เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal <p>เชียงรายเวชสาร เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2552 เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และงานวิจัยแก่ผู้ที่อยู่ในวงการสาธารณสุข&nbsp; รับบทความภาษาไทย ที่มีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ หรือบทความภาษาอังกฤษที่ให้ความรู้ใหม่ในการนำไปพัฒนางาน บทความมีผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ในการพิจารณากลั่นกรองก่อนลงตีพิมพ์ (double-blind peer review)&nbsp;&nbsp;</p> th-TH [email protected] (ผศ.(พิเศษ)เภสัชกรหญิง สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ) [email protected] (นางสาว จตุพร พันธะเกษม) Sun, 31 Dec 2023 23:52:42 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 เปรียบเทียบระยะเวลาในการเข้าทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองและการได้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มาห้องฉุกเฉินโดยระบบการแพทย์ฉุกเฉินกับการเข้ารับบริการเอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/262885 <p><strong>ความเป็นมา</strong> โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุรองจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะมีความพิการระยะยาว การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (acute ischemic stroke) ต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 3-4.5 ชั่วโมง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้ารับบริการผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉินคาดว่าจะเข้าถึงการดูแลรักษาได้เร็วขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการให้ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA และระยะเวลาในการเข้าทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉินเทียบกับผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการเองในห้องฉุกเฉิน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เป็นการศึกษารูปแบบ therapeutic efficacy research และ retrospective cohort study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากบันทึกเวชระเบียนในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2564 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test, rank sum test, exact probability test, univariable และ multivariable linear regression analysis</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> จากผู้ป่วยทั้งหมดที่ศึกษา 62 ราย แบ่งเป็นเข้ารับบริการผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 36 ราย และเข้ารับบริการเอง 26 ราย การเข้ารับบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินสามารถลดระยะเวลาในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาที่แพทย์เข้าตรวจในห้องฉุกเฉิน (<em>p</em>=0.026) มี mean difference 2.101 นาที (95%CI, 0.251 – 3.952) ระยะเวลาที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (<em>p</em>=0.024) มี mean difference 15.173 นาที (95%CI, 2.016 – 28.329) และระยะเวลาที่ได้เข้าหอผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (<em>p</em>=0.008) มี mean difference 18.071 นาที (95%CI, 4.678 – 31.464)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>และข้อเสนอแนะ</strong> การเข้ารับบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินสามารถลดระยะเวลาที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้ จึงควรมีการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งด้านผู้ให้บริการทางการแพทย์ และการเข้าถึงของประชาชน</p> ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ , ธัญจิรา ไชยแสง , จิรภัทร กันปลูก , โสรยา คำหา, จารุวรรณ มึกมณี , ภาลินี ประจันทะศรี , ศิรดา สวนแสดง , ฐิติโชติ คุ้มห้างสูง , สโรชา สุ่มสม Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/262885 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จังหวัดเชียงราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264486 <p><strong>ความเป็นมา: </strong>ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีผลกระทบที่รุนแรงเช่น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่มีผู้ป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบบัญชาการเหตุการณ์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภัยพิบัติทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข และมีนโยบายกระจายการดำเนินงานสู่ภูมิภาคในระดับจังหวัด แต่การดำเนินงานดังกล่าวต้องมีการปรับใช้ตามสถานการณ์ ศักยภาพองค์กร และบริบทในพื้นที่</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>1. