ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาวัณโรคไม่สำเร็จในผู้ติดเชื้อร่วม เอชไอวี-วัณโรค จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นพดล พิมพ์จันทร์ Banyangbor-e Tambol Health Promotion Hospital
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • นงลักษณ์ เทศนา The Offce of DPC 6, Khon Kaen provinc

คำสำคัญ:

วัณโรค, เอชไอวี/โรคเอดส์, การติดเชื้อร่วม, ผลการรักษาวัณโรคไม่สำเร็จ

บทคัดย่อ

ัณโรคเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเสียชีวิตจากรายงานทางระบาดวิทยาพบว่า อัตราการติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์เพิ่มขึ้น แต่ยังขาดข้อมูลผลการรักษาวัณโรคในผู้ติดเชื้อร่วมวัณโรคและเอชไอวี (TB/HIV) จึงทำการศึกษาแบบ Retrospective Cohort Studyเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาวัณโรคไม่สำเร็จในผู้ป่วย TB/HIV จำนวน 466 คน ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยและรับการรักษาวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้น ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2549-สิงหาคม พ.ศ. 2554 ในโรงพยาบาลชุมชน 13 แห่ง และโรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่งในจังหวัดสุรินทร์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการรักษาและรายงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทั่วไปและผลการรักษาวัณโรควิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาวัณโรคไม่สำเร็จใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก รายงานค่าความสัมพันธ์ด้วยค่า Relative risk
(RR) และช่วงเชื่อมั่นที่ 95% (95%CI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA 8.20 กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการรักษาวัณโรคในช่วงต่อเนื่องมีผู้ป่วยไม่ประสบความสำเร็จในการรักษาวัณโรคจำนวน 138 คน (ร้อยละ 29.61) ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันโรคฉวยโอกาส 344 คน (ร้อยละ 73.82) และได้รับยาต้านไวรัส 321 คน (ร้อยละ 68.88) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการรักษาวัณโรคไม่สำเร็จ คือ การรักษาวัณโรคด้วยสูตรยา CAT 2 (RRadj=3.72, 95%CI: 1.05-13.17), CAT 4 หรือยาขนานอื่น (RRadj=3.05, 95%CI: 1.07-8.64)ผู้ป่วยที่มีระดับเซลล์ CD4 < 25 cell/µl และไม่ทราบระดับเซลล์ CD4 เมื่อเริ่มต้นรักษาวัณโรค (RRadj=2.81, 95%CI: 1.01-7.85 และ RRadj=3.14, 95%CI : 1.16-8.48) ผู้ป่วยอยู่ในระยะเอดส์เต็มขั้น (RRadj=6.48, 95%CI: 2.36-17.78) ผู้ป่วยที่ยังสูบบุหรี่ (RRadj=4.14, 95%CI: 1.47–11.59) และ ผู้ป่วยที่มีอัตราการเกาะติดยาต้านวัณโรคและยาต้านไวรัสที่ต่ำ(RRadj=4.68, 95%CI: 2.37-9.23 และ RRadj=30.77, 95%CI: 11.95-79.24) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (RRadj=0.41, 95%CI: 0.18-0.97) และสูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (RRadj=0.20, 95%CI: 0.02-0.28) ผู้ป่วยที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกสูบแล้ว (RRadj=0.29, 95%CI: 0.11-0.80)ผู้ป่วยที่ได้รับยา Fluconazole (RRadj=0.18, 95%CI: 0.04-0.83) ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสก่อนการรักษาวัณโรคมีโอกาสเสี่ยงน้อยที่จะเกิดผลการรักษาวัณโรคไม่สำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัส (RRadj= 0.04, 95%CI: .01-0.12) และผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสขณะรักษาวัณโรคก็เป็นปัจจัยป้องกันการเกิดผลการรักษาวัณโรคไม่สำเร็จ (RRadj= 0.03, 95%CI: 0.01-0.09) ดังนั้นการให้คำปรึกษาและความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อเลิกสูบบุหรี่การปฏิบัติตามแนวทางการให้ยาป้องกันโรคฉวยโอกาสอย่างเคร่งครัดและหาวิธีการเพิ่มอัตราการเกาะติดยาต้านไวรัสและยารักษาวัณโรค จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการรักษาวัณโรคไม่สำเร็จได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-15