https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/issue/feed เชียงรายเวชสาร 2024-04-30T00:00:00+07:00 ผศ.(พิเศษ)เภสัชกรหญิง สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ Crm-journal@hotmail.com Open Journal Systems <p>เชียงรายเวชสาร เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2552 เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และงานวิจัยแก่ผู้ที่อยู่ในวงการสาธารณสุข&nbsp; รับบทความภาษาไทย ที่มีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ หรือบทความภาษาอังกฤษที่ให้ความรู้ใหม่ในการนำไปพัฒนางาน บทความมีผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ในการพิจารณากลั่นกรองก่อนลงตีพิมพ์ (double-blind peer review)&nbsp;&nbsp;</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/267585 การใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองขององค์กรแพทยสภา 2024-02-27T15:29:37+07:00 supachai boonumpun boonum11a@hotmail.com <p>แพทย์ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับการคาดหวังจากสังคมค่อนข้างสูง ว่าเป็นอาชีพที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานสูง เป็นที่พึ่งของผู้ป่วย แต่บางครั้งอาจถูกผู้ป่วยและญาติฟ้องร้อง เนื่องจากพบปัญหาผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือพบความความเสียหายทางการแพทย์ขึ้น <br />แพทยสภาเป็นองค์กรตามกฎหมาย แต่สถานะทางกฎหมายขององค์กรแพทยสภายังไม่มีความชัดเจนว่า เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน หรือเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน การใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการแพทยสภาจึงเป็นได้หลายลักษณะ ซึ่งส่งผลต่อสิทธิของบุคคลผู้รับคำสั่ง โดยคำสั่งของแพทยสภาเกิดจากการใช้ดุลพินิจก่อนจะทำคำสั่ง และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งจากการกระทำและการออกคำสั่งของแพทยสภา<br />บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อนำเสนอ 1.สถานะในทางกฎหมายขององค์กรแพทยสภา 2.การออกคำสั่งทางปกครอง 3.วิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการแพทยสภา โดยพบว่า 1.แพทยสภาไทยเป็นองค์กรวิชาชีพที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง แม้ว่าจะไม่ใช่ฝ่ายปกครองโดยตรง 2.การออกคำสั่งทางปกครองจะต้องเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่อันเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จะต้องครบองค์ประกอบ 5 ประเด็น คือ (1)เป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ (2) เป็นการใช้อำนาจรัฐ (3) เป็นการกำหนดสภาพทางกฎหมาย (4) เกิดผลเฉพาะกรณี (5) มีผลภายนอกโดยตรง 3.การใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการแพทยสภา เป็นการดำเนินการอันเป็นผลมาจากข้อร้องเรียนอันเกิดจากพฤติกรรมของสมาชิกแพทยสภาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับขององค์กร ทำให้แพทยสภาต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง และนำมาพิจารณาว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการประพฤติคลาดเคลื่อนจากมาตรฐานวิชาชีพด้านใด มีโทษอย่างใด แล้วดำเนินการออกคำสั่งในฐานะหน่วยงานที่ใช้อำนาจปกครอง หากสมาชิกไม่เห็นด้วยก็สามารถฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้โดยการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง </p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/254633 ความชุกของผู้ป่วยโรคต้อหินในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 2022-09-21T10:40:08+07:00 ทันที ศรีสุขคำ tuntees@yahoo.com ชินดนัย ธรรมขันธา etx.gui@gmail.com เบญญากร ใจหงษ์ bykch.469@gmail.com พิชญ์นรี ไชยนิตย์ pichnareee_chaiyanit@cmu.ac.th <p>ความเป็นมา</p> <p>โรคต้อหินถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะตาบอดของประชากรโลกและรวมถึงประเทศไทย โดยพบว่าความชุกของโรคต้อหินทั่วโลกมีมากถึง ร้อยละ3.54 และ ในประเทศไทยมีมากถึงร้อยละ 3.80 และหากไม่รักษาผู้ป่วยโรคต้อหินอาจสูญเสียการมองเห็นและตาบอดได้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ยังไม่มีการวิจัยหาความชุกของโรคต้อหิน คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดโรคต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นตัวแทนเนื่องจากผู้เข้ารับการรักษามักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหิน และการตรวจประเมินต้อหินหลังผ่าตัดต้อกระจกจะเห็นได้ชัดเจนกว่าตรวจในผู้ที่ยังไม่ได้รับการรักษา</p> <p>วัตถุประสงค์</p> <p>เพื่อหาความชุกของผู้ป่วยโรคต้อหินและชนิดของโรคต้อหินที่พบ ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์</p> <p>วิธีการศึกษา</p> <p>เป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยอายุ 41-90 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยใช้ Intraocular pressure (IOP) และ Cup-to-disc ratio (C:D ratio) เป็นเกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหิน และแบ่งชนิดของต้อหินผ่านดุลยพินิจของจักษุแพทย์</p> <p>ผลการศึกษา</p> <p>จากผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 1,562 คน เป็นชาย 704 คนและหญิง 858 คน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหิน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 14.60 โดยส่วนใหญ่เป็นต้อหินมุมเปิดชนิดความดันลูกตาปกติ 139 คน คิดเป็นร้อยละ 8.90</p> <p>สรุปและข้อเสนอแนะ</p> <p>ความชุกของโรคต้อหินในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์คิดเป็นร้อยละ 14.60 โดยมีชนิดของต้อหินที่พบมากที่สุดคือ ต้อหินมุมเปิดชนิดความดันลูกตาปกติ โดยความชุกโรคต้อหินของผู้ป่วยในการศึกษานี้ ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับความชุกของผู้ป่วยทั้งประเทศและสูงกว่าการศึกษาอื่นที่ผ่านมา จึงแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองโรคต้อหินในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกของโรคที่ยังไม่มีอาการ และรักษาได้อย่างทันท่วงที</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/267065 การศึกษาระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับยาทางไปรษณีย์กับรับยาที่ ห้องตรวจศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลลำปาง 2023-11-10T08:41:10+07:00 ชนินท์ ประคองยศ tae_027@hotmail.com ชื่นชนก เชี่ยวชาญธนกิจ chuenchanok_ch@cmu.ac.th นิธิศ คุณาพงศ์ศิริ nithis_kuna@cmu.ac.th ปารียา ปาละวงศ์ pareeya_pa@cmu.ac.th ภานุสรณ์ อ้วนใส panusorn_u@cmu.ac.th <p><strong>ความเป็นมา :</strong> การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาลได้ตามปกติ การส่งยาทางไปรษณีย์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาที่น้อยถึงผลต่อระดับน้ำตาลระหว่างการรับยาทางไปรษณีย์ และการรับยาที่ห้องตรวจสุขภาพ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่รับยาทางไปรษณีย์กับกลุ่มที่รับยาที่ห้องตรวจศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลลำปาง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา :</strong> เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานที่รับยาทางไปรษณีย์และกลุ่มที่รับยาห้องตรวจศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมือง กลุ่มละ 434 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564-31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา Fisher’s exact test, Independent t-test และ Multivariable gaussian regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา : </strong>ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งหมด 868 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 555 ราย (ร้อยละ 63.94) มีอายุมากกว่า 60 ปี 599 ราย (ร้อยละ 69.01) เมื่อวิเคราะห์ด้วย Multivariable Gaussian regression พบค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาล FBS หลังติดตาม ของกลุ่มรับยาทางไปรษณีย์มีค่าน้อยกว่ากลุ่มรับยาที่ห้องตรวจ 1.25 mg/dl ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value = 0.562) และค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาล HbA1c หลังติดตาม ของกลุ่มรับยาทางไปรษณีย์มีค่ามากกว่ากลุ่มรับยาที่ห้องตรวจ 0.12 mg% แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.063)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>:</strong> ระดับน้ำตาล FBS และ HbA1c ระหว่างการรับยาทางไปรษณีย์ และการรับยาที่ห้องตรวจสุขภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการส่งยาทางไปรษณีย์สามารถทดแทนการให้บริการและรับยาที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมืองได้</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/265742 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วยแบบประเมิน Thai-FRAT กับความสามารถในการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุ 2023-10-18T15:16:54+07:00 