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จังหวัดเชียงราย 2. เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดเชียงราย นำไปประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในรูปแบบเกิดพร้อมกัน ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากจากเอกสาร รายงานการถอดบทเรียน รายงานการประชุม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>จังหวัดเชียงราย ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์การระบาดของ<br />โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 วางระบบป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 โดยระบบบัญชาการเหตุการณ์ เพื่อบัญชาการและประสานระหว่างหน่วยงาน ด้วยหลัก 2P2R ได้แก่ การดำเนินงานป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม การตอบโต้ และการฟื้นฟู โดยอาศัยกลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงราย บูรณาการการดำเนินงานในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน การประเมินผลการดำเนินงานบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จังหวัดเชียงราย พบว่าอยู่ในระดับสูง (Mean=2.49, SD=0.63) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในจังหวัดเชียงราย ได้มีการปรับโครงสร้างการบัญชาการเหตุการณ์ให้เข้ากับสภาพปัญหาในพื้นที่และศักยภาพขององค์กร นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติและมาตรฐานการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคลากรทุกระดับและทุกภาคส่วน</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ: </strong>ก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จังหวัดเชียงรายไม่มีแผนเตรียมรับมือภัยพิบัติตามหลัก 2P2R และบทบาทผู้รับผิดชอบไม่ชัดเจน เมื่อเกิดเหตุการณ์พบปัจจัยความสำเร็จในด้านการบัญชาการเหตุการณ์ และความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่พบอุปสรรคในการวางแผนจัดการโรคอุบัติใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทพื้นที่และความหลากหลายของชนชาติพันธุ์ หลังเกิดเหตุการณ์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายจึงมีการเตรียมความพร้อมปรับปรุงแผนต่างๆ และปรับโครงสร้างการบัญชาการเหตุการณ์โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะควรมีการทบทวนแผน และบทบาทหน้าที่ตามผังโครงสร้างการบัญชาการเหตุการณ์ทุกปี</p> ณรงค์ ลือชา , ณัฐกานต์ ปวะบุตร Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264486 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/262679 <p><strong>ความเป็นมา : </strong>กระทรวงสาธารณสุขมุ่งพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการสุขภาพในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว การดำเนินงานเภสัชกรรมเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญ เพื่อการพัฒนายกระดับให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถดูแลประชาชนได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา : </strong>การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มประชากรที่เป็นผู้รับผิดชอบงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 78 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด การทดสอบของฟิสเชอร์ สถิติถดถอยพหุลอจีสติกและกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : ประชากรที่ศึกษา ร้อยละ 87.2 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 35.7 ปี ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข การศึกษาระดับปริญญาตรี รับผิดชอบงานเภสัชกรรมน้อยกว่า 5 ปี ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีขนาดกลาง ส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเภสัชกรรมและการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 82.1, 75.6 และ 76.9 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานเภสัชกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ร้อยละ 91.0 (95%CI: 82.4 - 96.3) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว คือ การได้รับการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐาน (p-value = 0.048) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (p-value = 0.001) และปัจจัยด้านการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (p-value =0.003)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>การได้รับการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรให้ความสำคัญ</p> ขนิษฐา อินทร์มณี , เอกพล กาละดี Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/262679 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 สาเหตุของการขาดนัดพบแพทย์ในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้น ที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264711 <p><strong>ความเป็นมา: </strong>โรคสมาธิสั้นในเด็กวัยเรียนของประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องโดยการรับประทานยาและปรับพฤติกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นที่ขาดนัด และมีการโทรศัพท์ติดตามผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการนัดหมายต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการขาดนัดอย่างเป็นระบบ ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาสาเหตุการขาดนัดเพื่อนำไปแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาอัตราการขาดนัด และสาเหตุของการขาดนัดในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้น