TY - JOUR AU - สายวัฒน์, ธรณิศ AU - คําทะเนตร, สายใจ AU - ศรีโอษฐ์, พัฒนี PY - 2022/08/04 Y2 - 2024/03/29 TI - ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตีตราและพฤติกรรมของผู้ป่วยวัณโรคในหมู่บ้าน ที่มีผู้ป่วยซ้ำซากพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น JF - วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น JA - jdpc7kk VL - 29 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/254982 SP - 1-14 AB - <p>            การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตีตราในมุมมองของผู้ป่วยวัณโรคในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยซ้ำซากพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น  และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรคในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยซ้ำซากพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการวิจัย เป็นการสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยวัณโรค 42 คน ประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแซง  24 คน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเล็บเงือก 18 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา </p><p>             ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย (  = 61.4 ปี, S.D.= 10.6) สถานภาพสมรส  น้ำหนักเฉลี่ย (  = 53.2 กก., S.D. = 8.6)  ส่วนสูงเฉลี่ย ( =161.4 ซม., S.D. = 8.0) และมีโรคประจำตัว /โรคร่วม เป็นโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  อาศัยอยู่บ้านสองชั้น พื้นที่บ้านเฉลี่ย     ( = 131.7 ตร.ม., S.D. = 62.2)  ความหนาแน่นค่าเฉลี่ย (  = 41.6 ตร.ม.ต่อคน, S.D. = 27.6) จำนวนหน้าต่างค่าเฉลี่ย (  = 5.4 บาน, S.D. = 7.4)  นำที่นอนหมอนมุ้งผึ่งแสงแดดสัปดาห์ละ 1-2 วันต่อสัปดาห์  ทำความสะอาดบ้านทุกวัน  โดยผู้ป่วยวัณโรค ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการต้องขัง  มีประวัติการสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค สูบบุหรี่  ดื่มแอลกอฮอล์  มีการออกกำลังกาย  1 - 2 วัน/สัปดาห์  สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น บ้วนเสมหะลงในภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำลายเสมหะโดยการเผา และระดับการตีตราของผู้ป่วยวัณโรคในมุมมองของผู้ป่วยวัณโรค ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.05, S.D. = 0.57)</p><p>            โดยสรุปผลการศึกษา การตีตราของผู้ป่วยวัณโรคในมุมมองของผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในระดับปานกลาง ควรมีการวางแผนการดูแล และการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคอย่างต่อเนื่องจากทีมสหวิชาชีพ เพื่อลดการตีตราตนเองของผู้ป่วยวัณโรค ตลอดจนเสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้ป่วยวัณโรคพฤติกรรมในการดูแลตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อวัณโรคมีสภาพจิตใจที่คลายความวิตกกังวลและลดปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน</p> ER -