TY - JOUR AU - ชายเกลี้ยง, สุนิสา AU - อาจแก้ว, กนกวรรณ AU - พฤกษ์ธาราธิกูล, วิชัย AU - ตฤณวุฒิพงษ์, กรรณิการ์ PY - 2020/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยเทคนิค BRIEFTM Survey และการสัมผัสความสั่นสะเทือนที่มือและแขนของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น JF - วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น JA - jdpc7kk VL - 27 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/239550 SP - 67-79 AB - <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และระดับความสั่นสะเทือนที่มือและแขนของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น โดยจำแนกกลุ่มตัวอย่างตามลักษณะงานและการสัมผัสปัจจัยที่คล้ายคลึงกัน (Similar Exposure Group: SEG)&nbsp; ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ทั้งหมด 30 SEG ใช้แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกไม่สบายบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย แบบสังเกตท่าทางการทำงานเพื่อการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์เบื้องต้นด้วยวิธี BRIEF’s survey ความเสี่ยงเป็น 4 ระดับ และประเมินการสัมผัสความสั่นสะเทือนที่มือและแขนตลอด 8 ชั่วโมงการทำงาน (Vibration Daily Expose: A(8)) ด้วยเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Meter) และชุดหัววัด (hand-arm sensors) พร้อมโปรแกรมสำเร็จรูป&nbsp; พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในระดับ 4 (ความเสี่ยงสูงมาก) ทั้ง 4 ส่วนของร่างกายสูงสุด คือ บริเวณลำตัวร้อยละ 31.37 รองลงมาคือบริเวณคอ รยางค์ส่วนบนและรยางค์ส่วนล่างร้อยละ 23.53, 22.22 และ 19.61 ตามลำดับ ส่วนลักษณะงานที่มีความเสี่ยงในระดับ 4 (ความเสี่ยงสูงมาก) คือ SEG 13 พนักงานเช็ครั่ว-เคาะสเก็ดมิกซ์ (แผนกเช็ครั่ว) พบความเสี่ยงบริเวณรยางค์ส่วนบนและคอร้อยละ 84.62 เท่ากัน &nbsp;ด้านการรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณรยางค์ส่วนบนพบว่ามีระดับความรู้สึกไม่สบายสูงสุดในลักษณะงาน SEG 05 พนักงานประกอบ-เตรียมงาน &nbsp;SEG 13 พนักงานเช็ครั่ว-เคาะสเก็ดมิกซ์และ SEG 27 พนักงานประกอบชิ้นงาน เป็นกลุ่มงานที่มีความรุนแรงของความรู้สึกไม่สบายบริเวณรยางค์ส่วนบนสูงสุด&nbsp; ผลการตรวจวัดระดับความสั่นสะเทือนที่มือและแขนพบว่า SEG 30 พนักงานสร้างเครื่องและแม่พิมพ์ (shop) มีค่า A(8) สูงสุดเท่ากับ 0.131 m/s<sup>2</sup>&nbsp; เมื่อพิจารณาความสั่นสะเทือนแบบแยกความถี่พบว่าทุก SEG มีระดับความสั่นสะเทือนในช่วงความถี่ 25-50 Hz. ที่ส่งผลต่อความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณรยางค์ส่วนบน ดังนั้นองค์กรและหน่วยงานความปลอดภัยควรจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพทางด้านการยศาสตร์ของพนักงาน โดยเฉพาะความเสี่ยงบริเวณรยางค์ส่วนบนและลำตัวในงานที่ต้องสัมผัสกับเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีความสั่นสะเทือนที่มือ รวมถึงการปรับปรุงสถานีงาน การลดขั้นตอนการทำงานที่ทำให้เกิดการทำงานในท่าทางซ้ำๆ เพื่อประสิทธิภาพของการทำงานและความปลอดภัยของพนักงาน</p> ER -