ที่คลินิกปัญหาการเรียน แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาพรรณนาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่ขาดนัดจากบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 และสัมภาษณ์ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้นที่อายุน้อยกว่า 18 ปีทุกรายที่สามารถติดต่อได้และยินยอมเข้าร่วมงานวิจัยผ่านทางโทรศัพท์ โดยเก็บข้อมูลสาเหตุของการขาดนัดและข้อมูลอื่นๆ นำมาวิเคราะห์และนำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทำการวิเคราะห์กลุ่มย่อยเพื่อเปรียบเทียบสาเหตุการขาดนัดระหว่างผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอเมือง กับผู้ป่วยต่างอำเภอหรือต่างจังหวัด โดยใช้สถิติ exact probability test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p &lt;0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>ผู้ป่วยสมาธิสั้นทั้งหมด 1,053 ราย มีจำนวนนัด 3,655 ครั้ง มีจำนวนที่ขาดนัด 484 ครั้ง (ร้อยละ 13.24) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 139 ราย ผู้ป่วยสมาธิสั้นที่ขาดนัดอายุเฉลี่ย 10.34±2.15 ปี สาเหตุของการขาดนัดพบแพทย์ได้แก่ กลัวโรคโควิด-19 ระบาด ร้อยละ 62.59 ยาเหลือหรือรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ร้อยละ 47.48 ระยะทางไกลและเดินทางลำบาก ร้อยละ 27.34 ไม่สะดวกมาในวันที่นัด ร้อยละ 20.14 ปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ร้อยละ 19.42 อาการดีขึ้น ร้อยละ 18.71 เจ้าหน้าที่ไม่สื่อสารแนะนำข้อมูล ร้อยละ 7.19 ไม่เห็นผลลัพท์จากการรักษา ร้อยละ 5.76 ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ร้อยละ 5.04 ระยะรอคอยตรวจนาน ร้อยละ 2.88 และผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยา ร้อยละ 1.44 จากการวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่า ผู้ป่วยต่างอำเภอและต่างจังหวัดมีปัญหาเรื่องระยะทางไกลเดินทางลำบาก และมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากกว่าผู้ป่วยในเขตอำเภอเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001 และ p-value = 0.005 ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ:</strong> การขาดนัดในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้นมีหลายสาเหตุ การให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นและเพิ่มช่องทางในการเข้ารับการรักษา เช่น การแพทย์ทางไกล การส่งยาทางไปรษณีย์ การเปิดให้บริการดูแลโรคสมาธิสั้นในพื้นที่ห่างไกล โดยรูปแบบการให้บริการดังกล่าวต้องให้ความรู้ เน้นย้ำเรื่องความสำคัญของการใช้ยาต่อเนื่อง การปรับพฤติกรรม การเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา และมาตามนัด</p> เกศสุดา หาญสุทธิเวชกุล, ปรียารัตน์ เนตรสุวรรณ Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264711 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรตับที่คาดว่าจะเหลือหลังการผ่าตัดโดยการคำนวณจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนการผ่าตัดและภาวะตับวายเฉียบพลันหลังการผ่าตัด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264937 <p><strong>ความเป็นมา </strong><strong>: </strong>การผ่าตัดตับ (hepatectomy) เป็นการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะเริ่มต้น ภาวะตับวายหลังการผ่าตัด (post-hepatectomy liver failure) เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงหลังการผ่าตัดตับ และมีความเกี่ยวข้องกับปริมาตรตับที่คงเหลือหลังการผ่าตัด ในปัจจุบันนี้เราสามารถใช้เทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัด (future liver remnant) เพื่อประเมินผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดได้</p> <p>วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัดที่คำนวณด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และอัตราการเกิดภาวะตับวายหลังการผ่าตัด </p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) โดยสืบค้นเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดตับในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัด และปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับภาวะตับวายหลังการผ่าตัด ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์แบบการถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression)</p> <p><strong>ผลการศึกษา : </strong>ผู้ป่วยทั้งหมด 50 ราย พบภาวะตับวายเฉียบพลันหลังผ่าตัด 10 ราย (ร้อยละ 20) โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัดต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะดังกล่าว ค่าเฉลี่ยของปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัดอยู่ที่ร้อยละ 35.87 และ 66.41 ตามลำดับ มีค่านัยสำคัญทางสถิติ (p value) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.001 ค่าจุดตัด (cut-point value) ของปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัดที่ร้อยละ 45.94 เป็นค่าที่มีความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ที่ดีที่สุดในการทำนายการเกิดภาวะตับวายหลังการผ่าตัด ค่าความไวอยู่ที่ร้อยละ 90 