ฤทัยรัตน์ แสงนา ruetairat.sangna@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา</strong> ปัจจุบันได้มีการพัฒนาแบบประเมิน Thai Falls Risk Assessment Test (Thai-FRAT) มาใช้ในการประเมินหาความเสี่ยงในการหกล้มในผู้สูงอายุไทยอย่างแพร่หลาย ทั้งในโรงพยาบาล และในชุมชน อีกทั้งยังเป็นแบบประเมินความเสี่ยงในการหกล้มหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติการป้องกัน และประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แต่ยังไม่เคยมีการนำแบบประเมิน Thai-FRAT ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาหาความสัมพันธ์กับการทำงานของร่างกายจริงในผู้สูงอายุจากแบบประเมินที่ใช้วัดการทำงานของร่างกาย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วยแบบประเมิน Thai-FRAT กับความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุโดยใช้แบบทดสอบ TUG และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาโดยใช้แบบทดสอบ 30 second chair stand test และ การวัดขนาดเส้นรอบวงน่อง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ทำการศึกษาในอาสาสมัครอายุ 65-79 ปี จำนวน 52 ราย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ตอบแบบประเมิน และทดสอบหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson’s correlation test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value≤ 0.01</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่าแบบประเมิน Thai-FRAT มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางในทิศทางเดียวกันกับ TUG อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = 0.59, P-value &lt; 0.001) และ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางในทิศทางตรงกันข้าม กับ 30 second stand test อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = -0.61, P-value &lt; 0.001) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง Thai-FRAT กับเส้นรอบวงน่อง ไม่พบความสัมพันธ์ในทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong>: แบบประเมิน Thai-FRAT สามารถนำมาใช้คัดกรองความเสี่ยงในการหกล้มแทนแบบทดสอบ TUG และ 30 second stand test ได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้อาจต้องใช้ประเมินควบคู่กันเพื่อความแม่นยำ</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/267859 ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉิน 2023-12-27T14:26:27+07:00 Papitchaya Pichedboonkiat papitchayapiched@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา</strong> ผู้ป่วยที่กลับมาตรวจซ้ำที่ห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่มักเป็นผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้อง การกลับมาตรวจซ้ำทำให้เกิดการวินิจฉัย การรักษาที่ล่าช้าและผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน นำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงต่อผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ดี ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่นานขึ้น และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉิน และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องที่กลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงในห้องฉุกเฉิน ในด้านการนอนโรงพยาบาลและการได้รับการผ่าตัด</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงสังเกตการณ์แบบ Case-control เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากบันทึกเวชระเบียนในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 มีนาคม 2565 การวิเคราะห์ใช้สถิติ Fisher’s exact test, t- test และ logistic regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินที่เข้าเกณฑ์ศึกษามีทั้งหมด 318 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินและกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง 96 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้กลับมาตรวจซ้ำ 222 คน ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ <em>p</em>-value &lt;0.05 ได้แก่ อายุน้อยกว่าเท่ากับ 30 ปี (Adjusted odds ratio 3.95) อายุ 46-60 ปี (Adjusted odds ratio 5.54) อายุมากกว่า 60 ปี (Adjusted odds ratio 3.86) อาการปัสสาวะแสบขัดร่วม (Adjusted odds ratio 4.24) การวินิจฉัยครั้งแรกเป็นโรคลำไส้อักเสบ (Adjusted odds ratio 9.23) โรคทางนรีเวช (Adjusted odds ratio 