@article{ภูอาษา_2021, title={ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์}, volume={28}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/252855}, abstractNote={<p>การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการใช้สารเสพติดในวัยรุ่นมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ถึงขนาดของปัญหา และปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดการปฏิบัติพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น จึงทำการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อประมาณค่าความชุกและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านพฤติกรรมทางเพศ และด้านการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุ 12-19 ปี เป็นนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายที่เรียนในโรงเรียนพื้นที่อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 530 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประมาณค่าความชุก และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วยวิธีถดถอยพหุลอจิสติก รายงานค่าความสัมพันธ์ด้วย OR<sub>adj.</sub> และ 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>       ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.83 กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 59.43 สูบบุหรี่ ร้อยละ 10.75 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 15.28 มีประสบการณ์ใช้สารเสพติดอื่นๆร้อยละ 5.66 ความชุกด้านการใช้สารเสพติดทุกชนิด ร้อยละ 20.19 (95%CI; 16.85-23.68) และมีความชุกพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 6.42 (95%CI; 4.48-8.84) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมปลาย (OR<sub>adj</sub> =3.49; 95%CI: 1.51-8.05) การดูสื่อหรือคลิปที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ (OR<sub>adj</sub> =8.31; 95%CI: 3.64-18.96) และการมีพฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR<sub>adj</sub> =4.40; 95%CI: 1.95-9.94) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) และกลุ่มตัวอย่างเพศชาย (OR<sub>adj</sub> =2.78; 95%CI: 1.72-4.50) มีอายุ 16 ปีขึ้นไป (OR<sub>adj</sub> = 2.10; 95%CI: 1.29-3.41) มีบิดาหรือมารดาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR<sub>adj</sub> = 2.46; 95%CI: 1.35-4.47) มีบิดาและมารดาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR<sub>adj</sub> = 2.87; 95%CI: 1.53-5.39) และการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (OR<sub>adj</sub> =7.70; 95%CI: 3.36 – 17.65)  มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)</p> <p>            ดังนั้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริม สนับสนุนการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมในวัยรุ่น การสร้างกิจกรรมในครอบครัวที่สร้างสรรค์เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อป้องปรามและลดการปฏิบัติพฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆ ของวัยรุ่นได้</p>}, number={3}, journal={วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น}, author={ภูอาษา อรรถพล}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={1–11} }