และความจำเพาะอยู่ที่ 87.5 ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัดน้อยกว่าค่าจุดตัด อัตราส่วนในการเกิดภาวะตับวายหลังการผ่าตัดคือ 60.72 (Adj. Odds ratio เท่ากับ 60.72, 95% CI เท่ากับ 2.72-1,352 และ p value เท่ากับ 0.009)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>การประเมินผู้ป่วยร่วมกับการใช้ค่าปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัดที่คำนวณด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในระยะเวลาก่อนการเข้ารับการผ่าตัด จัดว่าเป็นวิธีที่มีความสำคัญซึ่งสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัดต่ำกว่าร้อยละ 45.94 ควรเพิ่มหัตถการก่อนการผ่าตัด เช่น Portal vein embolization) หรือportal vein ligation เพื่อเพิ่มปริมาตรตับที่เหลือหลังการผ่าตัด</p> ภาณุพงศ์ ราชอุปนันท์, กานติการ์ เชื้อหมอ Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264937 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการดูแลประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะท้าย เปรียบเทียบกับการดูแลตามมาตรฐาน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/265907 <p><strong>ความเป็นมา </strong><strong>: </strong>การดูแลประคับประคองมีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่คุกคามต่อชีวิต เพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ลดค่ารักษาพยาบาล และเพิ่มความพึงพอใจในการรับบริการ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีศูนย์ประคับประคองที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคดังกล่าว แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาด้านประสิทธิผล การศึกษานี้จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานและเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยของศูนย์ประคับประคองของโรงพยาบาล</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการดูแลประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะท้ายเทียบกับการดูแลตามมาตรฐาน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>ศึกษาแบบ Retrospective cohort study ในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะท้ายที่รักษา ณ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์และเสียชีวิตปีงบประมาณ 2564 - 2565 จำนวน 214 ราย แบ่งเป็นกลุ่มประคับประคอง 170 รายและกลุ่มมาตรฐานที่เสียชีวิตในช่วงเดียวกันแต่ไม่ได้ดูแลประคับประคอง 44 ราย โดยเปรียบเทียบประสิทธิผลการดูแล ได้แก่ การประเมินอาการ ได้รับยา strong opioid ทำ family conference การเข้าICU เสียชีวิต ณ สถานที่ตามต้องการ และค่ารักษาพยาบาลครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> : </strong>กลุ่มประคับประคองได้ประเมินและจัดการอาการมากกว่ากลุ่มมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) ได้รับยา strong opioid และทำ Family Conference เพื่อวางแผนการดูแลมากกว่า ทำ Invasive Procedure เช่น ใส่ท่อช่วยหายใจ ได้ Inotrope, CPR การเข้า ICU น้อยกว่ากลุ่มมาตรฐาน สถานที่เสียชีวิตของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57.40) เสียชีวิตตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบมาตรฐานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.09) ไม่ได้ตัดสินใจเรื่องสถานที่เสียชีวิต ด้านค่ารักษาพยาบาลช่วงท้ายของชีวิตในกลุ่มประคับประคองลดลง 9,005.94 บาทเมื่อเทียบกับกลุ่มมาตรฐาน</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะท้ายแบบประคับประคองเพิ่มประสิทธิผลในการประเมินและจัดการอาการด้วย strong opioid การวางแผนดูแลล่วงหน้า และการที่ผู้ป่วยได้เสียชีวิต ณ สถานที่ที่ต้องการ จึงควรประยุกต์ใช้รูปแบบการดูแลประคับประคองในผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้มากยิ่งขึ้น</p> Watcharin Ratanakasetsin, Pamornsri Inchon Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/265907 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ตำแหน่งที่เหมาะสมในการกดหน้าอกเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกดหน้าอกในตัวอย่างประชากรจังหวัดน่าน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/260739 <p><strong>ความเป็นมา :</strong> สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาแนะนำให้ใช้ตำแหน่งกึ่งกลางส่วนล่างของกระดูกหน้าอกในการวางมือเพื่อกดหน้าอกในการกู้ชีพ มีบางการศึกษาพบว่าตำแหน่งอื่นอาจเหมาะสมกว่าและในปัจจุบันที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลน่านใช้เครื่อง Corpuls quadboard และ LUCAS 3 v 3.1 ในการกดหน้าอกเป็นหลัก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางแป้นของเครื่องกดหน้าอกเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพในตัวอย่างประชากรจังหวัดน่าน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา : </strong>ศึกษาโดยเก็บข้อมูลในผู้ป่วยโรงพยาบาลน่านที่ได้รับการถ่ายภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ทรวงอกแบบฉีดสารทึบรังสี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 – 31 ธันวาคม 2562 หาระยะบนผิวหนังระหว่างจุดล่างสุดของกระดูกทรวงอกไปยังตำแหน่งต่างๆ ของหัวใจ ตับ และ กระเพาะอาหาร นำเสนอด้วย Mean<u>+</u>SD หากมีการกระจายตัวของข้อมูลแบบปกติหรือ Median (min, max) หากมีการกระจายของข้อมูลแบบไม่ปกติ ทดสอบการกระจายข้อมูลโดยใช้ Kolmogorov-Smirnova และหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางแป้นของเครื่องกดหน้าอกที่ทำให้กดผ่านตำแหน่งที่หัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดกว้างที่สุดโดยไม่โดนตับและกระเพาะอาหาร</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 333 ราย มีระยะจากจุดล่างสุดของกระดูกกลางหน้าอกถึงตำแหน่งบนสุดของกระดูกกลางหน้าอก กึ่งกลางของกระดูกกลางหน้าอก กึ่งกลางส่วนล่างของกระดูกกลางหน้าอก จุดบนสุดของหัวใจ ทางออกของหัวใจห้องล่างซ้ายสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ หัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดกว้างที่สุด บนสุดของกระเพาะอาหาร และบนสุดของตับเท่ากับ 188.8 <u>+</u> 18.31, 94.4 <u>+</u> 9.16, 47.2 <u>+</u> 4.58, 108.8 <u>+</u> 16.75, 61.08 <u>+</u> 15.85, 44.25 <u>+</u> 15.92, 0.66 <u>+</u> 21.45 และ 25.93 (-24.7, 91.42) มิลลิเมตร ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุปผลและข้อเสนอแนะ :</strong> จากผลการศึกษาพบว่าควรวางแป้นของเครื่องกดหน้าอก Corpuls quadboard ให้ศูนย์กลางของแป้นอยู่เหนือตำแหน่งกึ่งกลางส่วนล่างของกระดูกหน้าอกประมาณ 1.87 ซม. และวางแป้นของเครื่องกดหน้าอก LUCAS 3 v 3.1 ให้ศูนย์กลางของแป้นอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของกระดูกทรวงอก</p> สุวิชญา สุรพรไพบูลย์ Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/260739 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยทางคลินิกที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การฟื้นฟูสภาพระดับดี ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เข้าโครงการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางของจังหวัดเชียงราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264798 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในหอผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีข้อจำกัดเรื่องเตียงและระยะเวลาการนอน จึงมีการจัดบริการหอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางขึ้นในโรงพยาบาลชุมชน การหาปัจจัยพยากรณ์ผลลัพธ์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จะช่วยให้สามารถคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อส่งต่อไปยังหอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยทางคลินิกที่ส่งผลต่อระดับคะแนน Barthel index (BI) ในระดับดีของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการฟื้นฟูในโครงการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>การศึกษาย้อนหลัง จากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงเดือนมกราคม 2564 ถึง สิงหาคม 2565 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มตามระดับคะแนน BI หลังได้รับการฟื้นฟู 6 เดือน ได้แก่ กลุ่มที่มีผลลัพธ์ดี (BI &gt; 18) และกลุ่มที่มีผลลัพธ์ไม่ดี (BI &lt;9) เก็บข้อมูลพื้นฐานและผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test, rank sum test, exact probability test, multivariable logistic regression analysis กำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ <em>p</em>&lt;0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 240 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 62.92 อายุเฉลี่ย 59.75 ±13.01 ปี แบ่งเป็นกลุ่มผลลัพธ์ดี 160 ราย (ร้อยละ 66.67) และกลุ่มผลลัพธ์ไม่ดี 80 ราย (ร้อยละ 33.33) พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยกลุ่มผลลัพธ์ที่ดี ได้แก่ อายุน้อยกว่า 60 ปี (Adjusted OR=8.26, p=0.001) ไม่มีประวัติโรคความดันโลหิตสูง (Adjusted OR=4.32, p=0.03)หรือ ไตวายเรื้อรัง (Adjusted OR=7.96, p=0.03) ไม่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน (Adjusted OR=5.24, p=0.022) การไม่พบภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (Adjusted OR=19.46, p=0.007) และขณะก่อนส่งเข้าโครงการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวปกติ (Adjusted OR=6.29, p=0.048) และมีกำลังกล้ามเนื้อมากกว่าหรือเท่ากับ 3 (Adjusted OR=17.31, p= &lt;0.001)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ:</strong> ปัจจัยทางคลินิกดังกล่าว สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการช่วยคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อส่งต่อไปบำบัดฟื้นฟูที่หอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางในโรงพยาบาลระดับชุมชนได้ ในการศึกษาครั้งต่อไปควรเป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า เพื่อที่จะสามารถเก็บข้อมูลหรือปัจจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้องได้ครบถ้วนมากขึ้น</p> พสธร ศาลิคุปต Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264798 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยทางคลินิกที่ส่งผลต่อความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองในระดับดี ของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับปานกลาง และระดับรุนแรง ในระยะ intermediate care ของจังหวัดเชียงราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/266299 <p><strong>ความเป็นมา</strong> ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับปานกลางและระดับรุนแรงมีโอกาสเกิดความพิการได้มาก จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ในระยะกลาง (intermediate care, IMC) ซึ่งต้องส่งต่อให้โรงพยาบาลชุมชนฟื้นฟูต่อเนื่องในช่วงเวลา 6 เดือน การทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้ดี มีผลต่อการวางแผนฟื้นฟูและการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อส่งต่อให้โรงพยาบาลชุมชนในเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยทางคลินิกที่ส่งผลต่อความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองในระดับดี ของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับปานกลาง และระดับรุนแรง ในระยะ IMC ของจังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระยะ IMC</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยทบทวนจากเวชระเบียนอิเล็คโทรนิกส์ ในช่วงเดือน ตุลาคม 2564-ธันวาคม 2566 แบ่งกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองระดับปานกลางและระดับรุนแรง ตามผลลัพธ์คือ ระดับความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง ด้วยแบบประเมินคะแนน Barthel Index (BI) ที่ 6 เดือน แบ่งเป็นกลุ่มผลลัพธ์ดี คือ BI <u>&gt;</u> 15 คะแนน กลุ่มผลลัพธ์ไม่ดี คือ BI &lt; 15 คะแนน เก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ข้อมูลการรักษาและผลลัพธ์ในระยะเวลา 6 เดือน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วย t-test, exact probability test, multivariable logistic regression analysis กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p-value &lt;0.05</p> <p>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การที่ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะปอดอักเสบแทรกซ้อนขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล (Adjusted OR =4.84, 95%CI 1.35-17.35, p=0.015) ผล CT scan ไม่พบ hydrocephalus (Adjusted OR= 5.11, 95%CI 1.08-24.16, p=0.039) และ การที่ผู้ป่วยสามารถทำตามคำสั่งได้ก่อนจำหน่าย (Adjusted OR=3.90, 95%CI 1.10-13.82, p=0.035)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong></p> <p>การที่ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะปอดอักเสบแทรกซ้อนขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล ผล CT scan สมองไม่พบ hydrocephalus และการที่ผู้ป่วยสามารถทำตามคำสั่งได้ก่อนจำหน่าย เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้ดี สามารถนำมาใช้คัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงระดับปานกลางและรุนแรงที่สามารถส่งต่อเพื่อฟื้นฟูต่อเนื่องที่ รพ.ชุมชนได้ รวมทั้งควรเน้นการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันปอดอักเสบติดเชื้อขณะนอนโรงพยาบาล</p> มารยาท พรหมวัชรานนท์, รุ่งทิวา สุริยะ , สลิลลา เบญจมาภา , นฤภร พรสวรรค์ Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/266299 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/265486 <p><strong>ความเป็นมา</strong> : คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยถือเป็นหัวใจหลักของการดูแลแบบประคับประคอง ดังนั้นการทราบถึงปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจะช่วยส่งเสริมคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไปได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลลำปาง</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : ผู้ป่วยทั้งหมด 128 ราย เป็นเพศชาย 71 ราย (ร้อยละ 55.47) และเป็นผู้มีอายุ 71 ปีขึ้นไปมากที่สุด จำนวน 57 ราย (ร้อยละ 44.53) ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวน 97ราย (ร้อยละ 75.78) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ได้แก่ การรับรู้พยากรณ์โรค, การได้รับยามอร์ฟีน และคะแนน PPS ที่เพิ่มขึ้น</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> : การส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับรู้พยากรณ์โรค การให้มอร์ฟินในผู้ป่วยที่มีอาการรบกวน และการดูแลให้ผู้ป่วยมีสมรรถนะทางร่างกายที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ดีขึ้น</p> พรวิภา ปันทะ , วรารัตน์ ทาตายุ, วิน เตชะเคหะกิจ, ปรารถนา ปันทะ , ณภัทร เพชรกัปป์, พีรวิชญ์ อะทะเสน, ภาสกร ไชยวงค์, กัญญารัตน์ แก้วบุญเรือง Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/265486 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงการซึมเศร้าโดยวิธี 9Q ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/262273 <p><strong>ความเป็นมา</strong> โรคซึมเศร้า เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ในทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 700,000 คน