9.16) โรคนิ่วทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Adjusted odds ratio 16.44) และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการในการรักษาครั้งแรก (Adjusted odds ratio 2.48) ผลการรักษาของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินแล้วกลับมาตรวจซ้ำได้รับการนอนโรงพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 32.29 และได้รับการผ่าตัดคิดเป็นร้อยละ 17.71</p> <p><strong>สรุปผลและข้อเสนอแนะ</strong> ปัจจัยที่ทำให้กลับมาตรวจซ้ำของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉิน ได้แก่ อายุน้อยกว่าเท่ากับ 30 ปี อายุมากกว่า 45 ปี อาการปัสสาวะแสบขัดร่วม การวินิจฉัยครั้งแรกเป็นโรคลำไส้อักเสบ โรคทางนรีเวช และโรคนิ่วทางระบบทางเดินปัสสาวะ และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการในการรักษาครั้งแรก ผลการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาและการประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินเพื่อช่วยลดการกลับมาตรวจซ้ำ</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/268634 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 2024-03-21T21:59:48+07:00 พีรอาจ ศักดิ์สิทธิวิวัฒนะ tepssv@gmail.com นรีกานต์ อินทำ nan.narikan@gmail.com กมลนัทธ์ ปินตา Spockjeans@gmail.com ธนวันต์ คำรศ atnwtp@gmail.com จินตนาภรณ์ อุตุพร Jintanaporn_autuphon@cmu.ac.th นนท์ธิรา วงศ์ไชย nonthira.np@gmail.com กิตติพร ศิริรัชนีกร unun2912@gmail.com นภัทร ลิ้มวณิชย์กุล napatlimwanitkul@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>การเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 เป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสาธารณสุขซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขและรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ดังนั้นการทราบปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะดังกล่าว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong>เป็นการศึกษาแบบ case-control study โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2565 โดยเปรียบเทียบปัจจัยทางคลินิกระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงด้วยสถิติ logistic regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยทั้งสิ้น 110 ราย ประกอบด้วยเพศชาย 57 ราย เพศหญิง 53 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ 22 ราย และกลุ่มที่ไม่ใส่เครื่องช่วยหายใจ 88 ราย ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจพบว่ามีโรคร่วมจำนวน 14 ราย (ร้อยละ 63.63) โดยโรคร่วมที่พบ ได้แก่ หอบหืด (ร้อยละ 4.55) โรคหัวใจและหลอดเลือด (ร้อยละ 22.73) ภาวะอ้วน (ร้อยละ 31.82) เบาหวาน (ร้อยละ 13.64) ช่วงระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอน จำนวน 22 ราย (ร้อยละ 100) ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจพบว่าได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Chronic pulmonary disease, Croup และ pneumonia ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 ในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน (adjusted OR 63.99; 95% CI 1.07-3.82 x 10<sup>3</sup>, p-value 0.046) Croup (adjusted OR 396.47; 95% CI 7.22-2.18x10<sup>4</sup>, p-value 0.003) ค่า white blood cell มากกว่า <em>10,000</em> (adjusted OR 63.99; 95% CI 2.80-3.05x10<sup>2</sup>, p-value 0.046) และ Absolute lymphocyte count &lt; 1500 (adjusted OR 19.14; 95% CI 2.59-1.41x10<sup>2</sup>, p-value 0.004)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ: </strong>ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้แก่ ภาวะอ้วน โรค Croup จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ และค่า absolutely lymphocyte count ที่ต่ำ แพทย์ผู้รักษาจึงควรพิจารณาให้การรักษาและติดตามอาการในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID 19 ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/267083 การจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่มีอาการหลการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่มีอาการหลงเหลือหลังการหายป่วยโควิด-19 ในตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 2023-11-15T08:31:09+07:00 สารภี นพคุณ sarapee.a@hotmail.co.th ระรินทิพย์ ไชยวงศ์เหล็ก rarintip9334@gmail.com สมพร ทองดี