรค ทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เด็งกีได้ และไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/267496 ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ของทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น 2024-01-18T14:38:04+07:00 วนิดา ลาภโชค wanidalapchok@gmail.com นภาเพ็ญ จันทขัมมา napaphen.jan@stou.ac.th องค์อร ประจันเขตต์ ong-on_p@rtanc.ac.th <p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ของทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น ที่ติดนิโคติน สูบบุหรี่ 1 ปีขึ้นไป และอยู่ในขั้นลังเลใจที่จะเลิกบุหรี่ จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ที่สร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างแรงจูงใจ โดยอ้างอิงทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ 3) แบบประเมินพฤติกรรมเลิกบุหรี่ 4) แบบประเมินระดับการติดนิโคติน 5) แบบประเมินขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่ 6) การวัดระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยค่าดัชนีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิแอลฟ่าของคอนบราคมากกว่า 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซันซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ พฤติกรรมเลิกบุหรี่ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ระดับการติดนิโคตินและระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ หลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value&lt;0.001 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบก่อนทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ พฤติกรรมเลิกบุหรี่ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีระดับการติดนิโคติน ระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <em>p</em>&lt;0.001</p> <p> ข้อเสนอแนะควรนำโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ไปใช้ในกลุ่มทหารใหม่และมีการประเมินการติดนิโคตินทุกราย<span style="font-size: 0.875rem;"> </span></p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/266542 การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิส เขตสุขภาพที่ 5 2023-10-17T09:21:01+07:00 สงกรานต์ ดีรื่น songkran_kan@yahoo.com <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิสของเขตสุขภาพที่ 5 ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในปี พ.ศ. 2565 ของเขตสุขภาพที่ 5 จากแหล่งข้อมูลในจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และเพชรบุรี คือข้อมูลสุขภาพ 43 แฟ้ม (รหัส ICD-10) และโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคตามรหัส ICD – 10 ที่กำหนด และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิส</p> <p> จากการทบทวนและสืบค้นเวชระเบียนผู้ป่วยตามรหัส ICD - 10 J62, J63, J64, J65, J40, J41, J42, J43, J44 และ J47 จำนวน 777 ราย พบการรายงานผู้ป่วยจำนวน 15 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตามนิยามที่กำหนดจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 0.77) มีความไวของการรายงานร้อยละ 100.00 และค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 40.00 ด้านคุณภาพของข้อมูลพบมีการบันทึกข้อมูลเพศ อายุ ร้อยละ 100.00 มีการบันทึกข้อมูลอาชีพที่ระบุถึงการสัมผัสฝุ่นหินร้อยละ 46.66 และมีการบันทึกข้อมูลอาชีพแต่ไม่ระบุถึงการสัมผัสฝุ่นหินร้อยละ 53.33 โดยระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิสได้รับการยอมรับมีความยืดหยุ่น มีความมั่นคงและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้</p> <p> จากผลการศึกษาดังกล่าว เสนอแนะให้หน่วยงานส่วนกลางมีการพัฒนาระบบโปรแกรมหรือรูปแบบการบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาลให้มีการบันทึกถึงลักษณะการทำงานหรือสิ่งคุกคาม และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพ การรายงานโรค การวินิจฉัยและการส่งต่อ ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/267285 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2024-03-25T17:58:14+07:00 อภิชัย ลิมานนท์ apichai098@gmail.com สม นาสอ้าน somnasaarn@gmail.com ทิพาพร ราชาไกร tipaphon.ra@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 32 คน จากการคำนวณขนาดอิทธิพล (effect size) ดำเนินการระหว่าง มกราคม ถึง มิถุนายน 2566 โดยประยุกต์แนวคิดของ Nutbeam และ Mezirow จัดเป็นโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 10 กระบวนการ 7 กิจกรรม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบบันทึกส่วนบุคคล แบบสอบถาม แบบประเมิน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว และความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired Sample T-Test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลองระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Mean difference: 11.93; 95%CI: 9.48-14.37) ความรู้ในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Mean difference: 42.44; 95%CI: 35.27-49.62) ระดับพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาวะสุขภาพทางกาย น้ำหนักตัว ระดับดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิตตัวบน และตัวล่าง น้อยกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงสรุปได้ว่ารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และภาวะสุขภาพทางกายที่ดีขึ้น เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269926 ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 2024-03-25T10:24:02+07:00 ชลธิชา หล่าอุดม naphakamon.mon@gmail.com อนุพงศ์ สุขใจ naphakamon.mon@gmail.com <p> อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก ต้องมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ถูกต้องให้กับประชาชนในชุมชน การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการสุ่มแบบเป็นระบบ จำนวน 381 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การรู้เท่าสื่อ และการจัดการตนเอง และตัวแปรตามด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบถดถอยลอจิสติก</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ อสม.