ปัจจัยด้านสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าในเด็กปฐมวัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • โสภา เหมือนประสาน
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, พัฒนาการ, พัฒนาการสงสัยล่าช้า

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบ Case – control study เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย ในพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยศึกษาในเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติฯ กลุ่มศึกษา จำนวน 70 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 210 รายรวม 280 ราย ทำการศึกษาทั้งหมด 16 ตำบล เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย ในพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์เก็บรวบรวมข้อมูล 22 เดือนกุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวทีละคู่ด้วยสถิติวิเคราะห์ไคสแคว์ (Chi-square test) นำเสนอค่า P-value ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์หลายตัวแปร ด้วยพหุถดถอยแบบโลจิสติก (Multiple Logistic Regression)ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ทีละตัวแปร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดพัฒนาการสงสัยล่าช้า แต่ไม่มี
นัยาคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ได้แก่รายได้ของผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดู (OR=1.54, 95% CI: 0.96-3.64) และความเพียงพอของค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว (OR=1.36, 95% CI: 0.11-2.56) สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์หลายตัวแปรพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะพัฒนาการสงสัยล่าช้า แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีอยู่ 2 ปัจจัยได้แก่รายได้ของผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดู (OR= 1.84 ; 95% CI = 0.47 - 1.49) ความเพียงพอของค่าใช้จ่ายในครอบครัว(OR = 1.53; 95% CI = 0.19 - 2.67)จากผลการศึกษาครั้งนี้ในปัจจัยด้านสังคมชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม และเศรษฐกิจในครอบครัวที่มีรายได้ไม่เพียงพอ ต้องปรับวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ต้องไปทำงานต่างถิ่น เด็กจึงได้รับการเลี้ยงดูจากสถานรับเลี้ยงหรือปู่ ย่า ตา ยาย ผู้สูงอายุ ความผูกพันใกล้ชิดกับครอบครัวเริ่มลดน้อยลง เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนมักขาดโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนด้วยความไม่พร้อม จึงมีผลให้เกิดภาวะพัฒนาการสงสัยล่าช้า จึงควรมีการให้ความช่วยเหลือและดูแลเด็กปฐมวัยในกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เพื่อให้ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามช่วงวัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งด้านเศรษฐกิจครอบครัวและการสนับสนุนให้ได้รับเนื้อหาสาระจากสื่อประเภทต่างๆที่จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ รวมทั้งผู้เลี้ยงดูหลักควรได้รับความรู้และได้รับการกระตุ้นให้ใส่ใจในเรื่องพัฒนาการเด็กปฐมวัย อันจะส่งผลต่อพัฒนาการที่สมวัยของเด็กต่อไป

References

1. ปัทมา ว่าพัฒนาวงศ์,ปราโมทย์ประสาทกุล.ประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2548-2568.วารสารการฉายภาพสถาบันวิจัยประชากรและสังคม2549;21(2):33-42.

2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.วารสารแนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)2555;11(1):154-64.

3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการรณรงค์คัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยปี [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม2559]. เข้าถึงได้จากhttps://www.bie.moph.go.th/biechild.co.th

4. กรมสุขภาพจิต.รายงานการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย. วารสารสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข 2555; 6(3):65-75.

5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์.สรุปรายงานการคัดกรองพัฒนาการ รอบ 10 เดือน ปี 2559.(เอกสารอัดสำเนา).

6. กรมสุขภาพจิต.รายงานการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย. วารสารสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข 2559;21(2):77-8.

7. จินดา คำแก้ว,พรนภาศุกรเวทย์ศิริ.ศึกษาการเจริญเติบโตด้านพัฒนาการตามวัยของเด็กอายุตั้งแต่24 เดือนที่เกิดจากมารดาติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดศรีษะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2549; 2(1):58-76.

8. สกาวรัตน์ เทพรักษ์, ภภัสสร มุกดาเกษม, จรรยา สืบนุช, จารุณี จตุพรเพิ่ม. การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จังหวัดราชบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี 2558;17(4): 51-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-15