phsomporntongdee@gmail.com ภัทรนัย ไชยพรม pattaranai.cha@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา </strong>โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่สำคัญ ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วกลับมีอาการเดิมต่อเนื่อง หรือมีอาการอื่นเกิดขึ้นใหม่และเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว การศึกษาการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่มีอาการหลงเหลือหลังการหายป่วยโควิด-19 สามารถนำไปวางแผนในการดำเนินกิจกรรมในผู้ป่วยที่มีอาการหลงเหลือหลังการหายป่วยโควิด-19 ต่อไปได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาระดับการจัดการสุขภาพตนเองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่มีอาการหลงเหลือหลังการหายป่วยโควิด-19 ในตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong>เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการหลงเหลือหลังการหายป่วยโควิด-19 ที่มารับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถาม เก็บข้อมูลในช่วงระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้ค่า p&lt;0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>ระดับการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการหลงเหลือหลังการหายป่วยโควิด-19 อยู่ในระดับสูง (𝑥̅= 3.74, <u>+</u>S.D.=0.99) พบว่าระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีความสัมพันธ์กันในระดับที่ต่ำ (<em>r</em><sub>s</sub>=0.236, p=0.018 ,95%CI: 0.051 to 0.416) ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับระดับการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่มีอาการหลงเหลือหลังการหายป่วยโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปผลและข้อเสนอแนะ</strong> ผู้ป่วยบางรายยังคงมีระดับการจัดการสุขภาพตนเองในระดับต่ำถึงปานกลาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลไปวางแผนและพัฒนาระบบบริการพยาบาลโดยเน้นการส่งเสริมความรู้และความตระหนักในการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยหลังการหายป่วยโควิด-19</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/267848 ปัจจัยที่มีผลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลเชียงแสน 2024-02-22T14:37:49+07:00 ณัฐดนัย มะลิวัน aorta_aortic@hotmail.com <p><strong>ความเป็นมา : </strong>การฝากครรภ์คุณภาพ หมายถึง การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตลอดระยะการตั้งครรภ์ โดยพบแพทย์หรือพยาบาลคลินิกฝากครรภ์ ได้รับการยืนยันอายุครรภ์ การตรวจร่างกายทั่วไป การให้คำแนะนำและการปฏิบัติตัว ตลอดการฝากครรภ์ เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการบริการทางสุขภาพที่ครบถ้วนและดีที่สุด การให้บริการฝากครรภ์ของโรงพยาบาลเชียงแสน ยังไม่มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล สถิติของการฝากครรภ์คุณภาพ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกช้าหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การมาฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และปัจจัยที่อาจมีผลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลเชียงแสน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา : </strong>ศึกษาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มตัวอย่างเชิงวิเคราะห์ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย จากคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงรายตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - เดือนธันวาคม 2566 จำนวน 200 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามส่วนบุคคล จากผู้เข้าร่วมงานวิจัย และสมุดฝากครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ chi-square, t-test, multivariable logistic regression analysis กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p&lt; 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>ร้อยละของการมาฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลเชียงแสน เท่ากับ 40.50 อายุเฉลี่ยของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ช้าหลัง 12 สัปดาห์เท่ากับ 21.37 6.13 ปี และปัจจัยที่มีผลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกช้าคือ อายุหญิงตั้งครรภ์ที่น้อยกว่า 18 ปี (aOR=8.12, 95%CI=1.94-17.02, p= 0.001) สิทธิการรักษาประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและชำระเงิน (aOR=1.39, 95%CI=1.16-10.64, p= 0.001) เจตคติต่อการตั้งครรภ์และฝากครรภ์ที่ไม่ดี (aOR=6.24, 95%CI=1.08-24.69, p= 0.009) การรับรู้ผลเสียของการฝากครรภ์ช้าต่ำ (aOR=3.41, 95%CI=1.24-19.86, p= 0.019)</p> <p><strong>สรุปผลและข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>อุบัติการณ์ของการฝากครรภ์ช้า หรือฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ของหญิงตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลเชียงแสนเป็นร้อยละ 40.50 โดยปัจจัยที่มีผลต่อการฝากครรภ์ช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุน้อยกว่า 18 ปี สิทธิการรักษาประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและชำระเงิน เจตคติต่อการตั้งครรภ์และฝากครรภ์ที่ไม่ดี และการรับรู้ผลเสียของการฝากครรภ์ช้าน้อย จึงควรนำปัจจัยดังกล่าวประกอบการพัฒนาเพื่อหาแนวทางลดการมาฝากครรภ์ช้า และพัฒนาระบบการฝากครรภ์คุณภาพต่อไป</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/268093 ความแปรปรวนของระดับน้ำตาลหลังอดอาหารที่วัดในแต่ละครั้งของการมารับบริการที่โรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลต่ำหรือไม่: การศึกษาศูนย์เดียวในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประเทศไทย 2024-04-01T15:17:28+07:00 ชินพร รัตนสะอาด chinaporn_r@cmu.ac.th เรืองนิพนธ์ พ่อเรือน rporruan@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong>การนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แม้ว่าแนวปฏิบัติจากสมาคมโรคเบาหวานไทยไม่ได้กล่าวถึงการวัดความแปรปรวนของระดับน้ำตาล แต่ American Diabetes Association ในปี 2022 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวโยงระหว่างความแปรปรวนของระดับน้ำตาลกับการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ และมีคำแนะนำตั้งเป้าหมายควบคุมความแปรปรวนของระดับน้ำตาลโดยใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ของสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (%CV; percent coefficient of variation) ที่วัดจากเครื่อง continuous glucose monitor (CGM) ผู้วิจัยเกิดความสงสัยว่าระดับน้ำตาลหลังอดอาหารที่วัดเป็นครั้งๆ ในการมารับบริการอาจสามารถบ่งชี้ถึงการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลต่ำ จึงได้ทำการศึกษาเพื่อพิสูจน์ความเกี่ยวข้องนี้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong>เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างความแปรปรวนของระดับน้ำตาลหลังอดอาหารในแต่ละครั้งของการมารับบริการกับการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลต่ำ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong>งานวิจัยแบบศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง (retrospective cohort) ในประชากรผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และได้มารับบริการที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ในปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2564 รวมทั้งหมด 15,039 คน เหลือเข้าสู่การวิเคราะห์ 9,239 คน หลังการคัดออก วัดความแปรปรวนของระดับน้ำตาลหลังอดอาหารด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (CV-FBS) โดยคำนวณจากค่าระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 3 ค่าที่สุ่มปีละ 1 ค่าใน 3 ปีด้วยคอมพิวเตอร์ แบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มตามควาร์ไทล์ของ CV-FBS ทำการคำนวณ Kaplan-Meier curves, Log-rank test และ Cox proportional hazard regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong>ควาร์ไทล์ที่ 1 มี CV-FBS 0.00 - 0.06 หรือ 0.00% - 5.89% ควาร์ไทล์ที่ 2 มี CV-FBS 0.06 - 0.11 หรือ 5.89% - 10.54% ควาร์ไทล์ที่ 3 มี CV-FBS 0.11 - 0.18 หรือ 10.54% - 18.35% ควาร์ไทล์ที่ 4 มี CV-FBS 0.18 - 0.89 หรือ 18.37% - 89.37% ได้ทำ Kaplan-Meier curves แสดงถึงโอกาสการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลต่ำที่สูงขึ้นในควาร์ไทล์ที่สูงขึ้น Log-rank test พบ p-value &lt;0.001 เมื่อเทียบกับควาร์ไทล์ที่ 1 แล้ว พบว่าควาร์ไทล์ที่ 2 มีค่า hazard ratio เท่ากับ 1.36 (p-value 0.229; 95%CI 0.82 - 2.25) ควาร์ไทล์ที่ 3 มีค่า hazard ratio เท่ากับ 1.87 (p-value 0.008; 95%CI 1.17 - 2.97) และควาร์ไทล์ที่ 4 มีค่า hazard ratio เท่ากับ 2.82 (p-value &lt;0.001; 95%CI 1.78 - 4.46) ฉะนั้น ความแปรปรวนของระดับน้ำตาลหลังอดอาหารมีผลเพิ่มโอกาสการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลต่ำอย่างมีนัยสำคัญในควาร์ไทล์ที่ 