ที่มีทักษะการสื่อสารในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 5.19 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านทักษะการสื่อสารในระดับน้อยถึงปานกลาง (OR<sub>Adj</sub>=5.19; 95%CI=1.82-14.78) อสม.ที่มีทักษะการตัดสินใจในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 3.97 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านทักษะการตัดสินใจในระดับน้อยถึงปานกลาง (OR<sub>Adj</sub>=3.97; 95%CI=1.28-12.29) และ อสม.ที่มีการจัดการตนเองในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 9.41 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านการจัดการตนเองในระดับน้อยถึงปานกลาง (OR<sub>Adj</sub>=9.41; 95%CI=3.11-28.39) ดังนั้น อสม.ควรได้รับการส่งเสริมด้านทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ และการจัดการตนเองในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อให้สามารถสื่อสารความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรคไข้เลือดออก</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269779 ผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน แบบบูรณาการความร่วมมือ ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น 2024-05-10T22:19:53+07:00 กมล ศรีล้อม kamolsrilom@gmail.com เหมชาติ นีละสมิต hemnee2517@gmail.com ณภัทรพงษ์ หงษีทอง odontotarn@hotmail.com <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน แบบบูรณาการความร่วมมือผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเป้าหมาย 61 คน เป็น คณะกรรมการ พชอ. ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับตำบล เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกประเด็นอภิปราย/กิจกรรม/การประเมินผล แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 1) การวิเคราะห์ปัญหาสภาพการดำเนินงานพบว่า พฤติกรรมการขับขี่ จุดเสี่ยง ยานพาหนะ สาเหตุการเสียชีวิต กวดขันวินัยจราจร และความร่วมมือของหน่วยงาน 2) รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน มี 4 โครงการคือ การบูรณาการความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน การพัฒนาชุมชนต้นแบบขับขี่ปลอดภัย การแก้ไขจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอำเภอซำสูง และสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิต และ 3) ผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่า การมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพ อยู่ระดับมากที่สุด ชุมชนต้นแบบด้านการขับขี่ปลอดภัย ในระหว่างปีพ.ศ.2560 – 2565 ผู้บาดเจ็บ 442, 316, 289, 333, 360 และ 161 ราย และผู้เสียชีวิต 4.21, 4.21, 8.42, 29.56, 12.56 และ 8.42 ต่อแสนประชากร และเป็นอำเภอดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากจราจรทางถนนระดับอำเภอในระดับดีเยี่ยม </p> <p> ควรมีการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกคณะกรรมการ พชอ. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269331 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ของเยาวชน : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 2024-03-05T11:12:04+07:00 ปริญญา ดาระสุวรรณ์ parinya.da2020@gmail.com ณัฐกฤตา ศิริโสภณ parinya.da2020@gmail.com <p> การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 ฐานข้อมูลที่มีการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับการตีพิมพ์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นบทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า มีบทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 13 เรื่อง ซึ่งมีปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ได้แก่ เจตคติในการไม่บริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ และการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน</p> <p> ข้อเสนอแนะจากข้อค้นพบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชนครั้งนี้ นักวิจัยและผู้ที่สนใจการสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ควรนำองค์ประกอบที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนารูปแบบหรือกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ตามบริบทของพื้นที่ต่อไป</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269088 ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย 2024-03-19T16:25:51+07:00 พีรญา พาอ่อนตา phornphan.pn@gmail.com วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา Veena@cas.ac.th ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล thidaratana@cas.ac.th <p> การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 2 โรงเรียน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ) กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่พัฒนาขึ้น และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบไปด้วย 1) ความรู้ 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค 4) พฤติกรรมการป้องกันโรค และ 5) ความพึงพอใจในการใช้โปแกรมฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนานำเสนอ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์เปรียบเทียบ ด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังจากการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูุมิคุ้มกัน และระดับพฤติกรรมสุขภาพในระดับที่สูงขึ้น แตกต่างจากก่อนการใช้โปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value&lt;0.001 รวมถึงความพึงพอใจภายหลังการได้รับโปรแกรมฯของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมากที่สุด </span>( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.84, S.D.=0.17) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และพฤติกรรมสุขภาพที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value&lt;0.001</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/269396 ผลการพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ โดยใช้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เขตสุขภาพที่ 7 2024-05-09T15:53:56+07:00 กังสดาล สุวรรณรงค์ pudong10@yahoo.com ชุติมา วัชรกุล wachrakul@yahoo.com เนตรชนก พันธ์สุระ khongkwanka_kj@gmail.com รัตนาภรณ์ ยศศรี rattanaporn_kk@yahoo.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคโดยแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ผู้บริหาร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระยะเวลาการวิจัยเดือนตุลาคม 2562 ถึง เดือนธันวาคม 2565 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอใช้กระบวนการ PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ วางแผน (Planning) ปฏิบัติการ (Action) สังเกตการณ์ (Observation) สะท้อนผลลัพธ์ (Reflecting) ระยะที่ 3 การประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 ยังไม่มีแนวทางและกลไกการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่ชัดเจน ระยะที่ 2 วางแผนการพัฒนา นำความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากำหนดได้กลยุทธ์คือ GDL2C คือ G:Goal กำหนดเป้าหมายแนวทางการพัฒนาร่วมกัน D: Deployment สื่อสารถ่ายทอดให้เข้าใจร่วมกัน L:Learning การปรับปรุงวิธีทำงาน พัฒนาศักยภาพ แบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ C: Collaboration การเชื่อมโยงสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน C: Continuous ความต่อเนื่องของการดำเนินงาน ระยะที่ 3 ติดตามประเมินผล ผลลัพธ์การใช้แนวทางและกลไกการพัฒนา พบว่า คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน มีการนำข้อมูลมิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจมาวิเคราะห์และสอดคล้องกับการเลือกประเด็นปัญหาในพื้นที่ มีการสื่อสารถ่ายทอดและกำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ชัดเจน รูปแบบกิจกรรมทำงานเชิงรุกมากขึ้นและผลลัพธ์ของการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่นำร่องเป็นไปตามเกณฑ์ที่อำเภอวางไว้ ดังนั้นแนวทางและกลไกที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในเขตสุขภาพที่ 7 ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/270745 การวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา 2024-05-11T11:05:00+07:00 นิฐิคุณ เขียวอยู่ nithikun@yahoo.com <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน เครือข่ายสุขภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 400 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความรู้ การสร้างแนวทางการพัฒนา การสร้างแนวทางปฏิบัติ และการสรุปประเมินผล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้สถิติ t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 64.25) มีอายุเฉลี่ย 47.65 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 46.75) มีบทบาทในการมีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนงาน (ร้อยละ 100.00) มีการจัดการความเสี่ยงในครัวเรือนและชุมชน (ร้อยละ 100.00) ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หลังการพัฒนาการมีส่วนร่วม ด้านความรู้ ด้านพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผน การมีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนหรือกิจกรรม การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามผล การสนับสนุนและความพึงพอใจการมีส่วนร่วม ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน เครือข่ายสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สูงกว่าก่อนการพัฒนา โดยค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.05) 2) แนวทางตามแผนการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ 2.1) การสร้างความรู้ 2.2) การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.3) การพัฒนากิจกรรม 2.4)การสนับสนุนการปฏิบัติการ 2.5)การประเมินผล ถอดบทเรียน ข้อเสนอด้านนโยบาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นำผลการวิจัยเข้าสู่นโยบายระดับจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้านการปฏิบัติ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง ด้านการวิจัย ควรมีการวิจัยถอดบทเรียนเพื่อขยายผลพื้นที่อื่นๆ ต่อไป</p> <p> </p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/271234 ความสัมพันธ์ของภาวะความเครียดกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น 2024-05-21T14:46:01+07:00 ธรณิศ สายวัฒน์ thoranits@gmail.com นวลละออง ทองโคตร thoranits@gmail.com สรัญญา เปล่งกระโทก thoranits@gmail.com นภาพร ชิลนาค thoranits@gmail.com ศักดิ์ขรินทร์ นรสาร thoranits@gmail.com ปิยนุช ภิญโย thoranits@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.18 อายุเฉลี่ย 66.82 ปี (S.D. = 8.71) สถานภาพสมรส ร้อยละ 62.73 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 89.09 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 31.82 ค่ามัธยฐานของรายได้ 6,425.45 บาท ระยะเวลาในการป่วยเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 10.71 ปี (S.D. = 6.59) ระดับน้ำตาลในเลือด 3 เดือนย้อนหลังสูงสุดคือเดือนที่ 3 เฉลี่ย 152.09 mg% (S.D. = 64.34 mg%) และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ร้อยละ 66.36 ระดับความเครียดอยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 46.36 ระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ร้อยละ 43.64 เครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก ร้อยละ 5.45 เครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติปานกลาง ร้อยละ 3.64 และเครียดในระดับต่ำ ร้อยละ 0.91 โดยพบความเครียดมีความสัมพันธ์น้อย กับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (r= -0.22, p-value = 0.01)</p> <p> จากผลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรมีการคัดกรองภาวะความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้พื้นที่สามารถวางแผนดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และป้องกันการเกิดผลกระทบเชิงลบจากภาวะความเครียดสะสม ตลอดจนช่วยลดความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาวต่อไป</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/271093 การพัฒนานโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกล โดยกลไกความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2024-05-16T10:18:10+07:00 สมบัติ ทั่งทอง bat10851@hotmail.com กานต์นะรัตน์ จรามร bat10851@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายและประเมินผลการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกลโดยกลไกความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดฉะเชิงเทรา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงนโยบาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ บุคลากรสาธารณสุข บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วยเหลือดูแลและผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง การสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า นโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ระยะไกล จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) กำหนดให้การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ทางไกลให้เป็นวาระหลัก 2) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเจ้าภาพหลักในการระดมทรัพยากร 3) พัฒนาทักษะการใช้ระบบการสื่อสารทางไกลสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 4) ประชาสัมพันธ์ระบบการแพทย์ทางไกลและระบบสารสนเทศการแพทย์การไกล (Dash Board) เพื่อความเข้าใจของชุมชนและเพิ่มความครอบคลุมการเข้าถึงบริการและ 5) สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานด้านสาธารณสุขเพื่อติดตามผลการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง และผลการประเมินนโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ระยะไกล พบว่าการจัดบริการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดฉะเชิงเทราในภาพรวมพบว่ามีการปฏิบัติในระดับมาก ( =3.55, S.D=0.80) และเมื่อพิจารณารายด้านทั้งด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่ามีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน โดยด้านสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.10, S.D.=0.85 รองลงมาได้แก่ด้านปัจจัยนำเข้า (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.41, S.D.=0.76) ด้านกระบวนการ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.33, S.D.=1.02) และด้านผลผลิต (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.25, S.D.=1.12) ซึ่งผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและจัดระบบการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกล</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/260493 ประสบการณ์และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง 2024-06-16T12:52:17+07:00 ปิยาภรณ์ พงษ์ประยูร pengyaping17@gmail.com พรรณี บัญชรหัตถกิจ pannee.ban@vru.ac.th รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว pannee.ban@vru.ac.th <p> การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเข้ารับการรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็มในมุมมองของผู้ป่วย เก็บข้อมูลหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการรักษาฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มจำนวน 10 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 10 คน</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มและผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75 มีอายุเฉลี่ย 48.54 ปี อายุน้อยที่สุดคือ 28 ปี อายุมากที่สุดคือ 79 ปี สถานภาพสมรสส่วนใหญ่คู่ (สมรส/อยู่ด้วยกัน) ร้อยละ 65.0 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษา ร้อยละ 83.0 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 72.0 ประสบการณ์การเลือกใช้การรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู ในมุมมองของผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มอย่างน้อย 20 ครั้ง เกิดจากพฤติกรรม 4 ด้านคือ ทัศนคติ ความเชื่อ ความไว้ใจในการรักษา และความรู้เข้าใจในการรักษา ส่วนผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็ม พบว่า ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ก่อนการฝังเข็มอยู่ในช่วงคะแนน 9-11 คะแนน (ภาวะพึ่งพิงปานกลาง) หลังการฝังเข็มมีคะแนนอยู่ในช่วง 12-20 คะแนน (ไม่เป็นการพึ่งพิง) และมีความพึงพอใจในการรับการรักษาด้วยการฝังเข็มจากการบริการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริการที่ประทับใจ ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการที่เป็นมิตร ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร และด้านสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย</p> <p><strong> </strong>ดังนั้น ประสบการณ์การเลือกใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็ม สามารถสร้างความมั่นใจทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีขึ้น ควรนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยการบริการฝังเข็มสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูต่อไป</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น