TY - JOUR AU - ตั้งใจรักการดี, จารุณี PY - 2019/02/28 Y2 - 2024/03/29 TI - การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในผู้ป่วยข้อสะโพกหลุดซ้ำ: กรณีศึกษา JF - Hua Hin Medical Journal JA - HuaHin Med. J VL - 3 IS - 1 SE - Case report DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/175176 SP - 7-12 AB - <p>ภาวะข้อสะโพกหลุดถือได้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉินในทางออร์โธปิดิกส์ที่จำเป็นต้องรีบแก้ไขอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะไม่ให้เกิดผลเสียตามมา การรักษาประกอบด้วย การวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว ทา Closed reduction under anesthesia เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยไม่เจ็บและไม่เกร็งกล้ามเนื้อ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ และผิวของข้อตะโพกได้ ในกรณีที่ไม่สามารถทา Closed reduction ควรพิจารณาทำ Open reduction ทันทีภาวะหลุดซ้ำของข้อสะโพก บางรายงานพบว่าเกิดจากการที่ immobilize ข้อสะโพกไม่เพียงพอ หลังจากการทำ Reduction ทำให้ Anterior capsule ที่ฉีกขาด ไม่แข็งแรง หรือเกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของข้อทำให้เกิดภาวะข้อสะโพกหลุดซ้าดังเช่นผู้ป่วยกรณีศึกษา จึงได้ทำการศึกษาความสำเร็จของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีสภาวะข้อสะโพกหลุดซ้ำ ไม่สามารถรักษาแก้ไขด้วยวิธี Closed reduction และ Open reduction ได้จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเจ็บปวด แก้ไขความผิดปกติของข้อสะโพก ผู้ป่วยได้รับการประเมินอาการ ได้รับคำแนะนำในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดให้การพยาบาลการผ่าตัดถูกคน ถูกข้าง ถูกตำแหน่ง การจัดท่าผ่าตัดอย่างปลอดภัย การเตรียมความพร้อมเครื่องมือผ่าตัด และเครื่องมือพิเศษ (Implant) รวมทั้งให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Sterile technique ป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดหลังผ่าตัดให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด เน้นการจัดท่าผู้ป่วยเพื่อป้องกันข้อสะโพกเทียมหลุด การฟื้นฟูหลังผ่าตัด รวมถึงการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำรงชีวิตตามปกติได้</p> ER -