3 และควาร์ไทล์ที่ 4</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong>ความแปรปรวนของระดับน้ำตาลหลังอดอาหารในแต่ละครั้งของการมารับบริการมีความสัมพันธ์กับการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลต่ำ โดยค่า CV-FBS สูงตั้งแต่ 0.11 หรือ 10.54% ขึ้นไปควรถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/267043 รายงานสอบสวนการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2566 2023-11-17T11:17:45+07:00 คงศักดิ์ ชัยชนะ kongsak4807017@gmail.com ณรงค์ฤทธิ์ คงหมั้น kongsak4807017@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> ตามรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายวัน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขประจำสัปดาห์ที่ 19 ปี พ.ศ.2566 วันที่ 7-13 พฤษภาคม 2566 พบผู้ป่วยรายใหม่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด 2,356 ราย เฉลี่ยวันละ 334 ราย มีแนวโน้มพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 8.7 เท่าของสัปดาห์ก่อนหน้า วันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เจ้าหน้าที่งานควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดเชียงราย ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดว่ามีเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด ตรวจ ATK ด้วยตนเองได้ผลบวก จำนวน 8 ราย เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคจึงดำเนินการสอบสวนโรค</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ค้นหาผู้สัมผัสโรค แหล่งรับเชื้อและปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อ บรรยายลักษณะทางระบาดวิทยา และหาแนวทางควบคุมโรค</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา กำหนดนิยามโรค ได้แก่ ผู้ป่วยเข้าข่าย คือ ผู้ที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มีไข้วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.50°C ขึ้นไป ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส และมีผลตรวจ Antigen test kit (ATK) ต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ที่มีอาการดังกล่าว และมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในบุคลากรของโรงพยาบาลและผู้สัมผัส ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน – 21 มิถุนายน 2566 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการระบาด</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบผู้ป่วยเข้าข่าย จำนวน 13 ราย และเป็นผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 3 ราย เป็นเพศชายต่อเพศหญิงในอัตราส่วน 1:3 ค่ามัธยฐาน อายุ 34.50 ปี อัตราโจมจับในเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด ร้อยละ 91.67 เพศหญิง ร้อยละ75.00 กลุ่มอายุ 20 – 59ปี ร้อยละ 68.42 จำนวนการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เท่ากับหรือมากกว่า 3 เข็ม ร้อยละ78.95 และได้รับเข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือน ร้อยละ 65.22 ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือเสียชีวิต อาการที่พบมากที่สุด คือ ไอ ร้อยละ 100.00 ลักษณะการระบาดเป็นแบบแหล่งโรคแพร่กระจาย (Propagated source outbreak) จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมพบว่า ก่อนเกิดการระบาด บุคลากรห้องผ่าตัดมีการพูดคุยใกล้ชิดโดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยและรับประทานร่วมกัน พบผู้ป่วยที่สัมผัสร่วมบ้านเดียวกับบุคลากร และโครงสร้างของห้องผ่าตัดยังไม่ได้มาตรฐานตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยผู้ป่วยที่เข้านิยามส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ประจำห้องผ่าตัด จุดเริ่มต้น ของการระบาดยังไม่ชัดเจน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระบาด คือ การรับประทานอาหารร่วมกันของบุคลากรห้องผ่าตัด การพูดคุยใกล้ชิด โดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะในพื้นที่ห้องปิด และการเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ:</strong> การระบาดนี้เป็นการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดเชียงราย มาตรการการป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรและโครงสร้างห้องผ่าตัดควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป </p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เชียงรายเวชสาร