ดังนั้นการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างรวดเร็วและทันเวลาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยบรรเทาความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ระบุว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยเสี่ยงหลักที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จได้แก่การป่วยโรคทางกายเรื้อรัง ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยลดลง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยติดเตียง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> การวิเคราะห์แบบย้อนหลังโดยใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) และแบบประเมินโรคซึมเศร้า (PHQ-9) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียงที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่สาย จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multivariable Regression Analysis หาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันตาม Barthel ADL กับภาวะเสี่ยงการซึมเศร้า</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยติดเตียงเมื่อผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง เป็นความสัมพันธ์แบบผกผัน กล่าวคือเมื่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันลดลง ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น กลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่มีค่า ADL 0-4 มีสัดส่วนของการเกิดภาวะซึมเศร้าสูงที่สุด (ร้อยละ 95.24) เมื่อวิเคราะห์หาจุดตัดที่มีความสามารถในเชิงวินิจฉัยหรือคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าพบว่าคะแนน ADL &lt; 9 คะแนน เป็นจุดตัดที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้าด้วยค่า ADL</p> <p><strong>สรุปผลและข้อเสนอแนะ</strong> แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) สามารถใช้ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเพื่อวางแผนการดูแลรักษาสภาพจิตใจ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่ผลการประเมิน ADL &lt; 9 คะแนนทุกราย ควรได้รับการคัดกรองเรื่องภาวะซึมเศร้า </p> กุลธร เจนพิทักษ์พงศ์ Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/262273 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดเชียงราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264468 <p><strong>ความเป็นมา</strong>: ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนและการพัฒนาประเทศ หากกลุ่มเสี่ยงได้รับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคความดันโลหิตสูง จะทำให้สามารถป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านสุขภาพ ควรเป็นแบบอย่างที่ดีรวมทั้งถ่ายทอดความรู้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแก่ประชาชน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2. เพื่อค้นหาระดับความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ในรูปแบบเกิดพร้อมกัน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุมกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งการพัฒนาหน่วยบริการสาธารณสุขเป็น 4 โซนและคำนวณจากสัดส่วนของแต่ละอำเภอ 4 อำเภอ รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 455 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 40 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาโดยมุ่งประเด็นการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมของบุคลากรสาธารณสุข การปฏิบัติงานจริง การพัฒนาความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูง</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูงโดยรวมระดับดีมาก แยกรายด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านการสื่อสารสุขภาพ ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ด้านการตัดสินใจปฏิบัติที่ถูกต้องระดับดีมาก ส่วนด้านการจัดการตนเองระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรมสุขภาพระดับดีมาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล การจัดการข้อมูล การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้ ส่วนปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และพฤติกรรมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง </p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคความดันโลหิตสูงระดับดีมาก ส่วนด้านการจัดการตนเองอยู่ในระดับปานกลาง จะเห็นได้ว่า เมื่อพิจารณาองค์ประกอบด้านการจัดการตนเอง พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจ แต่ขาดความตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาให้เกิดการจัดการตนเองไม่เพียงพอ ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายควรมีนโยบายในการพัฒนาความรอบรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านการจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง ให้การสนับสนุนงบประมาณหรือสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในชุมชน</p> ศักดิ์ดา ธานินทร์ , พิชญา ตาจุ่ม Copyright (c) 2023 เชียงรายเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/264468 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700